ใบข้าวมีฤทธิ์เย็นและฤทธิ์ร้อน ขี้นอยู่กับข้าวที่ใช้
ข้าว เป็นเมล็ดของพืชหญ้า Oryza sativa (ชื่อสามัญ: ข้าวเอเชีย) ที่พบมากในทวีปเอเชีย ข้าวเป็นธัญพืชซึ่งประชากรโลกบริโภคเป็นอาหารสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย จากข้อมูลเมื่อปี 2553 ข้าวเป็นธัญพืชซึ่งมีการปลูกมากที่สุดเป็นอันดับสามทั่วโลก รองจากข้าวสาลีและข้าวโพด ข้าวมีสารอาหารเกือบครบ หรือ พอเพียง
จากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของน้ำคั้นใบข้าวพันธุ์ไทยเปรียบเทียบกับน้ำคั้นใบข้าวสาลีที่จำหน่ายในท้องตลาด พบว่าน้ำคั้นจากใบข้าวทุกพันธุ์ที่นำมาศึกษา คือ หอมมะลิ 105 สุพรรณบุรี 1 หางทับทิม ข้าวเหนียวดำ ข้าวเหนียวขาว และข้าวสาลี มีสภาวะเป็นกรดอย่างอ่อน มีค่าพีเอชอยู่ในช่วง 5.8-6.2 โดยน้ำคั้นใบข้าวสาลีมีปริมาณคลอโรฟิลสูงกว่าน้ำคั้นจากใบข้าวเจ้าและข้าวเหนียวถึง 6 เท่า คือ มีปริมาณ 638 mg/L และมีปริมาณแคลเซียม 67 mg/L ซึ่งสูงกว่าข้าวเจ้าและข้าวเหนียวถึง 3 เท่า ส่วนปริมาณของธาตุแมกนีเซียมนั้นพบว่าน้ำคั้นจากใบข้าวเจ้าและข้าวเหนียวมีปริมาณแมกนีเซียมสูงกว่าน้ำคั้นจากใบข้าวสาลี โดยน้ำคั้นใบข้าวหอมมะลิ มีปริมาณธาตุแมกนีเซียมและเหล็กสูงที่สุด คือ 677 mg/L และ 20 mg/L ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวพันธุ์อื่น ๆ การตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ (Total Antioxidant Capacity) พบมีปริมาณสูงที่สุดในน้ำคั้นจากต้นกล้าข้าวหางทับทิม (150 mmol/L) รองลงมา คือ ข้าวสุพรรณบุรี 1 ข้าวหอมมะลิ 105 และข้าวเหนียวดำ ตามลำดับ
วิธีใช้
- ควรใช้ใบข้าวไร้สารพิษ : ข้าวมีสารอาหารเกือบครบ หรือ พอเพียง สามารถใช้จากข้าวที่เราปลูกเองพันธุ์พื้นเมือง เพราะมีคุณสมบัติที่ แกร่ง อดทน มีภูมิต้านทานต่อโรคสูง
- อายุ 2 สัปดาห์จนถึงก่อนออกรวง
- ฤทธิ์เย็น ได้แก่ ข้าวจ้าว (ข้าวจ้าวพันธุ์สีเข้ม เช่น น้ำตาล แดง ดำ จะมีฤทธิ์ร้อนมากว่าพันธุ์สีเหลือง)
- ฤทธิ์ร้อน ได้แก่ ข้าวเหนียว ข้าวสีแดง ข้าวสีดำ
สรรพคุณของใบข้าว
- มีฤทธิ์เย็น ช่วยปรับสมดุลเมื่อมีอาการร้อนเกิน
- ลดไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ
- แก้คัดจมูก น้ำมูกไหล
- ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย
- ขับพิษในร่างกาย
- ปรับสมดุลร้อน-เย็น
- เพิ่มภูมิต้านทาน