ภูผาฟ้าน้ำ ลักษณะเป็นภูเขา จะเป็นลักษณะเหมือนกับหลังคา ฝนตกมาใส่ภูเขา น้ำก็จะไหลลงมารวมกัน ถนนก็อยู่ข้างภูเขาอยู่แล้ว น้ำก็เซาะถนนพัง ถนนเราก็เป็นถนนดิน ก็พังทุกปี ก็ต้องเอาดินไปกลบ ไปแก้กันทุกปี บางเวลาเดินทางไม่ได้เลยก็มี รถติดหล่มบ้าง เพราะน้ำมาเยอะ ๆ รถก็ติดหล่ม เป็นหลุม เป็นร่อง รถก็เดินทางไม่ได้ หรือเดินทางไป บางทีก็ลื่นไถลก็มี เราก็เลยเกิดแนวคิดว่า ฐานะของเราอยู่อย่างนี้ องค์ประกอบเราอย่างนี้ คนจนอย่างเรานี้ เราจะอยู่อย่างไร จะทำอย่างไร เราก็เลยคิด นวัตกรรมทำทางช่วยลดการพังทลายของถนนจากการกัดเซาะของน้ำ มันก็พัฒนามาเรื่อยๆ เป็นลำดับๆ อาจารย์ก็รวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ ภูมิเก่าภูมิใหม่ ก็มาบูรณาการใช้ ตั้งชื่อให้ว่า “ลูกระนาดพอเพียง” และ “รางน้ำพอเพียง”
วิธีการทำ ลูกระนาดพอเพียง
1. สำรวจพื้นที่ดูทิศทางไหลของน้ำ จากนั้นนำเชือกมาวัดแล้วใช้จอบลากเป็นแนวเส้น แล้วขุดรางน้ำ
2. พูนดินขึ้นมาให้เป็นลูกระนาด จุดไหนที่ไม่ต้องการให้น้ำไปก็ทำให้สูง จุดไหนที่ไม่ต้องการให้น้ำไปก็ทำให้ต่ำ
3. ขุดด้านหน้าลูกระนาด บริเวณที่น้ำไหลมาลึกประมาณ 1 คืบ กว้าง 2 คืบ ความยาวตามแนวถนน
4. ปูพลาสติกคลุมที่ลูกระนาด แล้วเอาดินกลบ
พอฝนตกมาก็จะเซาะเอาทรายเข้ามาด้วยแล้วมากองอยู่ด้านหน้า พอมาถึงลูกระนาดก็จะได้ไหลไปทิศทางที่เราต้องการ จะให้น้ำไปทางไหนก็ทำให้ต่ำลงไป ถึงจุดก็ทำรางน้ำรับไปอีกที ให้น้ำไหลไปอีกจุดตามทิศทางที่เราต้องการ
ดร.ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว)
1 พฤษภาคม 2564 ณ พุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ ต.ป่าแป๋ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
วิดีโอ วิธีการทำระนาดพอเพียง ติดตามชมได้ตาม link https://www.youtube.com/watch?v=xKgFsc5j6l0