อาหารเป็นหนึ่งในโลก อาหาร 4 อาหารคือ เครื่องค้ำจุนชีวิต
1. กวฬิงการาหาร อาหารที่เป็นคำข้าวด้านรูปธรรม พึงกำหนดรู้ความยินดีในกามคุณ
2. ผัสสาหาร ผัสสะเป็นเครื่องค้ำจุนชีวิต พึงกำหนดรู้ในเวทนา 3 ความรู้สึก สุข ทุกข์ อทุกขมสุขเวทนาที่เป็นเคหสิตะและเนกขัมมติสะ
3. มโนสัญเจตนาหาร จิตเจตนาเป็นเครื่องค้ำจุนชีวิต พึงกำหนดรู้ในตัณหา รู้ตัณหาที่เป็น กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา ก็เอาให้เป็นวิภวตัณหา อย่าไปอยากเสพกิเลส อย่าไปอยากหมดกิเลส ให้อยากหมดกิเลสแบบไม่ยึดมั่นถือมั่น
4. วิญญาณาหาร ความรู้แจ้งอารมณ์ป็นเครื่องค้ำจุนชีวิต พึงกำหนดรู้ในนามรูป รู้จักอาการของธาตุรู้ของชีวิต นามคือธาตุรู้ รูปคือรูปนอก คือทุกสิ่งทุกอย่างที่มากระทบ รูปในคือมีอาการทุกขอริยสัจ 4 ไหม อาการของกิเลส อ่านแล้วกำจัดได้ก็เป็นอาการของพุทธะ
เมื่อวานพี่น้องคุยกับอาจารย์เรื่องอาหาร อาจารย์ว่า แต่ละชีวิตก็ต้องรู้จักว่าอะไรที่ถูกกันไม่ถูกกัน และรู้จักปรับเปลี่ยน อะไรกินแล้วสบายก็กิน กินแล้วไม่สบายก็หยุด เป็นผู้ทำความสบายให้แก่ตน อาจารย์ได้ยกตัวอย่าง สูตรหนึ่งอาหารสูตรพลังพุทธ กินแยกทีละอย่าง กับ สูตรสองน้องพุทธ มีปรุงบ้างนิดหน่อย
จะตัดใจไปกินสูตรหนึ่งมันตัดใจยากมาก ๆ เลย แม้ใจยังล้างไม่ได้แต่ตัดใจไปกินได้ก็ดีขึ้นเลย ได้สู้ได้ฝืนกับกิเลสเป็นมหากุศลเลย ถ้าทำถึงใจจนชำระกิเลสได้จะดีขึ้นมากเลย พอนานเข้า ๆ จะมีอาการไม่สบายบางอย่างจะแก้ไม่ได้ แต่คนจะยึดว่าอันนี้ดีที่สุดแล้ว ไม่เอาสูตรอื่นแล้ว ด้วยความยึดมั่นถือมั่นแรง บางวันจะกลัวไม่ได้ดั่งใจหมาย หรือมีวิบากบ้าง ยิ่งยึดจะยิ่งไม่ได้ดั่งใจหมายเพราะกลัวกังวลหวั่นไหวจะไม่ได้ ร่างกายก็แย่ เหตุการณ์ไม่ดีก็เพิ่มขึ้น ก็ยิ่งยึดว่าต้องได้อย่างนี้มันดี จมอยู่อย่างนั้น
ถึงรอบหนึ่งจะมีญาณปัญญาว่ามันไม่สมดุลแล้ว พอจะปรับมากินแบบปรุงก็ต้องสู้หนัก เพราะเข้าใจแล้วว่ากินแบบไม่ปรุงดีกว่า แต่แค่ตัดสินใจว่าจะกินแบบปรุงดีขึ้นเลย หายทันทีฉับพลันเลย เดี๋ยวก็ยึดอีก ก็จะเริ่มเสื่อมอีก อยากได้ดั่งใจหมาย กลัวไม่ได้ดั่งใจหมายก็เริ่มเสื่อม เริ่มยึดก็จะเริ่มเสื่อมทันที เริ่มไม่ได้สุขภาพดี สมดุลแปรปรวน ร่างกายจะแย่ ทีนี้แก้ยังไงก็ไม่หาย มีเรื่องร้ายมากระหน่ำอีก จนกว่าจะหมดวิบากได้พบสัตตบุรุษ ได้ฟังสัทธรรม ได้ข้อมูลก็รู้แล้วว่าไม่เอาสูตรนี้แล้ว กลับมากินสูตรไม่ปรุงดูก็ดีขึ้น ก็ยึดอีก ก็ต้องกลับไปกลับมาแบบนี้ ยึดไม่ได้หรอก
สรุปแล้วอะไรสบายก็เอาอันนั้น แม้จะปรับแบบนั้นบางครั้งก็หาสมดุลไม่ได้ยังมีวิบากกั้น ก็ทำใจไม่สมดุลก็ได้ ไม่สบายก็ยินดีได้ ไม่ต้องอยากสมดุล ยินดีได้แม้ไม่สมดุล ยินดีได้ก็โล่ง สภาพร่างกายจะดีขึ้นทันที เพราะเราเห็นทุกขอริยสัจว่าการไปยึดความสมดุลก็ทุกข์ ไปอยากได้ดั่งใจหมายตลอดไม่ได้ คนเรามีวิบากร้ายเป็นระยะ แล้วไปยึดอยากได้ดั่งใจหมายก็เป็นวิบากร้ายใหม่ที่จะทำให้เราไม่แข็งแรงไม่หายโรค
พอจับทุกขอริยสัจได้ก็กำจัดเลย แม้ได้สมดุลดั่งใจหมายมันก็ไม่เที่ยง อยากเป็นทุกข์ ได้สมอยากก็ดีใจแวบเดียวก็หมดไป พิจารณาจนล้างสุขลวงและรู้ความจริงตามความเป็นจริง ก็เบิกบานแจ่มใสไร้กังวล โรคก็ลดลงวินาทีนั้นเลย ตั้งศีลมากำจัดทุกข์ ณ ปัจจุบันนั้นแหละ นั่นแหละทุกขอริยสัจเป็นกิเลส
กำจัดทุกขอริยสัจยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ที่สุด ต้องฉลาดที่จะอ่านอาการที่เกิดขึ้นในใจ แล้วมีความต่างระหว่างทุกข์กับพ้นทุกข์มันต่างกันอยู่ อ่านอาการ เห็นความต่างระหว่างกิเลสว่ามันทุกข์ กับพุทธะไม่มีเงื่อนไขให้ใจเป็นทุกข์ กิเลสก็มีทั้ง หยาบ กลาง ละเอียด กิเลสติดชั่ว กิเลสติดดี ก็มีเครื่องหมายความต่างให้เราอ่าน อ่านออกก็ตั้งศีลมากำจัดเลย
เวลาชีวิตอยากพ้นทุกข์ มีความไม่เบิกบาน ไม่แจ่มใส ไม่แช่มชื่น ให้ตั้งศีล
ก็เข้าหาผัสสะ เดินเข้าครัวเลย แล้วตรวจดูมีอะไรไหมถ้าไม่ได้เสพจะทุกข์ใจไม่ชอบใจ นั่นแหละตั้งศีลเลิกเลย ทุกข์ใจก็เบียดเบียนตัวเองแล้ว มันชัดแล้วเราก็ลด ละ เลิกไป กำจัดทุกข์อันนี้ ใช้ปัญญากำจัดกิเลสไป นี่แหละเป็นการเพิ่มศีล
เอาทีละเรื่องชัด ๆ ก่อน อย่าไปกำจัดทีละหลายเรื่อง อย่าไปมั่วมันจะไม่ได้สักเรื่อง กำจัดได้หนึ่งเรื่องโรค เรื่องร้ายจะลดลง ทุกข์ใจก็เบา และจะเห็นเหตุแห่งทุกข์ได้มากไปอีก จากนั้นก็ทำงานปกติไป เรื่องดีก็ตรวจดูว่ามีดีอะไรที่ไม่เกิดแล้วจะไม่สบายใจ ทำเสร็จแล้วสบายใจ ไม่เสร็จแล้วไม่สบายใจ มีพฤติกรรมดีของใครไหมที่เขาทำดีเราจะสุขใจ เขาไม่ทำดีเราจะทุกข์ใจ เหตุเพราะกิเลสตัณหา เราดื้ออยากได้ดั่งใจหมาย ในความเป็นจริงมันไม่ได้ มันเกิดโควต้าที่จะได้รับสิ่งนั้น แต่เรายังดื้อ ยังโง่ ยังบ้า ยังทุกข์ที่อยากได้ดั่งใจหมายอยู่ ก็เห็นแล้วก็อย่าไปอยากได้สุขลวงทุกข์จริงในดี ไม่ได้ก็ยินดีได้ ได้ก็ยินดีได้ ก็พ้นทุกข์ ตั้งศีลมากำจัดกิเลสแบบนี้ในแต่ละวัน ๆ
ใจที่ไม่ได้ดั่งใจหมายแล้วทุกข์ใจเป็นจดหมายเตือนจากมาตลีเทพสารถีที่แม่นที่สุด ทุกข์กายกับเหตุการณ์ยังไม่แน่ว่าเป็นวิบากเก่าหรือไม่ แต่ใจที่ไม่ได้ดั่งใจหมายแล้วทุกข์ใจเป็นวิบากใหม่เอี่ยมอ่องเลย เป็นจดหมายเตือนฉบับปัจจุบันเลย ตั้งศีลมากำจัด ทำด้วยปัญญาอย่างตั้งมั่น พิจารณาไตรลักษณ์ของกิเลส กำจัดได้ ทุกข์กายเรื่องร้ายลดลงจะชัดเจนว่ามาจากกิเลสใหม่ วิบากใหม่ที่กำจัดได้ ถ้ายังเหลือทุกข์กายเรื่องร้ายอยู่ก็มาจากวิบากเก่าเราก็ไม่ชังของเก่า ก็ยินดีรับยินดีให้หมด
“อาจารย์จะสอนการตั้งศีลแบบละเอียดในเรื่องของอาหาร และ ทุกเรื่องให้สมบูรณ์ดังนี้”
วิธีตั้งศีลง่าย ๆ เลย ตั้งศีลข้อเดียวคือ ไม่สร้างทุกข์ใจให้กับตัวเองคนอื่นสัตว์อื่น เน้นที่ทุกข์ใจก่อน ส่วนทุกข์กายเรื่องร้ายก็ทำเท่าที่ทำได้ แก้ได้ไม่ดีก็เป็นแค่ทุกข์ปลายเล็บ ทุกข์ใจต้องทำให้ได้ดี ทุกข์ใจไม่ทำเพิ่มก็ไม่ได้ทำวิบากร้ายเพิ่ม หัวใจของการดับทุกข์คือดับทุกข์ใจ แก่นอยู่ที่ดับที่ใจ ดับทุกข์ใจได้ก็ไม่ได้ทำวิบากร้ายเพิ่มขึ้นแล้ว ก็มีพลังมากขึ้นทำดีได้มากขึ้น เหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตามเขาก็ได้สุขใจสุขกาย ก็เป็นวิบากดีสุดดีเลย
การตั้งศีลแบบละเอียดขึ้นคือศีลทุกข้อ คือ ไม่เบียดเบียนตัวเอง คนอื่น สัตว์อื่น จนถึงในใจเลย ใจเป็นทุกข์บาปที่สุดในโลก เป็นวิบากร้ายที่ทำให้เกิดวิบากร้ายอื่น ๆ สืบเนื่องไป กำจัดอันนี้ได้ จบหมดเลย กองทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลดับได้ด้วยประการฉะนี้
วิธีตรวจก็ดูว่าเวลามีผัสสะมากระทบมีอะไรไม่ชอบใจ จับได้นั่นแหละทุกขอริยสัจ อย่าเอาแต่ทำงานไม่อ่านทุกขอริยสัจเลย แล้วจะพ้นทุกข์เมื่อไหร่ อันไหนไม่ได้ดั่งใจนั่นแหละกิเลสที่ต้องตั้งศีลมากำจัด พิจารณาไตรลักษณ์ พิจารณาวิปลาส 4 เข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งให้กิเลสสลายไป ทำไปทีละเรื่อง ๆ กำจัดการเบียดเบียนเพราะชั่ว กำจัดการเบียดเบียนเพราะดี กำจัดความหลงติดชั่ว หลงติดดีที่เป็นเหตุให้เบียดเบียนตัวเองคนอื่นสัตว์อื่น ตั้งศีล ณ ปัจจุบันหลัด ๆ นั่นแหละ ดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุด
คนที่ไม่ได้พบสัตตบุรุษ ไม่ได้ฟังสัทธรรม ไม่ได้ตั้งศีลมากำจัดด้วยปัญญาอย่างตั้งมั่น มีแต่พอกกิเลสไปวัน ๆ ก็เนิ่นช้าอยู่อย่างนั้น คนในโลกเขาหลงสุขแต่มันเป็นทุกข์ เขาจึงน่าสงสารมาก ส่วนผู้ที่ทำความดีมากพอได้พบสัตตบุรุษ ได้ฟังสัทธรรม รีบพากเพียร อ่านกิเลสเป็นล้างกิเลสได้ รู้เหตุคือกิเลสนี้ ตั้งศีลมากำจัดด้วยปัญญาทำอย่างตั้งมั่นจนได้ผลพ้นทุกข์ ทำหนึ่งเรื่อง สองเรื่อง สามเรื่อง มีปัญญาในการทำแล้วจะเกิดญาณข้อที่สอง คือ ทำให้มาก ๆ จะมีฉันทะ เร่งเครื่องใส่เกียร์แปดเลย รู้แล้วว่าพ้นทุกข์ดีที่สุด สุขเหนือสุข จะรู้ว่านี่แหละคือ ทางเอกสายเดียวสู่ความพ้นทุกข์ เข้าใจวิธีปฏิบัติให้ถูกต้อง แล้วคิด พูด ทำ ทำกิจกรรมการงาน พากเพียร มีสติ และปฏิบัติอย่างตั้งมั่นให้ถูกต้อง แบบนี้แหละพ้นทุกข์ชัดเจนเปรียบเทียบเป็นนักวิทยาศาสตร์ทุกปัจจุบันเลย คิดแบบไหนผลเป็นอย่างไร เน้นที่จิตเป็นหลัก ใจที่เป็นทุกข์เป็นวิบากใหม่ กำจัดได้กายกับเรื่องร้ายก็ดีขึ้น ส่วนที่ยังเหลือก็มาจากวิบากเก่า สามารถแยกวิบากใหม่ วิบากเก่าได้ อ่านอาการไม่เบิกบานใจใจแล้วตามหาเหตุให้เจอ แล้วพิจารณาไตรลักษณ์ของกิเลส กำจัดกิเลสได้ก็พ้นทุกข์ เปรียบเทียบได้ระหว่างทุกข์กับพ้นทุกข์ ก็เลือกเอาพ้นทุกข์ ทำไปทีละเรื่อง พ้นทุกข์ทีละเรื่อง
21 เมษายน 2564
สรุปสาระธรรมจากรายการธรรมะพาพ้นทุกข์
โดย ดร.ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว)
ประธานมูลนิธิแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย
ณ ดอยแพงค่า พุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ
ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ฟังเรื่องเต็มได้ที่ youtube หมอเขียวทีวี https://www.youtube.com/watch?v=ZwBS3mxAEWU
ศีลที่ละเอียดขึ้นคือศีลทุกข้อ คือ ไม่เบียดเบียนตัวเอง คนอื่น สัตว์อื่น จนถึงในใจเลย ใจเป็นทุกข์บาปที่สุดในโลก เป็นวิบากร้ายที่ทำให้เกิดวิบากร้ายอื่น ๆ สืบเนื่องไป