ข้าวโพดมีฤทธิ์เย็น
ชื่ออื่น ๆ ข้าวสาลี สาลี (เหนือ) คง (กระบี่) โพด (ใต้) บือเคเส่ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ยาฆง (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) เป็นพืชตระกูลเดียวกับหญ้ามีลำต้นสูง โดยเฉลี่ย 2.2 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 0.5-2.0 นิ้ว เมล็ดจากฝักใช้เป็นอาหารคนและสัตว์
สรรพคุณ
- ซัง ใช้ที่แห้งแล้วประมาณ 10-12 กรัม นำมาต้มน้ำกินหรือเอามาเผาเป็นถ่านผสมกับน้ำกิน มีรสชุ่ม บำรุงม้าม ขับปัสสาวะ รักษาบวมน้ำ รักษาบิดและท้องร่วง ใช้ภายนอกเผาเป็นเถาบด ผสมใช้น้ำทา
- ผล ใช้ทำแป้งข้าวโพด เมื่อเปียกจะเป็นอาหารที่ดีสำหรับคนฟื้นไข้ เนื่องจากเป็นแป้งที่ย่อยง่าย
- ฝอยข้าวโพดเป็นยาขับปัสสาวะ และทำให้เยื่อบุภายในชุ่มชื้น เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง ใช้แก้ขัดเบาในผู้ที่เป็นโรคหนองใน น้ำมันใช้ประกอบอาหาร เป็นตัวทำละลายของ ergosterol
- เมล็ด ใช้ต้มกินหรือจะบดเป็นแป้งเอามาทำขนมกัน ใช้บำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมาน บำรุงหัวใจ ปอด ทำให้เจริญอาหาร มีรสชุ่ม ไม่มีพิษ สามารถใช้ต้มรับประทานมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ และใช้พอกแผลเพื่อทำให้เยื่ออ่อนนุ่มไม่ให้เกิดอาการระคายเคือง
- ต้นและใบ ใช้จำนวนพอสมควรจะใช้สดหรือแห้ง นำมาต้มน้ำกิน รักษาโรคนิ่ว
- ยอดเกสรตัวเมีย (ไหมข้าวโพด) ใช้แห้งประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มน้ำกินหรือเผาเป็นเถา บด ผสมกิน หรือใช้ภายนอก ใช้สูบหรือรมควัน มีรสชุ่ม ช่วยขับปัสสาวะขับน้ำดี บำรุงตับ รักษาตับอักเสบเป็นดีซ่าน ไตอักเสบบวมน้ำ ความดันเลือดสูง นิ่วในถุงน้ำดี อาเจียนเป็นเลือด เบาหวาน โพรงจมูกอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ ฝีหลายหัวที่เต้านม เลือดกำเดาอักเสบ
- ราก ใช้แห้งประมาณ 60-120 กรัม นำมาต้มน้ำกิน รักษานิ่ว และอาเจียนเป็นเลือด สามารถขับปัสสาวะได้
แหล่งข้อมูล
- เว็บไซต์วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี “ข้าวโพด” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: th.wikipedia.org/wiki/ข้าวโพด
- เว็บไซต์โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน) “ข้อมูลของข้าวโพด” อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์) [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th