ผักพาย
ตามหลักการแพทย์วิถีรรมเป็นผักฤทธิ์ร้อน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ผักพายเป็นไม้น้ำ ชอบพื้นที่ชื้นแฉะ พบได้บริเวณนาข้าว และพื้นที่ที่มีน้ำขัง เช่น คูน้ำ หนองน้ำ สระ ห้วย ผักพายเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นเหง้า จมอยู่ในโคลน มีไหลสั้นๆ จำนวนมาก มีใบเดี่ยวรูปร่างกลมรี ก้านใบสีเขียวอ่อน เป็นเหลี่ยม อวบน้ำ เมื่อหักก้านจะมียางสีขาว ซึมออกมา ใบคล้ายตาลปัตร ดอกออกเป็นช่อสีเหลือง
การปลูก
ตัดเอาเฉพาะส่วนราก ลงปลูกบริเวณที่มีน้ำขัง ห่างกันประมาณหนึ่งศอก เป็นผักโตง่ายแค่ตัดยอดลงปลูกก็แทงยอดได้แล้ว
ประโยชน์/การนำไปใช้
ผักพาย มีรสขมเล็กน้อย ผักที่มีรสขมทุกชนิด ตามหลักการแพทย์วิถีธรรมเป็นผักฤทธิ์ร้อน เป็นฤทธิ์ร้อนดับร้อน ช่วยให้เจริญอาหาร ป้องกันไข้หัวลม ลดไข้
ต้นอ่อน ก้านใบอ่อนและดอกอ่อน สามารถรับประทานเป็นผักสด แกล้มกับ ส้มตำ น้ำพริก และยังทำเป็นผักสุกโดยการลวกหรือย่าง นำมาทำเป็นลาบ ยำ หรือผัด ทำให้รสชาติดีรับประทานได้ง่ายขึ้น
ชื่อพื้นถิ่น
ภาคเหนือ บัวกวั๊ก บัวลอย (แม่ฮ่องสอน)
ภาคอีสาน ผักพาย ผักตบใบพาย คันจ่อง (ขอนแก่น) ผักคันจอง (อุดรธานี)
ภาคกลาง ตาลปัตรฤาษี ตาลปัตรยายชี นางกวัก ผักตะบัน ผักพายใหญ่
ภาคใต้ บอนจีน (ปัตตานี)
ติดตามขั้นตอนการปลูกผักพายเพิ่มเติมได้ที่ facebook แปลงเกษตรพอเพียงจิตอาสาหมอเขียว ตาม link ด้านล่าง
https://www.facebook.com/groups/1627870050835020/permalink/2745879489034065/