ถั่วขาวมีฤทธิ์เย็น
มีกากใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ นอกจากนี้ ถั่วขาวยังมีองค์ประกอบที่สาคัญคือ มีสารฟาซิโอลามีน (Phaseolamin) ซึ่งสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อัลฟาอะไมเลสที่ย่อยแป้ง จึงช่วยลดพลังงานที่ได้จากการบริโภคแป้ง และยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่ให้พลังงาน เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และมีสารอาหารที่มีคุณสมบัติเชิงหน้าที่มากมาย เช่น วิตามิน แร่ธาตุ สารยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อัลฟาอะไมเลส ซึ่งช่วยลดพลังงานที่มาจากคาร์โบไฮเดรต กากใยอาหารช่วยระบบขับถ่าย และยังมีสารต่าง ๆ ที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะคอเลสเตอรอลสูงและโรคเบาหวาน เป็นต้น
สรรพคุณของถั่วขาว
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคทางเดินอาหาร
- ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอล และป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูง
- การลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- การลดความเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
- อาหารที่มีกากใยสูงมีค่าดัชนีไกลซีมิก 2 ต่ำ เหมาะสาหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานอีกด้วย
- มีสารอาหารต่าง ๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ ทั้งยังมีคุณสมบัติในการควบคุมน้ำหนักจากสารฟาซิโอลามีน ซึ่งจัดเป็นสารยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อัลฟาอะไมเลส ทำให้ร่างกายได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตลดลง มีคุณสมบัติการช่วยควบคุมน้าหนัก
- ช่วยต้านอนุมูลอิสระ อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบถั่วที่มีเปลือกนอกสีเข้ม เช่น ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วดำ กับถั่วที่มีเปลือกนอกสีอ่อน เช่น ถั่วขาว (ยกเว้น ถั่วเหลือง) พบว่าถั่วที่มีเปลือกนอกสีอ่อนมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่น้อยกว่า
ข้อควรระวัง
แม้ถั่วขาวจะมีคุณประโยชน์มากมาย เป็นแหล่งของโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต แต่ก็มีสารจำพวกโปรตีนบางชนิดที่ธรรมชาติสร้างขึ้นเพื่อป้องกันเมล็ดถั่วจากการกินของสัตว์ต่าง ๆ ทำให้เมล็ดถั่วไม่ถูกย่อยสลายจนไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ได้ เช่น เลคติน สารยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทริปซิน รวมถึงสารยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อัลฟาอะไมเลส
การบริโภคถั่วขาวดิบที่ไม่ผ่านการปรุงอย่างถูกวิธีจะทำให้ร่างกายได้รับสารพิษในกลุ่มไฟโตฮีแมกกลูเตนิน (Hemagglutinin) อาการของผู้ได้รับสารในกลุ่มไฟโตฮีแมกกลูเตนิน คือ คลี่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง อาการจะคงอยู่ 3–4 ชั่วโมงและจะหายได้เอง ดังนั้นการบริโภคถั่วขาวมีข้อควรระวังที่สำคัญคือ ต้องทำให้สุกก่อนเพื่อป้องกันอาการข้างเคียงของ การเกาะกลุ่มของเม็ดเลือดแดง อาการปวดท้องเนื่องจากเอนไซม์ทริปซินถูกยับยั้ง