ดาวน์โหลดเอกสารใบสมัคพรรคสัมมาธิปไตย กดที่นี่  ดูขั้นตอนการสมัคร กดที่นี่ 

ดาวน์โหลดเอกสารลงชื่อคัดค้านกาสิโนถูกกฎหมาย และไม่เห็นด้วยกับการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร กดที่นี่  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ที่นี่

ุ630318 21.195 กรรมเก่าใช้แล้วก็หมดไป ไม่สร้างวิบากร้ายใหม่

มหาวรรคที่ 5 พระไตรปิฎกเล่มที่ 21 ข้อที่ 195 

เนื้อหาย่อ พระพุทธเจ้าบอกวิธีปฏิบัติว่า ทำอย่างไรวิบากเก่าที่เราได้รับนั้นมันจะไม่เพิ่มขึ้น รวมถึงบอกสภาพของความพ้นทุกข์เป็นอย่างไร  มันผาสุกผ่องใสใจไร้กังวล ยึดก็ได้วางก็ได้ด้วย อะไรดีก็ยึดอะไรไม่ดีวางเลย อะไรไม่ดีวางไปก่อนอะไรดียึดได้ก็ยึด ยึดไม่ได้ก็วาง เพราะเข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง มันผ่องใสไร้กังวล มันไม่ซื่อๆ บื้อๆ อย่างนั้น พระพุทธเจ้าบอกเข้าใจเรื่องกรรม กรรมใหม่ก็ไม่ทำเพิ่มวิบากกรรมเก่ารับแล้วก็ให้หมดไป นี่เป็นผู้ที่เข้าใจเรื่องวิบากกรรม ก็จะมีความผาสุก

.สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในนิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่าวัปปะ เป็นสาวกของนิครนถ์ เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่าดูกรวัปปะ บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย สำรวมด้วยวาจา สำรวมด้วยใจ. สำรวมคือควบคุมกายวาจาใจ ให้ละบำเพ็ญกุศล ทำจิตใจให้ผ่องใสไปเป็นลำดับๆ ตามฐานของแต่ละท่านๆ พระโมคคัลลานะ พูดกับท่านวัปปะว่า บุคคลในโลกนี้พึง ก็คือควร .เขาฆ่าตัวนี้ กลับไปฆ่าตัวอื่น เพราะอวิชชาดับไป เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น. หมายความว่าฆ่ากิเลสตัวนี้ แล้วก็ไปฆ่ากิเลสตัวอื่น ถ้ากิเลส 1 ตัวได้ ก็ไปฆ่าอีก 1 ตัว กำจัดกิเลสไปเป็นลำดับ ๆ เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความโง่ที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ดับไป วิชชาความรู้ที่ผ่านพ้นทุกข์ก็เกิดขึ้น

.ท่านเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาไปตามบุคคลในสัมปรายภพ หรือไม่.  ท่านวัปปะ เป็นเจ้าศากยะ ก่อนหน้านี้ท่านเป็นสาวกของนิครนถ์ ถามว่าท่านเห็นท่านเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา คือความรู้สึกทุกข์ อาสวะคือกิเลส เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดทุกข์ ในสัมปรายภพ หรือภพหน้าหรือไม่ .วัปปศากยราชตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น บุคคลกระทำบาปกรรมไว้ในปางก่อนซึ่งยังให้ผลไม่หมด อาสวะทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพอันมีบาปกรรมนั้นเป็นเหตุ ท่านพระมหาโมคคัลลานะสนทนากับวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ ค้างอยู่เพียงนี้เท่านั้น ครั้งนั้นแล เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ดูกรโมคคัลลานะบัดนี้ เธอทั้งหลายประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร และเธอทั้งหลายพูดอะไรค้างกันไว้ในระหว่างท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาสข้าพระองค์ได้กล่าวกะวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ว่า ดูกรวัปปะ บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย สำรวมด้วยวาจา สำรวมด้วยใจ เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น ท่านเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่. คือถ้าดับอวิชชาได้ ท่านเห็นกิเลสที่มันทำให้เกิดทุกข์ ตามบุคคลนั้นไปในเบื้องหน้าไหม ถ้าดับอาสวะได้ ถ้าดับอวิชชาได้ ดับความไม่รู้ได้ มันจะตามไปไหม

.เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ววัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ ได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น บุคคลกระทำบาปกรรมไว้ในปางก่อนซึ่งยังให้ผลไม่หมดอาสวะทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพ อันมีบาปกรรมนั้นเป็นเหตุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ข้าพระองสนทนากับวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ค้างอยู่เพียงนี้แล ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคก็เสด็จมาถึง ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ว่า ดูกรวัปปะ ถ้าท่านจะพึงยินยอมข้อที่ควรยินยอม และคัดค้านข้อที่ควรคัดค้านต่อเรา และท่านไม่รู้ความแห่งภาษิตของเราข้อใด ท่านพึงซักถามในข้อนั้นยิ่งขึ้นไปว่า ข้อนี้อย่างไรความแห่งภาษิตข้อนี้อย่างไร ดังนี้ไซร้ เราพึงสนทนากันในเรื่องนี้ได้. พระพุทธเจ้าบอกกับวัปปะ ถ้าเราจะสนทนากัน ต้องเอาแบบตรงๆ นะเรื่องไหนรู้ก็บอกรู้ เรื่องไหนไม่รู้ก็บอกไม่รู้ เรื่องไหนสสงสัยก็ให้ถามเลย เรื่องไหนจะคัดค้านก็พูดมาเลย เรื่องไหนจะเห็นด้วยก็เห็นด้วย เรื่องไหนจะคัดค้านก็พูดมาเลย เรียกว่าเอาตามความจริงเลยไม่ต้องไปอ้อมค้อมอะไร เรียกว่าสัญญากันก่อนนะ เอาอย่างนี้นะ ถ้าอะไรจะเห็นด้วยก็เห็นด้วย อะไรไม่รู้ก็บอกไม่รู้ อะไรจะให้ขยายความก็บอกให้ขยายความ อย่างนี้เป็นต้น ถ้าเอาแบบนี้เราจะสนทนากันได้ ถ้าไม่เอาแบบนี้ เลิกไม่คุย .วัปปศากยราชกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักยินยอมข้อที่ควรยินยอมและจักคัดค้านข้อที่ควรคัดค้านต่อพระผู้มีพระภาค อนึ่ง ข้าพระองค์ไม่รู้ความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคข้อใด ข้าพระองค์จักซักถามพระผู้มีพระภาคในข้อนั้นยิ่งขึ้นไปว่าข้อนี้อย่างไร ความแห่งภาษิตข้อนี้อย่างไร ขอเราจงสนทนากันในเรื่องนี้เถิด พระเจ้าข้า ฯ.

การกระทำทางกาย

.พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์  เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกายเป็นปัจจัย. อาสวะคือกิเลส ตั้งแต่กิเลสอยาบไปถึงกิเลสละเอียดเลย .เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางกายแล้ว อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย. เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย กำจัดกิเลสแล้วเขาก็ไม่ทำกรรมใหม่ วิบากร้ายใหม่ก็ไม่ทำ รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย คือรับผลแล้วก็ทำเป็นสิ้นไปเลย ไม่ก่อเพิ่ม รับแล้วก็ให้มันหมดไป คือเรื่องร้ายๆ ที่ชีวิตต้องรับก็รับ เต็มใจรับนั่นเองนะ กรรมใหม่ไม่ทำเพิ่ม กรรมเก่าก็เต็มใจรับ รับแล้วก็ใหม่หมดไป ก็สบาย .นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ.
.วัปปศากยราชตอบ  ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ.

การกระทำทางวาจา

.พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัยเมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว อาสวะ เหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย. นี่ฉลาดนะ รับผลกรรมเก่าแล้วก็ไม่เพิ่มด้วย คนส่วนใหญ่นะรับผลกรรมเก่าแล้วเป็นอย่างไร จะเพิ่มทันทีเลย ทำไมต้องเป็นเราด้วย ทำไมๆ เมื่อไหร่จะหมดละเนี่ย แล้วมาจากไหน รับผลกรรมเก่าแล้วก็ทุกข์ๆ อย่างนั้นแหละ ถ้าใครทุกข์อย่างนั้นก็เพิ่มวิบากเข้าไปอีก คือมันไม่หมด รับแล้วก็ไม่รู้จักฉลาด ว่าโชคดีอีกแล้ว ร้ายหมดอีกแล้ว ก็ทำไม่เป็น ซวยจังเลยเรา มาจากไหน ใครทำ คือกระหน่ำ ๆ เข้าไปอีก แทนที่รับแล้วจะให้มันหมด ก็ยังไปกระหน่ำ ๆ เข้าไปอีก ซวยจริงๆ เลย นี่แหละซวย*บหายแบบนี้ แต่คนฉลาดเขารับกรรมเก่า แล้วก็หมดไปอีกแล้ว โชคดีอีกแล้วร้ายหมดอีกแล้ว รับเต็มๆ หมดเต็มๆ เป็นไงเป็นกัน รับเท่าไหร่หมดเท่านั้น เราแสบสุดๆ มันก็ต้องรับสุดๆ มันจะได้หมดไปสุดๆ รับแล้วก็ต้องรับ ไม่ใช่ไปเพิ่มมันอีก แล้วก็ไปท้อแท้ ไปน้อยใจ ไปทุกข์ใจ นั่นแหละเพิ่มวิบากแล้ว เพิ่มวิบากเข้าไปอีกแล้ว ตอนนี้คนฉลาดก็ไม่เพิ่ม กรรมใหม่ ชั่วใหม่ก็ไม่ทำเพิ่ม รับแล้วก็ให้มันหมดไปด้วย ไม่ใช่รับแล้วก็ไปก่อมันเพิ่มอีก หลายคนในโลกใบนี้ ซวยตรงที่พอรับกรรมเก่าแล้วแทนที่จะไม่ให้มันหมดไปเลย ก็ไปทำเพิ่มเข้าไปอีก ด้วยการไปทำทุกข์ ทุกข์นี่แหละ ทุกข์ใจ น้อยใจ โทษคนนั้นโทษคนนี้ ก่อเวรเพิ่ม เป็นงง เป็นเมาต่อไปอีก ทำไมๆ ฉันต้องโดนด้วย เมื่อไหร่จะหมด ทำไม่ทุกข์จังเลย เฮ้อ แย่จังเลยเรา ซวย*บหาย ก็แล้วแต่ เผลอๆ คนไหนทำ ไปโทษคนอื่นต่ออีก อย่างนี้เป็นต้น ส่วนใหญ่ก็ไปก่อเวรเพิ่มเขาไม่เข้าใจว่าเราทำมา รับแล้วก็หมดไป ไม่มีอะไรที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมาหรอก พระพุทธเจ้าตรัส ทุกอย่างที่เราได้รับ เราทำมาทั้งหมด กัมมัสสะโกมหิ เรามีกรรมเป็นของของตน กัมมะทายาโท เราเป็นทายาทของกรรม เป็นผู้รับมรดกจากการกระทำของเรา เราได้รับสิ่งดีมา เราทำดีมา เราได้รับสิ่งร้าย เราทำร้ายมา ในปัจจุบันหรืออดีตก็ตาม ร่วมกันรับแล้วก็หมดไป คนฉลาดก็ทำสิ่งที่ดี ไม่ทำสิ่งที่เลวร้าย .เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว อาสวะ เหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ. นี่คือวิธีเผากิเลสให้พินาศ รับแล้วก็หมดไป ก็สบายใจ แล้วก็เร่งทำดี รับแล้วก็หมดไป แล้วก็ทำดีเรื่อยไป ใจเย็นข้ามชาตินั่นแหละ กรรมเก่าจะสิ้นไปเร็ว .นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ. กิเลสเครื่องทุกข์ เครื่องเศร้าหมอง เครื่องกังวล เครื่องเบียดเบียน เครื่องก่อทุกข์ให้กับตัวเองและผู้อื่นให้มันพินาศ .วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน. วิญญููชนคือผู้ที่มีญาณปัญญานี้ก็จะรู้เฉพาะตน รู้และเข้าใจมีญาณปัญญาเข้าใจชัด ก็รู้เฉพาะตนเลย คนที่ไม่ใช่วิญญูชนก็ไม่รู้ แต่ผู้เป็นวิญญูชนจะรู้ เข้าใจเรื่องกรรมแจ่มแจ้ง รู้จักความผาสุกที่แท้จริงของชีวิต รู้จักความทุกข์ที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร สภาพพ้นทุกข์เป็นอย่างไร .ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
.วัปปศากยราชตอบว่า ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ. 

การกระทำทางใจ

พระพุทธเจ้าตรัสว่า .ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางใจเป็นปัจจัย. เห็นไหมใจอย่างเดียวก็ก่ออาสวะได้นะ ก่อวิบากได้ถ้าไม่กำจัดใจที่คิดผิด เข้าใจผิดคิดผิด เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางใจแล้ว การกระทำทางใจที่มันก่อทุกข์ ที่มันเดือดร้อน  เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางใจแล้ว อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ…วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ ท่านวัปปะตอบว่า  ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ 

พระพุทธเจ้าตรัสว่า .ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อนเหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ …อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ ท่านวัปปะตอบว่า ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พระพุทธเจ้าตรัสว่า .ดูกรวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว. เข้าใจชัด ปฏิบัติได้พ้นทุกข์ได้จริง กำจัดกิเลสเครื่องกังวล เครื่องเบียดเบียนเครื่องยึดมั่นถือมั่นได้จริง แล้วก็พ้นทุกข์จริง เพราะเข้าใจเรื่องกรรมแจ่มแจ้ง เข้าใจเรื่องกรรมโดยเฉพาะว่าการคิดตามกิเลสมันทุกข์ใจ มันทุกข์กาย เกิดเรื่องร้ายทั้งมวลต่อตนเองและผู้อื่นชั่วกัปชั่วกัลป์ สุขปลอมมันไม่เที่ยงอนิจจัง มันเป็นทุกข์ ทุกข์ชั่วกัปชั่วกัลป์ด้วย พิจารณาจนมันอนัตตาไม่มีตัวตน แล้วเห็นพลังผาสุกผ่องใสไร้กังวล เห็นพลังที่ไม่มีอกุศล เป็นกุศลเท่านั้นเกิดขึ้นในชีวิต ก็เห็นสภาพที่เป็นสุขที่สุด เพราะเข้าใจเรื่องแจ่มแจ้งนี่แหละ .ย่อมบรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ๖ ประการ เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู…สูดกลิ่นด้วยจมูก…ลิ้มรสด้วยลิ้น…ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย…รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วไม่ดีใจไม่เสียใจ มีอุเบกขา. ยินดีในความไม่ชอบไม่ชัง สบายใจไร้กังวล .มีสติสัมปชัญญะอยู่ เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุดย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เวทนาคือความรู้สึก มีกายเป็นที่สุด คือจิตที่อาศัยอยู่ในร่างที่สะอาด เข้าใจแล้วมันพ้นทุกข์แล้ว .เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. รู้แล้วว่าชีวิตของกิเลสมันสิ้นสุดแล้ว ได้ชีวิตที่ดีที่สุดแล้ว .ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไปเวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้. เวทนาที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง สุขปลอมทุกข์จริงนั่นแหละ .จักเป็นของเย็น. จะดับสูญไปเลย เวทนาอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้จะเป็นของเย็น สงบเย็น สลายไปเลย .ดูกรวัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้ ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้ามา เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน ครั้นแล้ว ขุดคุ้ยเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เท่าต้นแฝกก็ไม่ให้เหลือ เขาตัดผ่าต้นไม้นั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้เป็นซีกๆ แล้วผึ่งลมและแดดครั้นผึ่งลมและแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำให้เป็นขี้เถ้า โปรยในที่มีลมพัดจัดหรือลอยในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ เมื่อเป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้นั้น มีรากขาดสูญ ประดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มีไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด ดูกรวัปปะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมได้บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการ เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู…สูดกลิ่นด้วยจมูก…ลิ้มรสด้วยลิ้น…ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย…รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น ฯ

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษต้องการกำไร เลี้ยงลูกม้าไว้ขาย (ถ้าลูกม้าตายหมด) เขาพึงขาดทุน ซ้ำยังต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากใจยิ่งขึ้นไป แม้ฉันใด ข้าพระองค์หวังกำไรเข้าคบหานิครณถ์ผู้โง่ ต้องขาดทุน ทั้งต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากใจยิ่งขึ้นไป ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพระองค์นี้จักโปรยความเลื่อมใสในพวกนิครณถ์ผู้โง่เขลาเสียในที่ลมพัดจัด หรือลอยเสียในแม่น้ำ อันมีกระแสเชี่ยว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทางหรือตามประทีปไว้ในที่มืดด้วยหวังว่าคนผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ

เนื้อหาท่านวับ่ปะสาวกของนิครนถ์ ฟังธรรมะแล้วเข้าใจได้ เป็นผู้มีปัญญาฟังธรรมะแล้วเข้าใจได้ มีสภาวะธรรมรู้ว่าจะออกจากทุกข์ได้อย่างไร รู้ว่าอะไรคือสภาพผาสุก สภาพธรรมะ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ก็ลาออกจากนิครนถ์ มาเป็นพุทธสาวก มาเป็นอุบาสก นี่เป็นเนื้อหา ผู้ใดจับประเด็นไหนได้ก็ลองเอาไปใช้ประโยชน์ดูนะ ตั้งแต่ต้นมาเลย ทำอย่างไรวิบากเก่าที่เราได้รับนั้นมันจะไม่เพิ่มขึ้น พระพุทธเจ้าก็บอกวิธีปฏิบัติ มาจนถึงสภาพของความพ้นทุกข์เป็นเช่นไร คนจะได้ชัดเจนว่าความพ้นทุกข์เป็นเช่นนี้ ถ้าคนมีสภาวะจะเข้าใจ แต่ถ้าคนไม่มีสภาวะก็จะเมาๆ อะไรไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เฉยๆ บื้อๆ แล้วมันจะสุขตรงไหน แต่คนเข้าใจ มันไม่ใช่อย่างนั้น มันผาสุกผ่องใสไร้กังวล ที่เราไม่ชอบไม่ชังไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่อยาก ไม่ยึดมั่นถือมั่น ผ่องใสใจไร้กังวล ยึดก็ได้วางก็ได้ด้วย อะไรดีก็ยึดอะไรไม่ดีวางเลย อะไรไม่ดีวางไปก่อนอะไรดียึดได้ก็ยึด ยึดไม่ได้ก็วาง เพราะเข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง มันผ่องใสไร้กังวล มันไม่ซื่อๆ บื้อๆ อย่างนั้น พระพุทธเจ้าบอกเข้าใจเรื่องกรรม กรรมใหม่ก็ไม่ทำเพิ่มวิบากกรรมเก่ารับแล้วก็ให้หมดไป นี่เป็นผู้ที่เข้าใจเรื่องวิบากกรรม ก็จะมีความผาสุก

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งสุขที่ได้ดั่งใจ มาเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ

ทิ้งสุขที่ได้ดั่งใจ มาเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ

https://youtu.be/VEdGDffwsGI อาจารย์ประทับใจพระพุทธเจ้า ชอบใจมากเลยธรรมะของพระองค์ท่านเนี่ยนะ ท่านตรัสไว้ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ข้อที่...

ความเจ็บป่วยที่หายช้าเพราะชีวิตทำชั่วมากกว่าดี

ความเจ็บป่วยที่หายช้าเพราะชีวิตทำชั่วมากกว่าดี

ชั่วมีมากกว่า ปวดฟันที่ยังหายเร็ว ปวดเหงือก ปวดฟันหายเร็วเลย ไม่ใช่หายง่าย ๆ หรอก ชั่วมากกว่าดี จะบอกให้ ต่อให้มียาดี หมอดี...

การปฏิบัติศีลให้ถูกตรงจะมีญาณปัญญา

การปฏิบัติศีลให้ถูกตรงจะมีญาณปัญญา

มีญาณปัญญาในการชำแรกกิเลส จะมีญาณปัญญาในการทำกิจกรรมการงานมากขึ้น จะสืบเนื่องกันไปเพื่อชำแรกกิเลสได้ จะมีเหตุปัจจัยให้เรามีญาณปัญญามากขึ้น...

พลังของการให้อภัย ที่มีคุณค่าต่อเราและผู้อื่น

พลังของการให้อภัย ที่มีคุณค่าต่อเราและผู้อื่น

จิตของเรา เมื่อเราพร่องเราพลาดไปแล้ว ถ้าเราได้รับการให้อภัยและได้รับโอกาสจากใคร ๆ โดยเฉพาะความพร่อง ความพลาดที่ร้ายแรงที่หนัก...

การปฏิบัติธรรมกับการทำกสิกรรมไร้สารพิษ

การปฏิบัติธรรมกับการทำกสิกรรมไร้สารพิษ

ความเป็นคนจนของเรา ความไม่มีอุปกรณ์ของเรา ไม่มีเครื่องกล ไม่มีอะไรช่วย ก็ทำให้เราได้มีความสามารถ มีศักยภาพ มีปัญญา ได้ใช้ปัญญา ใช้ความสามารถ...

กสิกรรมไร้สารพิษกับธรรมะ เกี่ยวกันอย่างไร

กสิกรรมไร้สารพิษกับธรรมะ เกี่ยวกันอย่างไร

เกี่ยวกันอย่างยิ่งเลย สัมพันธ์กันเป็นหนึ่งเดียวกัน หนุนกันไปหนุนกันมา ถ้าไม่มีกสิกรรมไร้สารพิษไม่มีทางมีสุขภาพที่ดีได้...

การตั้งศีลแบบละเอียดในเรื่องของอาหาร

การตั้งศีลแบบละเอียดในเรื่องของอาหาร

อาหารเป็นหนึ่งในโลก อาหาร 4 อาหารคือ เครื่องค้ำจุนชีวิต 1. กวฬิงการาหาร อาหารที่เป็นคำข้าวด้านรูปธรรม พึงกำหนดรู้ความยินดีในกามคุณ 2....

อริยสัจ 4 เป็นหัวใจสำคัญของความพ้นทุกข์ในชีวิต

อริยสัจ 4 เป็นหัวใจสำคัญของความพ้นทุกข์ในชีวิต

อาจารย์ว่าพวกเราก็ฝึกฝนกันไป ก็ตามที่พวกเราพี่น้องเราทำมากันเป็นลำดับ ๆ รายการอริยสัจ 4 นี่ก็เป็นหัวใจสำคัญของชีวิต อริยสัจ 4...

รวมคำถามคำตอบรายการสุขภาพดีวิถีธรรม ตอบปัญหาเพิ่มปัญญากับหมอเขียว

รายการสุขภาพดีกับแพทย์วิถีธรรม ตอบปัญหาเพิ่มปัญญากับหมอเขียว ออกอากาศเวลา 9:30 -11:30 น. ทุกวัน ทางหมอเขียวทีวี ทางทีมสื่อแพทย์วิถีธรรมได้จัดทำวิดีโอแยกแต่ละคำถาม เพื่อสะดวกในการสืบค้นต่อไป

สันติภาพ

สันติภาพ

แด่พี่น้องและเพื่อนร่วมโลกทั้งหลาย อาตมารู้สึกเป็นเกียรติอย่างเหลือประมาณ ที่คณะกรรมการแมนเฮ เล็งเห็นงานที่อาตมาทำมาทั้งชีวิต...

ธรรมะกับการทำนาแปลงเล็ก

ธรรมะกับการทำนาแปลงเล็ก

การทำนาแปลงเล็กเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติธรรมอย่างไร - ก็เริ่มตั้งแต่เราทำไร้สารพิษ เป็นการทำนาแบบมีศีล ไม่เบียดเบียนตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น -...

ให้ด้วยใจบริสุทธิ์ที่สุด เป็นวิบากดีที่สุดต่อทุกชีวิต

ให้ด้วยใจบริสุทธิ์ที่สุด เป็นวิบากดีที่สุดต่อทุกชีวิต

#ให้ด้วยใจบริสุทธิ์ที่สุด_เป็นวิบากดีที่สุดต่อทุกชีวิต คำถามขอสัมมาทิฎฐิจากอาจารย์หมอเขียว อยู่บ้านตอนติดโควิด...

ในโลกนี้ไม่มีอะไรดีเท่ากับธรรมะแท้ๆ

ในโลกนี้ไม่มีอะไรดีเท่ากับธรรมะแท้ๆ

ธรรมะแท้ๆ ที่ถ้าได้ทำให้ถูกตรงเป็นประโยชน์ตนประโยชน์ท่านมากที่สุดในโลก ในการดับทุกข์ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นสูงที่สุด...

ความสุขสบายใจไร้กังวล

ความสุขสบายใจไร้กังวล

ทำสมดุลร้อนเย็น เรียนรู้ให้ดีเถอะ นี้คือ ความสุขสบายใจไร้กังวล #พึ่งตนเองได้เป็นหลัก ทำให้ชีวิตไม่ลำบากมาก อยู่ได้โดยไม่กังวล...

เราทำดีอะไรได้ เราก็ทำ

เราทำดีอะไรได้ เราก็ทำ

ทำในสิ่งที่เราทำได้ ก็ช่วยกันไป เราทำดีให้ดีที่สุด เท่าที่เราทำได้ ให้ผลดีเกิดขึ้นได้ ให้โลกและเราได้อาศัย ก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะดับไป...

โทษของการคิดอกุศล

โทษของการคิดอกุศล

แค่แว๊ปเดียว แค่คิดในใจ นี้ยังไม่ออกมาทางกายวาจา แม้แค่คิดแค่ใจ มันยังหนัก มันก็มีแต่หนัก หนักมาก หนักมากที่สุด ญาณข้อที่ 4 พระโสดาบัน 7...

เหตุปัจจัย วิบากร้าย

เหตุปัจจัย วิบากร้าย

เหตุปัจจัย วิบากร้ายจัดสรร ให้ไปเจอหรือดึงเรื่องร้ายมาใส่ได้ทุกเรื่อง จากการผิดศีลในอดีตหรือปัจจุบันก็ตาม มันจะดึงเรื่องร้ายๆ...

ธรรมะพาพ้นทุกข์จากภัยโควิด 19

ธรรมะพาพ้นทุกข์จากภัยโควิด 19

พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะรักษาชีวิตก่อน สละได้ไหม สละการงานก่อนและเพื่อรักษาธรรม ด้วยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น...

วิธีที่สงบสบายแบบยั่งยืน คือ ต้องกำจัดกิเลสได้

วิธีที่สงบสบายแบบยั่งยืน คือ ต้องกำจัดกิเลสได้

ระหว่างความรู้สึก กินอร่อยๆ ทั้งวัน กับอิ่มสบายทั้งวัน อิ่มสบาย มันสบายกว่านะ ต่อให้มันอร่อย แต่ไม่อิ่มสักที หิวๆๆ กับอิ่มสบาย...

ความซวยของคนดีที่ไม่ลดกิเลส 2/2

ความซวยของคนดีที่ไม่ลดกิเลส 2/2

ความซวยของคนดีที่ไม่ลดกิเลส ต่อ #2/2 (จบ) เทวดาโลกียะ(สมมติเทพ) คนดีที่เต็มไปด้วยการเสพ โลกธรรม กาม อัตตา อบายมุข...

ความซวยของคนดีที่ไม่ลดกิเลส 1/2

ความซวยของคนดีที่ไม่ลดกิเลส 1/2

คนที่ทำชั่วมามากทำไมไม่รู้สึกผิด?? *ไฮไลท์ #คนก็หลงว่าโอ้โหมันได้ดีก็ไปทำตามกันตามกัน ก็ยิ่งเป็นบาปบาปซ้ำซ้อนเข้าไปอีก...

630418_ธรรมะพาพ้นทุกข์

630418_อาจารย์หมอเขียว ดร.ใจเพชร กล้าจน อาคารดอยฟ้า พุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ บ้านแม่เลา แม่แตง เชียงใหม่ 18 เมษายน 2563 13.00-15.00 น....

ลิงค์เสียงบรรยายค่ายพระไตรปิฎก ครั้งที่ 27

ลิงค์เสียงบรรยายค่ายพระไตรปิฎก ครั้งที่ 27

เสียงบรรยายของอ.หมอเขียว ค่ายพระไตรปิฎก ครั้งที่ ๒๗ ระหว่างวันที่ 26  ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2562 รุ่น ดับกิเลส ดับเครื่องกังวล 621026_1...

ผู้มีปัญญามาก  แม้ประสบทุกข์ก็หาสุขพบ

อ.หมอเขียว ยกเตสกุณชาดกที่ 1 ว่าด้วยนกตอบปัญหาพระราชา จาก พระไตรปิฎกเล่มที่ 27 ข้อที่ 2438-2444 โดยนำข้อที่ 2444 มาขยายความ...

ถ้าใครมีธรรมะ จะไม่หวั่นไหวในสถานการณ์โควิด 19

ถ้าใครมีธรรมะ จะไม่หวั่นไหวในสถานการณ์โควิด 19

อ.หมอเขียวยกศิริมันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ 27 ข้อที่ 2084-2089 โดยนำข้อ 2089 มาขยายความ คนมีปัญญาน้อยมีเหตุการณ์สุขหรือทุกข์ก็สร้างความหวั่นไหวให้กับตัวเองได้ ในช่วงท้ายอ.หมอเขียวแนะนำวิธีคิดที่ไม่ทุกข์ ในเหตุการณ์การระบาดของโควิด ไม่ว่าเราจะติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อ ซึ่งหลักการดังกล่าวสามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกเหตุการณ์ ทุกปัญหาในชีวิต

อ่านรายละเอียดที่
https://morkeaw.net/?p=3742&preview=true

Playlists-Youtube แนะนำแพทย์วิถีธรรมกับโควิด-19

#เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

ถึงวันนี้การระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงดำเนินไป ความกลัว ระแวง หวั่นไหวเพิ่มขึ้นทั่วโลก แพทย์วิถีธรรม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่าน และขอส่งลิงค์แนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักการแพทย์วิถีธรรม ให้ทุกท่านได้พิจารณา

3 สิ่งสำคัญที่สุดในโลกของชีวิต

3 สิ่งสำคัญที่สุดในโลกของชีวิต

ฟังเสียงอ.หมอเขียวกล่าวถึงเรื่อง 3 สิ่งสำคัญของชีวิต ที่เป็นหัวใจของความแข็งแรง มั่นคง มีคุณค่า และผาสุกที่สุดในโลก คือปัจจัย4 มิตรดี มีศีล

การปฎิบัติของพระโพธิสัตว์ยามพบภัย

การปฎิบัติของพระโพธิสัตว์ยามพบภัย

อ.หมอเขียวเน้นย้ำว่า เมื่อเกิดวิกฤต ชาวพุทธจะตั้งและปฏิบัติอริยศีลที่ถูกตรง เพื่อเพิ่มพลังกุศล ครั้งนี้ อ.หมอเขียวยกตัวอย่างการปฎิบัติของพระโพธิสัตว์เมื่อเจอภัยพิบัติ ซึ่ง มีทีมจิตอาสาแพทย์วิถีธรรมทำการตัดต่อเสียง และเผยแพร่ใน Morkeaw Podcast

630320 แนะนำรายการธรรมะพาพ้นทุกข์ ทุกวัน 20:00น

พบกับรายการธรรมะพาพ้นทุกข์ โดยดร.ใจเพชร กล้าจน ทุกวัน ในช่วงเวลาประมาณ 20:00 - 21:00 น บางทีก็ประมาณ 19:45 น หรือถึงประมาณ 21:00 น...

ยังไม่ชัดเจนกับทางโลกทางธรรม มีวิธีการเลือกอย่างไร

ถาม : ทำอย่างไรเราจึงจะมีวิธีการเลือกว่าชีวิตเราจะเลือกในโลกีย์หรือโลกุตระ  เพราะตอนนี้ตนเองเหมือนกับยังไม่ชัดเจนกับทางธรรม...

องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ 4 ประการ

มหาวรรคที่ 5 พระไตรปิฎกเล่มที่ 21 ข้อ 194 องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ 4 ประการ 1 สีลปาริสุทธิ...

เรามีหน้าที่ทำแต่ละสิ่งแต่ละอย่าง ให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด เท่าที่เราจะพึงทำได้ ให้โลกและเราได้อาศัย ก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะดับไปเท่านั้น

ขยายความบททบทวนธรรม เรามีหน้าที่ทำแต่ละสิ่งแต่ละอย่าง ให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด เท่าที่เราจะพึงทำได้ ให้โลกและเราได้อาศัย ก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะดับไปเท่านั้น

เรามีหน้าที่ทำแต่ละสิ่งแต่ละอย่างให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เท่าที่เป็นไปได้ตามภูมิ เท่าที่จะทำได้ คือ ตามภูมิตามบารมีที่มีตามภูมิตามบารมีที่มี มีเท่าไหร่ก็สุดฝีมือเท่านั้นแหละจบ ก็ปรารถนาให้เกิดดีแล้วก็จบ ให้โลกแล้วเราได้อาศัยก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างก็ดับไปเท่านั้น ก็เมื่อเราทำดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แล้ว โลกก็จะได้อาศัย คนในโลกก็จะได้อาศัย เราก็จะได้อาศัยดีที่เราทำนั้น ก็ได้อาศัยเพราะชีวิตอยู่ก็ต้องอาศัยสภาพดีๆ นั่นแหละ เท่าที่มันจะเป็นไปได้ดีเท่าที่จะเป็นไปได้ก็ได้อาศัย ได้เท่าไหร่ก็เท่านั้นแหละดีเท่าไหร่ก็เท่านั้น ที่จะได้อาศัย แม้อาศัยแล้ว แต่มันก็จะดับไปนะ อย่าไปยึดมั่นถือมั่นว่ามันจะอยู่ไปตลอด สิ่งใดมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นมีการดับไปเป็นธรรมดา แม้ดีก็ต้องดับไปนะ แม้ร้ายก็ต้องดับไปน อย่าไปยึดมั่นถือมั่นว่ามันจะอยู่ตลอด เกิดแล้วมันก็ดับๆ หมดฤทธิ์เขาก็ดับๆ อย่างนี้เป็นต้น เมื่อเราไม่ยึดมั่นถือมั่นเราก็ไม่ทุกข์
…ฝึกทำดีแล้วก็วางดีๆ ให้ฝึกไว้ ให้ทบทวนไว้ว่า มันไม่ได้อยู่ไปตลอดนะ แม้ดีแค่ไหนเกิดแล้วก็ดับๆ บอย่างนี้เป็นต้น ก็จะได้ไม่ทุกข์ จิตเราก็เป็นอิสระจากทุกข์

620704 ไม่มีใครอยากทุกข์ ที่เขาทำทุกข์เพราะเขาไม่รู้

ไม่มีใครอยากทุกข์ ที่เขาทำทุกข์เพราะเขาไม่รู้ ที่เขาไม่รู้เพราะมีวิบาก 11 ประการ จากการไม่เคารพไม่ศรัทธาพระพุทธเจ้าหรือสาวกแท้...