ดาวน์โหลดเอกสารใบสมัคพรรคสัมมาธิปไตย กดที่นี่  ดูขั้นตอนการสมัคร กดที่นี่ 

ดาวน์โหลดเอกสารลงชื่อคัดค้านกาสิโนถูกกฎหมาย และไม่เห็นด้วยกับการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร กดที่นี่  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ที่นี่

ฉันทะ ๘ ชั้นคืออะไร

ฉันทะ 8 ชั้น อธิบายธรรม โดย ดร.ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว)

ธรรมทั้งหลายมีฉันทะเป็นมูล

ความต่างระหว่างฉันทะกับความอยาก

ฉันทะความพอใจ ความยินดี มีทั้งในชั่วและในดี เช่นนิวรณ์ ๕ ข้อแรกคือ กามฉันทะ ความพอใจมีความยินดีในกาม เป็นอวิชชา เป็นบาป เป็นชั่ว ทุกข์ ฉันทะในดี เช่น อิทธิบาท ๔ เป็นฉันทะในพุทธะ

ความอยาก คนที่มีความพอใจในเรื่องใด ๆ ก็จะมีความอยาก โดยมีความสุข คุณค่า ประโยชน์ ความสำคัญ เป็นต้นเป็นเค้า เป็นรากฐานใครรู้สึกว่าอะไรเป็นสุข มีความสำคัญ มีคุณค่ามีประโยชน์ จะพอใจในสิ่งนั้นมาก่อน เมื่อยินดีพอใจก็จะมีความอยากได้ตามที่ตัวเองพอใจไม่ว่าจะด้านชั่ว ด้านดี ด้านพ้นทุกข์ ก็จะอยากได้ตามที่ตัวเองพอใจสืบเนื่องกันไปต่อเนื่องกันเป็นลำดับ ๆ ใกล้เคียงกันมาก พอใจปุ๊บ จะอยากทันทีแทบจะเป็นอันเดียวกัน จะอนุโลมว่าเป็นอันเดียวกันก็ได้

ฉันทะ ๘ ชั้น

๑. ฉันทะในชั่ว แบบมีทุกข์ มีสุขลวง สุขลิกะในชั่วปน อยากได้อยากเสพในสิ่งที่เป็นโทษภัย ควรลด ละ เลิก ตัดไปเลย (กามภพ)

๒. ฉันทะในดี แบบมีทุกข์ ที่มีสุขลวงทุกข์จริงปนอยู่ (กามภพ) ถ้าดีเกิดจะสุขใจ ดีไม่เกิดจะทุกข์ใจ ถ้ามาแช่อยู่ตรงนี้ก็ทุกข์ ดีในงาน ดีในคนดี ในเหตุการณ์ มีฉันทะที่จะให้เกิดดี แต่มีสุขลวงทุกข์จริงซ่อนอยู่ มาแช่อยู่แค่นี้ชีวิตไม่พ้นทุกข์ ชาวแพทย์วิถีธรรมแช่อยู่ตรงนี้เยอะ เพราะมีดีให้เสพเยอะ ดีในการงาน ดีในเหตุการณ์ก็มีให้เสพเยอะ แล้วคนหลงว่าอันนี้เป็นดีในพุทธะเยอะ ทำดีไม่เอาอะไรเลย เงินทอง รอยยิ้ม คำขอบคุณก็ไม่เอา เพียงแค่เกิดดีไม่ได้จะไม่สบายใจเท่านั้นเอง กิเลสบอกว่าเราไม่เอาอะไร ตกลงก็เอาดีนั้นแหละมาเสพ กิเลสมันเนียน คนจึงเข้าใจว่าตัวเองเป็นพุทธะ บางท่านมีความพอใจมากที่จะได้ฟังธรรม พอใจที่จะได้เข้ารายการอริยสัจขจัดมาร เราทบทวนธรรมตลอด แต่มีเหตุปัจจัยให้เข้าซูม (Zoom) ไม่ได้ เข้ารายการไม่ได้ ก็ทุกข์ใจ เราก็เข้าใจว่าเราเป็นพุทธะ พุทธะต้องมีฉันทะอย่างนี้ ได้เข้ารายการได้สนทนาธรรม พุทธะต้องเป็นอย่างนี้แหละ เหมือนพุทธะ แต่ไม่ใช่พุทธะ มีกิเลสแทรกเพราะมีทุกข์ พุทธะคือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานไม่ใช่ผู้ไม่รู้ ผู้ทุกข์ ผู้เบิกบูด สิ่งใดที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นจะไม่ทุกข์เป็นไม่มี แม้แต่การฟังธรรมก็ยึดไม่ได้

ขั้นสามหนักที่สุด ยากที่สุด คนจะดื้อสุด สอนยากสุดอยู่ตรงนี้ แต่เขาคิดว่าเขาพ้นทุกข์แล้ว วันที่ไม่ได้ก็รอให้หมดวิบาก หมดวิบากเมื่อไหร่ ก็จะเอาให้ได้ดั่งใจหมาย ตั้งความหวังว่าสักวันวิบากหมดก็จะได้ หรือออกจากหมู่ไปเพื่อให้ได้ดั่งใจหมาย จะพ้นทุกข์ไหม? ไม่พ้นนะจะพ้นทุกข์ต้องกำจัดทุกข์

๓. ฉันทะในการหยุดทุกข์ในชั่ว หมดทุกข์ หมดชั่ว ดับสุขลวงทุกข์จริงในชั่ว ได้สุขจริงได้อาศัย ยินดีที่ได้สุขจริงเพราะเราพ้นสุขลวงในชั่ว

๔. ฉันทะในการหยุดทุกข์ในดี หมดกามในดี หมดสุขหมดทุกข์ในดี อุเบกขา จะมาสู่ชั้นที่ ๔ ชั้นพ้นทุกข์จากดีให้ตรวจสอบว่า ดีนั้น มีคุณค่า มีประโยชน์ มีความสำคัญ แล้วดีนั้นไม่เกิดดั่งใจหมายยังทุกข์อยู่ ก็ยังไม่พ้นชั้นสาม ชาวแพทย์วิถีธรรมติดชั้นนี้เยอะ มันหวานหอม ดีหลายเหลี่ยมหลายมุม น่าได้ น่าเป็น น่ามี แล้วดีนั้นก็ทำได้ด้วย ก็หลงว่าตัวเองเป็นพุทธะ เพราะเรามาเสียสละ เราไม่เอาอะไร เราพุทธะเต็มร้อยขอให้ดีเกิด หลงว่านี่เราเป็นพุทธะสูงสุด จะตรวจสอบได้ ก็ตอนที่ไม่ได้ดั่งใจหมายแล้วทุกข์ใจ ไม่สบายใจ ไม่ชอบใจ ก็จะรู้ได้ โดยมีสองอย่าง

  • หนึ่ง ใช้ชีวิตปกติไปเดี๋ยวก็มีเหตุการณ์มากระแทกให้ดีไม่เกิดดั่งใจหมาย ทุกขอริยสัจจะ คือ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นจะเห็นทุกขอริยสัจได้จากการไม่ได้ดั่งใจหมาย คนที่เป็นเทวดาได้ดั่งใจหมายตลอดจะไม่เห็นทุกข์หรอก ถ้าเรากินของอร่อยตลอดได้ดั่งใจทุกวันจะไม่เห็นทุกข์ กินเข้าไป ไม่เห็นหรอก จะเห็นตอนป่วย ตอนมีเรื่องร้าย หรือตอนไม่ได้กินนั่นแหล่ะ คนเราได้ดั่งใจหมายตลอด ยังแข็งแรงดีอยู่ มีเหตุการณ์ดี ๆ เข้ามาในชีวิตอยู่ ยังมีกินอยู่ ไม่เห็นทุกข์หรอก พอป่วย ไม่สบาย มีเรื่องร้าย ไม่มีให้กิน ถึงจะเห็นทุกข์
  • สอง เรื่องดีก็เหมือนกันถ้าเราได้รับสิ่งดีไปตลอด อยากทำดีอะไรก็ได้ทำ อยากได้รับผลดีอะไรก็ได้รับ จะไม่เห็นทุกข์หรอก นี่ไม่ใช่วิธีพ้นทุกข์ วิธีจะให้เห็นทุกข์ไม่ใช่ได้สมใจตลอด ทุกขอริยสัจ คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ก็เป็นทุกข์ ประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพรัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ จะเห็นทุกขอริยสัจเมื่อไม่ได้สมอยาก ปรารถนาสิ่งได้ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นจะให้เห็นทุกข์ต้องไม่ได้ในสิ่งที่ปรารถนา

    พระพุทธเจ้าจึงให้ตั้งศีลมาลด ละ เลิก ในสิ่งนั้น ๆ อยากรู้ว่าเราทุกข์ในเรื่องนั้น ๆ หรือเปล่า ลองตั้งศีลมาเลิกสิ่งนั้นดูว่า ไม่ได้สิ่งนั้นจะทุกข์ไหม ถ้าไม่ได้สิ่งนั้นแล้วทุกข์ก็ยังมีกิเลสอยู่ ถ้าไม่ทุกข์ก็ไม่ทุกข์ อยากเห็นทุกข์ในดีเร็ว ก็พยายามเข้าหมู่มิตรดี ใช้มติหมู่ เพราะเมื่อเราเสนอความคิดกับหมู่เยอะ ๆ คนเยอะ ๆ มีโอกาสที่จะไม่ได้ตามเราเยอะ เพราะความคิดเห็นว่าจะทำอะไรดีในหมู่จะต่างกันเยอะ เมื่อไม่ได้ตามใจ ถ้าเรามีกิเลสก็จะยังทุกข์อยู่ ก็ได้เห็นทุกข์ ก็จะได้พากเพียรกำจัดทุกข์ในใจที่ไม่ได้ดั่งใจหมาย ก็จะได้มีปัญญา

ประโยชน์สูงสุดของอปริหานิยธรรมคือ

(การทำงานเป็นหมู่) ได้เห็นทุกข์เร็ว ได้ล้างทุกข์เร็ว เห็นทุกข์ช้า ล้างทุกข์ช้า ล้างทุกข์ยาก ยิ่งทุกข์แรงเท่านั้น ๆ ยิ่งทำงานคนเดียวก็ยิ่งเอาแต่ใจตัวเอง คิดว่าอะไรดีได้ทำดั่งใจหมายชื่นใจ การติดดีดั่งใจหมายก็มากขึ้น ๆ แล้วมันดีจริง ๆ ก็น่าชื่นใจ จะไปเข้าใจว่ามันไม่ดีก็ไม่ได้ เราก็ไม่เอาอะไร เสียสละเพื่อส่วนรวมฟรี ๆ เพื่อมนุษยชาติ ไม่มีโลกธรรม รอยยิ้มคำขอบคุณก็ไม่เอา แค่ให้ดีเกิดก็จะสุขใจ ดีไม่เกิดจะทุกข์ใจ เรายังเอาดีอยู่ เอาทุกข์อยู่ คิดว่าตัวเองเอาสุขไม่เอาทุกข์นะ จริง ๆ ยังเอาทุกข์อยู่นะ ยังหลงอยู่ แล้วเอาสุข สุขนั้นก็ไม่ยั่งยืน แต่ทุกข์ยั่งยืน หลงสุขอยู่ก็หลงทุกข์ตลอดกาล แต่ก็หลงว่านั้นสุขที่สุดในโลก ยิ่งเก่งยิ่งมีบารมีด้านโลกียะ ก็ทำดีดั่งใจหมายได้ ใครจะสอนให้พ้นทุกข์ได้? อาจารย์ก็ไม่บังอาจสอนให้เขาพ้นทุกข์ พวกเทวดายังเป็นเทวดาอยู่อย่าคิดว่าจะพาเขาพ้นทุกข์ได้

อขณะอสมัยประพฤติพรหมจรรย์ ๙ (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ ข้อ ๓๕๔) แม้มีพระพุทธเจ้ามาสอนก็ไม่มีทางพ้นทุกข์ได้
(*พรหมจรรย์ คือ เข้าสู่ยินดีในอุเบกขาได้)

๑. ผู้เข้าถึงนรก (ภาวะเร่าร้อนใจ) สอนไม่ได้ต้องให้สติดีก่อน

๒. ผู้เข้าถึงกำเนินสัตว์เดรัจฉาน (ภาวะมืดมัวโง่เขลา) โง่ทางธรรมพูดกันไม่รู้เรื่อง

๓. ผู้เข้าถึงลักษณะแห่งเปรต (ภาวะโลภหิวกระหาย)

๔. ผู้เข้าถึงอสูรกาย (ภาวะขาดกลัว) พวกขี้กลัวหนัก ๆ แบบสุดก็ช่วยไม่ได้ กลัวในสิ่งที่ดี ทั้งดีโลกียะโลกุตระ แต่เรื่องชั่วไม่กลัว พวกนี้ช่วยยาก

**๕. ผู้เข้าถึงเทพ (ภาวะติดสุข) ที่มีอายุยืน ชีวิตได้ดั่งใจตลอด ๆ ไม่ต้องไปสอนเพราะไม่เห็นทุกข์ เพราะเขารู้สึกตลอด จนกว่าวิบากจะเล่นงานถึงจะได้ดั่งใจหมาย จึงจะทุกข์ พระพุทธเจ้ากวาดทิ้งเลยไม่สอนเลย

๖. ผู้เกิดในปัจจันติมชนบท (ถิ่นเถื่อนสุดเขตแดน) เป็นพวกคนป่าเถื่อน โง่เขลา ไร้ที่ไป ไร้แบบอย่างของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไม่มีตัวอย่างที่ดี มีแต่ตัวอย่างที่เลว

๗. ผู้เกิดในมัชฌิมชนบท (ถิ่นเจริญในส่วนกลาง) มิจฉาทิฏฐิ

๘. ผู้เกิดในมัชฌิมชนบท (ถิ่นที่เจริญ) แต่เป็นคนโง่เซอะซะ เป็นคนใบ้ ไม่สามารถรู้เนื้อความแห่งสุภาษิต และทุพาษิตได้ แยกไม่ได้ตัวเองโง่ทั้งที่อยู่ในแดนพุทธะ

๙. มิได้มีผู้แสดงธรรมอันพระสุคตประกาศไว้ ดังนั้นผู้เกิดในถิ่นที่เจริญ แม้เป็นคนมีปัญญา ไม่เป็นใบ้ สามารถรู้เนื้อความแห่งสุภาษิต แต่นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยเพื่อประพฤติพรหรมจรรย์ แม้เป็นคนมีปัญญาถ้าได้ฟังก็จะพ้นทุกข์ แต่เมื่อไม่มีพระสุคตมาแสดงธรรม ก็ไม่พ้นทุกข์

**ชาวแพทย์วิถีธรรมจะติดอยู่ในข้อ ๕ (ผู้เข้าถึงเทพ ภาวะติดสุข) เยอะ ได้ดั่งใจตลอด ๆ สอนไม่ได้ อาจจะติดบางเรื่อง ยึดอยากไม่เปลี่ยนอยู่อย่างนั้นก็ทุกข์อยู่อย่างนั้น ติดยึดตรงนี้อยู่ก็ก้าวข้ามไม่ได้ จะไม่ได้ดั่งใจหมาย ให้ทำสามข้อ

๑. ใช้อปริหานิยธรรม พยายามทำงานกับหมู่ อย่าใช้ความคิดตัวเอง ได้ตามความคิดตัวเองก็ไม่เห็นทุกข์

๒. ตรวจใจตัวเอง ถามตัวเอง ว่าถ้าไม่ได้ดั่งใจหมายเรื่องไหน ๆ จะทุกข์ไหม? ลองพยายามสมมุติเหตุการณ์ว่า ถ้าไม่ได้ดั่งใจหมายจะทุกข์ไหม? หรือ

๓. รออกหัก ช้าหน่อยแต่ถึงแน่ ๆ รอนรก รอทุกข์ รอวิบากร้ายแทรก จะทุกข์หนัก ทุกข์แรง เพราะได้ดั่งใจไปเยอะ จะจุก สติแตก เป็นบ้าก็มี ป่วยหนักก็มี ตอนนั้นจะรู้ยากด้วย เพราะใจไม่อยากเลิกสิ่งนั้น จะดิ่ง ๆ ไป จะเอา คิดว่าได้ดั่งใจหมายจะสุขใจ ยิ่งถ้ามีคนมาขวางจะเพ่งโทษถือสา ไม่ชอบใจ ดูถูก ดูหมิ่นดูแคลน ยิ่งถ้าคนนั้นเป็นอริยะจะซวยเลย นี่เป็นหลุมพรางบนทางพุทธ ที่คนส่วนใหญ่มาตกอยู่ตรงนี้

แม้ทางนี้ก็เถอะ พญามารมักลวงให้หลงทางได้เสมอ มันลวงอยู่ตรงนี้นานไม่รู้กี่ล้าน ๆ ชาติ หนักที่สุด ดื้อด้านที่สุด หน้ามืดที่สุด อยู่ตรงนี้ เพราะคนคิดว่าตรงนี้ดีสุดแล้ว ยังไม่ดีสุด ยังทุกข์หนักอยู่

ถ้าไม่ได้พบสัตตบุรุษ ไม่ได้ปฏิบัติอย่างถูกตรงมาก่อนก็ยังทุกข์อยู่ มีแต่รอให้วิบากหมดแล้วคิดว่าสักวันก็คงได้ดั่งใจหมาย หรือมีอำนาจก็จะเอาให้ได้บังคับเอาให้ได้ดั่งใจหมาย ถ้าไม่มีฤทธิ์ไม่มีอำนาจก็อดทนเอา หรือออกจากหมู่ไปทำให้ได้ดั่งใจหมาย แต่ถ้ารู้สึกว่าออกไปแล้วทำไม่ได้ดั่งใจหมายก็อดทนรอคอยว่า สักวันวิบากหมดก็คงได้ ๆ ก็ตั้งความหวังไว้กี่ล้านชาตก็จะรอ จะสดชื่นไหม จะพ้นทุกข์ไหม? ไม่พ้นทุกข์

จะพ้นทุกข์ได้ก็ต้องกำจัดทุกข์ กำจัดความอยาก แม้ดีอันนี้ แม้ไม่ได้ไม่ทุกข์ได้ไหม? แม้ไม่ได้ยินดีได้ไหม? เมื่อเห็นทุกข์ในดี ยังไม่ใช่พุทธะนะ ดีที่มีทุกข์ยังไม่สูงสุดนะ ยังมีดีกว่านี้ กำจัดสุขลวง ทุกข์จริงในดีได้ ยินดีที่เห็นทุกข์ในสุขลวง ไม่ใช่ยินดีที่ดีไม่เกิด แต่ยินดีที่เราไม่ทุกข์แม้ดีนั้นไม่เกิด ยินดีในอุเบกขา หมดสุข หมดทุกข์ในดี เป็นกลาง ๆ ทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ล้างทุกข์ในดีได้ นี่คือชั้นที่ ๔ พอใจที่จะหมดทุกข์ในดี พิจารณาโทษของทุกข์ในดี พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีสุขลวงทุกข์จริงในดี แล้วเข้าถึงประโยชน์นั้น เราก็ยินดีได้ นี้เป็นฉันทะชั้นที่ ๔ ถ้าคนไม่มีปัญญาว่าชั้นที่ ๔ ดีกว่าจะไม่เข้าสู่ฉันทะชั้นที่ ๔ นี้

๕. ฉันทะในการทำดีที่ทำได้ รับผลดีที่ทำได้ เมื่อมีโอกาสที่จะได้รับผลดีนั้นได้ พอใจที่จะได้รับผลดี พอใจที่จะทำ พอใจที่จะอาศัยผล พอใจที่จะทำดีนั้น เมื่อเหตุปัจจัยเอื้อให้ทำ เป็นโควต้าของเราและคนที่เกี่ยวข้องให้ได้อาศัยก่อนที่ทุกอย่างจะดับไป

๖. ฉันทะในการหยุดดี หยุดอยากทำดี หยุดทำดีที่ทำไม่ได้ เพราะไม่ใช่กุศลของเรา ไม่ทุกข์แม้ดีไม่เกิด หยุดทำในสิ่งที่ดีที่ทำไม่ได้ หยุดอยากได้ผลดีที่เป็นไปไม่ได้ มีความพอใจที่จะไม่ได้ผลดีที่เป็นไปไม่ได้ พอใจที่จะหยุดดีที่เป็นกิลมถะ ดีที่ไม่ใช่โค้วต้าของเราและคนที่เกี่ยวข้อง เราก็ไม่เอาดีที่ไม่ใช่ของเราและของคนที่เกี่ยวข้อง ยินดีที่หยุดอยาก พอใจ มีฉันทะที่จะหยุดอยากทำดีที่ทำไม่ได้ หยุดอยากได้ดีที่ทำไม่ได้

๗. ฉันทะในการเอาประโยชน์ได้ทุกเรื่อง เอาประโยชน์ได้ทุกเรื่อง เพราะเข้าใจเรื่องกรรมแจ่มแจ้ง ยินดีรับ ยินดีอาศัยทั้งสองด้าน

๘. ฉันทะในการอุเบกขา ยินดีในอุเบกขา พอเราล้างกิเลสหยาบกามภพได้ จนถึงรูปภพ อรูปภพ จนพ้นทุกข์ ก็มีพี่น้องถามอาจารย์ว่า ระหว่างสัญญา ความจำเดิม ที่หมดกิเลสแล้ว กับอรูปภพต่างกันอย่างไร? อรูปภพหรืออาสวะที่ยังติดอยู่ เหมือนจะมีเหมือนจะไม่มี ถ้าแยกไม่ออกจะได้เจโตวิมุติ ยังไม่อรหันต์ เวียนกลับได้ ความต่างคือ ถ้ามีกิเลสเหลือเล็ก ๆ อาการในใจยังมีความลำบากอยู่ มีความทรมานอยู่ มีความหวั่นไหวในเรื่องนั้น ๆ อยู่ เวลาเรากำจัดกิเลสตัวนั้นได้ จะมีความโปร่งโล่งขึ้นเยอะเลย ต่างกันมาก ร่างกายเรื่องดีเพิ่มขึ้นอีกเยอะ

แม้พระพุทธเจ้ายังมีสุขลวงยึกยักเข้ามา แต่พระพุทธเจ้าก็ว่า มีเธอนั่นแหละทุกข์ ไม่มีเธอพ้นทุกข์ บางทีไม่ทันได้ขยายความเลย กิเลสไปแล้ว ปราบไม่ยาก มาทีไรแพ้เราทุกที เพราะปัญญาเราดี ไม่มีวิบากร้าย นี้คือสัญญาเดิมที่ไม่มีกิเลส พอเรากำจัดความจำได้ จะไม่มีความต่าง จะรู้สึกเหมือนเดิมไม่มีวิบากร้ายที่หายไป เพราะไม่มีมันไม่ใช่กิเลส

ถ้าเราชนะเรื่องนั้นแล้ว ชนะทุกที แต่ยังรู้สึก ละอายเพราะยังรู้สึกยึกยัก ๆ อยู่ รู้สึกละอาย รำคาญ กังวล หม่นหมอง ๆ ว่าทำไมมันไม่หมดซะที นี้เป็นเจโตวิมุติพ้นแล้วแต่ไม่รู้ว่าตัวเองพ้น ยังไม่ได้ปัญญาวิมุติ เสียเวลามาขย้ำขี้ ก็หม่นหมองอยู่อย่างนั้น จบแล้วไม่รู้ว่าจบ

รายการธรรมะพาพ้นทุกข์
โดย ดร.ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว)
ประธานมูลนิธิแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย
ณ ดอยแพงค่า พุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ
ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

รับชมผ่าน:
1.YouTube หมอเขียวทีวี https://youtu.be/1V1itX1LseQ
2. Facebook หมอเขียว แฟนคลับ https://www.facebook.com/morkeawfansclub/videos/165313305486712/

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งสุขที่ได้ดั่งใจ มาเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ

ทิ้งสุขที่ได้ดั่งใจ มาเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ

https://youtu.be/VEdGDffwsGI อาจารย์ประทับใจพระพุทธเจ้า ชอบใจมากเลยธรรมะของพระองค์ท่านเนี่ยนะ ท่านตรัสไว้ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ข้อที่...

ความเจ็บป่วยที่หายช้าเพราะชีวิตทำชั่วมากกว่าดี

ความเจ็บป่วยที่หายช้าเพราะชีวิตทำชั่วมากกว่าดี

ชั่วมีมากกว่า ปวดฟันที่ยังหายเร็ว ปวดเหงือก ปวดฟันหายเร็วเลย ไม่ใช่หายง่าย ๆ หรอก ชั่วมากกว่าดี จะบอกให้ ต่อให้มียาดี หมอดี...

การปฏิบัติศีลให้ถูกตรงจะมีญาณปัญญา

การปฏิบัติศีลให้ถูกตรงจะมีญาณปัญญา

มีญาณปัญญาในการชำแรกกิเลส จะมีญาณปัญญาในการทำกิจกรรมการงานมากขึ้น จะสืบเนื่องกันไปเพื่อชำแรกกิเลสได้ จะมีเหตุปัจจัยให้เรามีญาณปัญญามากขึ้น...

พลังของการให้อภัย ที่มีคุณค่าต่อเราและผู้อื่น

พลังของการให้อภัย ที่มีคุณค่าต่อเราและผู้อื่น

จิตของเรา เมื่อเราพร่องเราพลาดไปแล้ว ถ้าเราได้รับการให้อภัยและได้รับโอกาสจากใคร ๆ โดยเฉพาะความพร่อง ความพลาดที่ร้ายแรงที่หนัก...

การปฏิบัติธรรมกับการทำกสิกรรมไร้สารพิษ

การปฏิบัติธรรมกับการทำกสิกรรมไร้สารพิษ

ความเป็นคนจนของเรา ความไม่มีอุปกรณ์ของเรา ไม่มีเครื่องกล ไม่มีอะไรช่วย ก็ทำให้เราได้มีความสามารถ มีศักยภาพ มีปัญญา ได้ใช้ปัญญา ใช้ความสามารถ...

กสิกรรมไร้สารพิษกับธรรมะ เกี่ยวกันอย่างไร

กสิกรรมไร้สารพิษกับธรรมะ เกี่ยวกันอย่างไร

เกี่ยวกันอย่างยิ่งเลย สัมพันธ์กันเป็นหนึ่งเดียวกัน หนุนกันไปหนุนกันมา ถ้าไม่มีกสิกรรมไร้สารพิษไม่มีทางมีสุขภาพที่ดีได้...

การตั้งศีลแบบละเอียดในเรื่องของอาหาร

การตั้งศีลแบบละเอียดในเรื่องของอาหาร

อาหารเป็นหนึ่งในโลก อาหาร 4 อาหารคือ เครื่องค้ำจุนชีวิต 1. กวฬิงการาหาร อาหารที่เป็นคำข้าวด้านรูปธรรม พึงกำหนดรู้ความยินดีในกามคุณ 2....

อริยสัจ 4 เป็นหัวใจสำคัญของความพ้นทุกข์ในชีวิต

อริยสัจ 4 เป็นหัวใจสำคัญของความพ้นทุกข์ในชีวิต

อาจารย์ว่าพวกเราก็ฝึกฝนกันไป ก็ตามที่พวกเราพี่น้องเราทำมากันเป็นลำดับ ๆ รายการอริยสัจ 4 นี่ก็เป็นหัวใจสำคัญของชีวิต อริยสัจ 4...

รวมคำถามคำตอบรายการสุขภาพดีวิถีธรรม ตอบปัญหาเพิ่มปัญญากับหมอเขียว

รายการสุขภาพดีกับแพทย์วิถีธรรม ตอบปัญหาเพิ่มปัญญากับหมอเขียว ออกอากาศเวลา 9:30 -11:30 น. ทุกวัน ทางหมอเขียวทีวี ทางทีมสื่อแพทย์วิถีธรรมได้จัดทำวิดีโอแยกแต่ละคำถาม เพื่อสะดวกในการสืบค้นต่อไป

สันติภาพ

สันติภาพ

แด่พี่น้องและเพื่อนร่วมโลกทั้งหลาย อาตมารู้สึกเป็นเกียรติอย่างเหลือประมาณ ที่คณะกรรมการแมนเฮ เล็งเห็นงานที่อาตมาทำมาทั้งชีวิต...

ธรรมะกับการทำนาแปลงเล็ก

ธรรมะกับการทำนาแปลงเล็ก

การทำนาแปลงเล็กเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติธรรมอย่างไร - ก็เริ่มตั้งแต่เราทำไร้สารพิษ เป็นการทำนาแบบมีศีล ไม่เบียดเบียนตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น -...

ให้ด้วยใจบริสุทธิ์ที่สุด เป็นวิบากดีที่สุดต่อทุกชีวิต

ให้ด้วยใจบริสุทธิ์ที่สุด เป็นวิบากดีที่สุดต่อทุกชีวิต

#ให้ด้วยใจบริสุทธิ์ที่สุด_เป็นวิบากดีที่สุดต่อทุกชีวิต คำถามขอสัมมาทิฎฐิจากอาจารย์หมอเขียว อยู่บ้านตอนติดโควิด...

ในโลกนี้ไม่มีอะไรดีเท่ากับธรรมะแท้ๆ

ในโลกนี้ไม่มีอะไรดีเท่ากับธรรมะแท้ๆ

ธรรมะแท้ๆ ที่ถ้าได้ทำให้ถูกตรงเป็นประโยชน์ตนประโยชน์ท่านมากที่สุดในโลก ในการดับทุกข์ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นสูงที่สุด...

ความสุขสบายใจไร้กังวล

ความสุขสบายใจไร้กังวล

ทำสมดุลร้อนเย็น เรียนรู้ให้ดีเถอะ นี้คือ ความสุขสบายใจไร้กังวล #พึ่งตนเองได้เป็นหลัก ทำให้ชีวิตไม่ลำบากมาก อยู่ได้โดยไม่กังวล...

เราทำดีอะไรได้ เราก็ทำ

เราทำดีอะไรได้ เราก็ทำ

ทำในสิ่งที่เราทำได้ ก็ช่วยกันไป เราทำดีให้ดีที่สุด เท่าที่เราทำได้ ให้ผลดีเกิดขึ้นได้ ให้โลกและเราได้อาศัย ก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะดับไป...

โทษของการคิดอกุศล

โทษของการคิดอกุศล

แค่แว๊ปเดียว แค่คิดในใจ นี้ยังไม่ออกมาทางกายวาจา แม้แค่คิดแค่ใจ มันยังหนัก มันก็มีแต่หนัก หนักมาก หนักมากที่สุด ญาณข้อที่ 4 พระโสดาบัน 7...

เหตุปัจจัย วิบากร้าย

เหตุปัจจัย วิบากร้าย

เหตุปัจจัย วิบากร้ายจัดสรร ให้ไปเจอหรือดึงเรื่องร้ายมาใส่ได้ทุกเรื่อง จากการผิดศีลในอดีตหรือปัจจุบันก็ตาม มันจะดึงเรื่องร้ายๆ...

ธรรมะพาพ้นทุกข์จากภัยโควิด 19

ธรรมะพาพ้นทุกข์จากภัยโควิด 19

พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะรักษาชีวิตก่อน สละได้ไหม สละการงานก่อนและเพื่อรักษาธรรม ด้วยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น...

วิธีที่สงบสบายแบบยั่งยืน คือ ต้องกำจัดกิเลสได้

วิธีที่สงบสบายแบบยั่งยืน คือ ต้องกำจัดกิเลสได้

ระหว่างความรู้สึก กินอร่อยๆ ทั้งวัน กับอิ่มสบายทั้งวัน อิ่มสบาย มันสบายกว่านะ ต่อให้มันอร่อย แต่ไม่อิ่มสักที หิวๆๆ กับอิ่มสบาย...

ความซวยของคนดีที่ไม่ลดกิเลส 2/2

ความซวยของคนดีที่ไม่ลดกิเลส 2/2

ความซวยของคนดีที่ไม่ลดกิเลส ต่อ #2/2 (จบ) เทวดาโลกียะ(สมมติเทพ) คนดีที่เต็มไปด้วยการเสพ โลกธรรม กาม อัตตา อบายมุข...

ความซวยของคนดีที่ไม่ลดกิเลส 1/2

ความซวยของคนดีที่ไม่ลดกิเลส 1/2

คนที่ทำชั่วมามากทำไมไม่รู้สึกผิด?? *ไฮไลท์ #คนก็หลงว่าโอ้โหมันได้ดีก็ไปทำตามกันตามกัน ก็ยิ่งเป็นบาปบาปซ้ำซ้อนเข้าไปอีก...

630418_ธรรมะพาพ้นทุกข์

630418_อาจารย์หมอเขียว ดร.ใจเพชร กล้าจน อาคารดอยฟ้า พุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ บ้านแม่เลา แม่แตง เชียงใหม่ 18 เมษายน 2563 13.00-15.00 น....

ลิงค์เสียงบรรยายค่ายพระไตรปิฎก ครั้งที่ 27

ลิงค์เสียงบรรยายค่ายพระไตรปิฎก ครั้งที่ 27

เสียงบรรยายของอ.หมอเขียว ค่ายพระไตรปิฎก ครั้งที่ ๒๗ ระหว่างวันที่ 26  ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2562 รุ่น ดับกิเลส ดับเครื่องกังวล 621026_1...

ผู้มีปัญญามาก  แม้ประสบทุกข์ก็หาสุขพบ

อ.หมอเขียว ยกเตสกุณชาดกที่ 1 ว่าด้วยนกตอบปัญหาพระราชา จาก พระไตรปิฎกเล่มที่ 27 ข้อที่ 2438-2444 โดยนำข้อที่ 2444 มาขยายความ...

ถ้าใครมีธรรมะ จะไม่หวั่นไหวในสถานการณ์โควิด 19

ถ้าใครมีธรรมะ จะไม่หวั่นไหวในสถานการณ์โควิด 19

อ.หมอเขียวยกศิริมันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ 27 ข้อที่ 2084-2089 โดยนำข้อ 2089 มาขยายความ คนมีปัญญาน้อยมีเหตุการณ์สุขหรือทุกข์ก็สร้างความหวั่นไหวให้กับตัวเองได้ ในช่วงท้ายอ.หมอเขียวแนะนำวิธีคิดที่ไม่ทุกข์ ในเหตุการณ์การระบาดของโควิด ไม่ว่าเราจะติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อ ซึ่งหลักการดังกล่าวสามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกเหตุการณ์ ทุกปัญหาในชีวิต

อ่านรายละเอียดที่
https://morkeaw.net/?p=3742&preview=true

Playlists-Youtube แนะนำแพทย์วิถีธรรมกับโควิด-19

#เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

ถึงวันนี้การระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงดำเนินไป ความกลัว ระแวง หวั่นไหวเพิ่มขึ้นทั่วโลก แพทย์วิถีธรรม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่าน และขอส่งลิงค์แนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักการแพทย์วิถีธรรม ให้ทุกท่านได้พิจารณา

3 สิ่งสำคัญที่สุดในโลกของชีวิต

3 สิ่งสำคัญที่สุดในโลกของชีวิต

ฟังเสียงอ.หมอเขียวกล่าวถึงเรื่อง 3 สิ่งสำคัญของชีวิต ที่เป็นหัวใจของความแข็งแรง มั่นคง มีคุณค่า และผาสุกที่สุดในโลก คือปัจจัย4 มิตรดี มีศีล

การปฎิบัติของพระโพธิสัตว์ยามพบภัย

การปฎิบัติของพระโพธิสัตว์ยามพบภัย

อ.หมอเขียวเน้นย้ำว่า เมื่อเกิดวิกฤต ชาวพุทธจะตั้งและปฏิบัติอริยศีลที่ถูกตรง เพื่อเพิ่มพลังกุศล ครั้งนี้ อ.หมอเขียวยกตัวอย่างการปฎิบัติของพระโพธิสัตว์เมื่อเจอภัยพิบัติ ซึ่ง มีทีมจิตอาสาแพทย์วิถีธรรมทำการตัดต่อเสียง และเผยแพร่ใน Morkeaw Podcast

630320 แนะนำรายการธรรมะพาพ้นทุกข์ ทุกวัน 20:00น

พบกับรายการธรรมะพาพ้นทุกข์ โดยดร.ใจเพชร กล้าจน ทุกวัน ในช่วงเวลาประมาณ 20:00 - 21:00 น บางทีก็ประมาณ 19:45 น หรือถึงประมาณ 21:00 น...

ยังไม่ชัดเจนกับทางโลกทางธรรม มีวิธีการเลือกอย่างไร

ถาม : ทำอย่างไรเราจึงจะมีวิธีการเลือกว่าชีวิตเราจะเลือกในโลกีย์หรือโลกุตระ  เพราะตอนนี้ตนเองเหมือนกับยังไม่ชัดเจนกับทางธรรม...

ุ630318 21.195 กรรมเก่าใช้แล้วก็หมดไป ไม่สร้างวิบากร้ายใหม่

มหาวรรคที่ 5 พระไตรปิฎกเล่มที่ 21 ข้อที่ 195  เนื้อหาย่อ พระพุทธเจ้าบอกวิธีปฏิบัติว่า ทำอย่างไรวิบากเก่าที่เราได้รับนั้นมันจะไม่เพิ่มขึ้น...

องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ 4 ประการ

มหาวรรคที่ 5 พระไตรปิฎกเล่มที่ 21 ข้อ 194 องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ 4 ประการ 1 สีลปาริสุทธิ...

เรามีหน้าที่ทำแต่ละสิ่งแต่ละอย่าง ให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด เท่าที่เราจะพึงทำได้ ให้โลกและเราได้อาศัย ก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะดับไปเท่านั้น

ขยายความบททบทวนธรรม เรามีหน้าที่ทำแต่ละสิ่งแต่ละอย่าง ให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด เท่าที่เราจะพึงทำได้ ให้โลกและเราได้อาศัย ก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะดับไปเท่านั้น

เรามีหน้าที่ทำแต่ละสิ่งแต่ละอย่างให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เท่าที่เป็นไปได้ตามภูมิ เท่าที่จะทำได้ คือ ตามภูมิตามบารมีที่มีตามภูมิตามบารมีที่มี มีเท่าไหร่ก็สุดฝีมือเท่านั้นแหละจบ ก็ปรารถนาให้เกิดดีแล้วก็จบ ให้โลกแล้วเราได้อาศัยก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างก็ดับไปเท่านั้น ก็เมื่อเราทำดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แล้ว โลกก็จะได้อาศัย คนในโลกก็จะได้อาศัย เราก็จะได้อาศัยดีที่เราทำนั้น ก็ได้อาศัยเพราะชีวิตอยู่ก็ต้องอาศัยสภาพดีๆ นั่นแหละ เท่าที่มันจะเป็นไปได้ดีเท่าที่จะเป็นไปได้ก็ได้อาศัย ได้เท่าไหร่ก็เท่านั้นแหละดีเท่าไหร่ก็เท่านั้น ที่จะได้อาศัย แม้อาศัยแล้ว แต่มันก็จะดับไปนะ อย่าไปยึดมั่นถือมั่นว่ามันจะอยู่ไปตลอด สิ่งใดมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นมีการดับไปเป็นธรรมดา แม้ดีก็ต้องดับไปนะ แม้ร้ายก็ต้องดับไปน อย่าไปยึดมั่นถือมั่นว่ามันจะอยู่ตลอด เกิดแล้วมันก็ดับๆ หมดฤทธิ์เขาก็ดับๆ อย่างนี้เป็นต้น เมื่อเราไม่ยึดมั่นถือมั่นเราก็ไม่ทุกข์
…ฝึกทำดีแล้วก็วางดีๆ ให้ฝึกไว้ ให้ทบทวนไว้ว่า มันไม่ได้อยู่ไปตลอดนะ แม้ดีแค่ไหนเกิดแล้วก็ดับๆ บอย่างนี้เป็นต้น ก็จะได้ไม่ทุกข์ จิตเราก็เป็นอิสระจากทุกข์

620704 ไม่มีใครอยากทุกข์ ที่เขาทำทุกข์เพราะเขาไม่รู้

ไม่มีใครอยากทุกข์ ที่เขาทำทุกข์เพราะเขาไม่รู้ ที่เขาไม่รู้เพราะมีวิบาก 11 ประการ จากการไม่เคารพไม่ศรัทธาพระพุทธเจ้าหรือสาวกแท้...