เห็ดหูหนูดำมีฤทธิ์เย็น
ชื่อวิทยาศาสตร์: Auricularia auricula-judae อยู่ในวงศ์ Auriculariaceae ดอกเห็ดเป็นวุ้นทรงถ้วย รูปร่างคล้ายหูไม่แน่นอน ผิวด้านนอกสีน้ำตาลอมเหลือง แดง หรือเทา มีขนเล็ก ๆ ผิวด้านในสีอ่อนกว่า ไม่มีขน มีรอยหยักย่นออกจากโคนไปถึงปลาย สปอร์รูปรี ใส ผิวเรียบ เป็นเห็ดที่รับประทานได้
สรรพคุณของเห็ดหูหนูดำ
ได้ชื่อว่า “อาหารคาวของอาหารเจ” ในทางแพทย์จีน ถือว่าเป็นยาบำรุงเลือดและพลัง มีส่วนประกอบคล้ายกับเห็ดหูหนูขาว คุณสมบัติทางยา ไม่ร้อน ไม่เย็น รสหวาน วิ่งเส้นลม-ปราณไต (สีดำเป็นสีของไต) เป็นเห็ดที่ได้รับพลังยินสะสม ทำให้ลดความร้อน หรือเกิดความเย็นแก่กระเพาะอาหารได้
- มักนำมาเป็นอาหารสำหรับคนที่มีความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง หลอดเลือดแดงแข็งตัว นิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในไต วัณโรค ไอแห้ง ๆ อุจจาระเป็นเลือด
- ป้องกันมะเร็ง ลดอาการแทรกซ้อนภายหลังจากการฉายรังสี
- การศึกษาวิจัยสมัยใหม่พบว่า เห็ดหูหนูดำมีน้ำมันยางธรรมชาติและสารใยไฟเบอร์ ช่วยในการระบายขับของเสียในลำไส้
- มีฤทธิ์การต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด และคุณสมบัติการลดไขมันในเลือด ซึ่งเป็นอาหารที่ เหมาะกับคนสูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคหัวใจ เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เย็นกว่าเห็ดหูหนูขาว
- มีฤทธิ์ในการลดความร้อนของเลือด หยุดเลือด เช่น ประจำเดือนมากผิดปกติ ริดสีดวงทวาร อุจจาระ ปัสสาวะเป็นเลือด (ซึ่งเกิดจากความร้อนของระบบเลือด)
ข้อควรระวัง
- คนที่ภาวะร่างกาย เย็นเกินไป และมีอาการดังกล่าว ต้องพิจารณาเสริมบำรุงด้านอื่นประกอบ จึงไม่แนะนำให้กินเห็ดหูหนูในช่วงกลางคืน ขณะที่หยางร่างกายอ่อนลง และมีภาวะยินของธรรมชาติมาก
ข้อเปรียบเทียบเห็ดหูหนูดำ-เห็ดหูหนูขาว
- ข้อเหมือนกัน
- รสหวาน
- ส่วนประกอบ
- ต้านมะเร็ง ลดไขมันในเลือด ลดความดันเลือดสูง หลอดเลือดตีบ
- ข้อต่างกัน
- เห็ดหูหนูดำ
- วิ่งเส้นลมปราณไต
- บำรุงพลังเลือดยินของไต (บำรุงสมอง)
- จุดเด่น เลือดออกเนื่องจากเลือดร้อน โดยเฉพาะอุจจาระเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด ประจำเดือนมากผิดปกติ ริดสีดวงทวาร โรคบิด (เนื่องจากเลือดร้อน)
- เห็ดหูหนูขาว
- วิ่งเส้นลมปราณปอด
- บำรุงพลังยินของปอด
- จุดเด่นที่วัณโรคปอด ไอแห้ง ๆ ไอมีเลือดปน (เนื่องจากปอดแห้ง ขาดสารยินหล่อเลี้ยง) เลือดกำเดาออก คอแห้ง เบื่ออาหารเนื่องจากกระเพาะ-อาหารแห้ง
หมายเหตุ : คุณสมบัติคล้ายกัน แต่การออกฤทธิ์ของเห็ดหูหนูขาวจะออกฤทธิ์ที่ปอดและกระเพาะอาหาร ส่วนเห็ดหูหนูดำจะออกฤทธิ์ที่ไตและตับ