รูปโดย Seth Vidal – originally posted to Flickr as muskmelon, CC BY-SA 2.0
แตงไทยมีฤทธิ์เย็น
ลักษณะทางพฤกษ์ศาสตร์
ตงไทยป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นเถาเลื้อย มีขนอ่อน ปกคลุมตลอดทั้งลำต้นและใบ ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอกสีเหลือง มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ผลมีขนาดค่อนข้างใหญ่ รูปร่างกลมยาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 12-15 ซม. ยาว 20-25 ซม. ผลอ่อนสีเขียวและมีลายสีขาวพาดยาว เมื่อผลแก่เปลือกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผิวเรียบเป็นมัน เนื้อในผลสีเหลืองอ่อนอมเขียว กลิ่นหอม มีเมล็ดรูปแบนรี สีครีมจำนวนมาก แตงไทยให้ผลผลิตในช่วงหน้าร้อน สามารถปลูกได้ทุกภาคทั่วประเทศไทย
สรรพคุณของแตงไทย
ผลอ่อนของแตงไทยนำมากินเป็นผักสดจิ้มน้ำพริกหรือนำไปดอง ผลสุกมีรสจืดหรืออมหวานเล็กน้อย เนื้อซุย ชุ่มน้ำ กลิ่นหอม นิยมกินสดหรือทำของหวาน เช่น น้ำกะทิแตงไทย และทำน้ำปั่น ทำเป็นผลไม้แห้งได้ บางพันธุ์ปลูกเพื่อนำเมล็ดไปสกัดน้ำมัน บางชนิดปลูกเพื่อต้องการนำกลิ่นหอมไปใช้ประโยชน์
แตงไทยมีคาร์โบไฮเดรด แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามินซี เนื้อมีฤทธิ์เย็น
- ช่วยคลายร้อน ขับเหงื่อ ลดอุณหภูมิของร่างกาย
- มีส่วนในการช่วยบำรุงหัวใจ
- ช่วยบำรุงประสาทและสมอง
- วิตามินเอจากแตงไทยมีส่วนช่วยบำรุงรักษาสายตา
- ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ
- ช่วยดับกระหาย
- แก้เลือดกำเดาไหล
- ดอกอ่อนตากแห้งต้มดื่มช่วยให้อาเจียน แก้โรคดีซ่าน หรือบดเป็นผงพ่นแก้แผลในจมูก
- เมล็ดแก่ช่วยในการขับปัสสาวะ ช่วยย่อยอาหาร แก้ไอ
- รากต้มดื่มช่วยระบายท้อง