บัวบกมีฤทธิ์ร้อนดับร้อน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะแตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อชูขึ้น 3-5 ใบ ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปไตเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผล เป็นผลแห้ง แตกได้
ใบบัวบกเป็นพืชที่เหมาะสำหรับเตรียมเป็นเครื่องดื่มและอาหารหรือเป็นผัก ช่วงอากาศร้อน ช่วงเที่ยง ถึงบ่ายสอง อันเป็นช่วงเวลาที่ธาตุไฟในจักรวาลแรงกล้า เหมาะสำหรับวัยรุ่นมากที่สุด เพราะเป็นอายุที่มีธาตุไฟประจำกาย เนื่องจากใบบัวบกมีรสขม ใช้ลดความร้อนในร่างกาย
ตามตำราแผนโบราณ คำว่าบัวบกมีสองชนิด คือบัวบก หัว (Stephania erecta, Craib, Menisapermaceae) และบัวบกใบ หรือที่เรียกว่าผักหนอก (Centella asiaica, Umbelliferae) คือบัวบกที่จะกล่าวถึงนี้ เป็นพืชที่ขึ้นง่ายตามที่ชื้นแฉะ เป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน ใบกลมประมาณ นิ้วครึ่ง ริมใบจัก
สรรพคุณของบัวบก
ยาไทยกล่าวว่า ใบบัวบกเป็นยาบำรุง รักษาโรคผิวหนัง โรคประสาท ขับปัสสาวะ ต้นและใบเป็นยาบำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลียเมื่อยล้า แก้ท้องเสีย อาการเริ่มเป็นบิด คนจีนใช้ตำละลายน้ำผสมน้ำตาล เป็นยาแก้ร้อนใน แก้ช้ำใน แก้อ่อนเพลียได้ดี
สรรพคุณในตำราจีนกล่าวว่า ใบมีรสขมเล็กน้อย เผ็ดเล็กน้อย เย็นจัด หรือหนาว ในทางจีนใช้ขับความร้อน ขับปัสสาวะ แก้พิษ แก้บวม ใช้ในอาการไข้หวัดใหญ่ ใช้ในอาหารเป็นพิษ ใช้ขนาด15-30 กรัม (แห้ง) บำรุงตับ ใช้ขนาด 250 กรัม ต้มในน้ำตาล นอกจากนี้ยังใช้ถอนพิษ
ในทางการแพทย์ล้านนา พบตำรับยาที่เข้าผักหนอก ได้แก่ ยาแก้ปิ (ลมแดด หรือเวลาหิวข้าว) ยามะเร็งครุตขึ้นหัว (ปวดหัวข้างเดียวมาก) ยาลมเกี่ยว (ตะคริว) และยาผีเครือสันนิบาต โดยมีตัวยาอื่นเป็นส่วนร่วม นอกจากนี้ชาวล้านนายังใช้ ใบสดรับประทานเป็นผักแกล้มน้ำพริกปลา
ในด้านพฤกษเคมี พบว่าใบและรากบัวบกมีสารสำคัญคือไทรเทอร์ปีนส์ พบกรดเอเชียติก เอเชียติโคไซด์ มาเดคอสซอล มาเดคาสสิก และอื่นๆ นอกจากนี้ประกอบด้วย น้ำมันหอมระเหยเล็กน้อย และฟลาโวนอยด์ น้ำที่คั้นได้ พบเอเชียติโคไซด์มากที่สุด มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนให้กับผิว นอกจากนี้ยังสามารถยับยั้งอาการคัน ช่วยยับยั้งเชื้อกลาก สารสกัดด้วยน้ำยังสามารถช่วยลดการติดเชื้อที่เกิดหนอง ทำให้เหมาะสมในการใช้เป็นผลิตภัณฑ์ภายนอกลดการอักเสบของแผลในช่องปาก และอื่น ๆ
- ใบ – มีสาร Asiaticoside ทำยาทาแก้แผลโรคเรื้อน
- ทั้งต้นสด
– เป็นยำบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า
– รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือมีการชอกช้ำจากการกระแทก แก้พิษงูกัด
– ปวดศีรษะข้างเดียว
– ขับปัสสาวะ
– แก้เจ็บคอ
– เป็นยาห้ามเลือด ส่าแผลสด แก้โรคผิวหนัง
– ลดความดัน แก้ช้ำใน - เมล็ด
– แก้บิด แก้ไข้ ปวดศีรษะ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
- ใช้เป็นยาแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
ใช้ต้นสดไม่จำกัด รับประทาน หรือคั้นน้ำจากต้นสดรับประทาน ควรรับประทานติดต่อกัน 2-3 วัน - ใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ
ใช้ทั้งต้นสด 10-20 กรัม หรือ 1 กำมือ ตำคั้นน้ำเติมน้ำส้มสายชู 1-3 ช้อนแกง จิบบ่อยๆ - เป็นยาลดความดันโลหิตสูง
ใช้ทั้งต้นสด 30-40 กรัม คั้นน้ำจากต้นสด เติมน้ำตาลเล็กน้อย รับประทาน 5-7 วัน - ยาแก้ช้ำใน (พลัดตกหกล้ม)
ใช้ต้นสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำคั้นน้ำ เติมน้ำตาลเล็กน้อย ดื่ม 1 ครั้ง รับประทานติดต่อกัน 5-6 วัน - เป็นยาถอนพิษรักษาแผลน้ำร้อนลวก
ใช้ทั้งต้นสด 2-3 ต้น ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดพอกแผลไฟไหม้ ช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อน - เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด
ใช้ใบสด 20-30 ใบ ล้างให้สะอาด ตำพอกแผลสด ช่วยห้ามเลือดและรักษาแผลให้หายเร็ว
แหล่งข้อมูล
- เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- เว็บไซต์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่