ธรรมทั้งหลายมีฉันทะเป็นมูล
ความต่างระหว่างฉันทะกับความอยาก
ฉันทะความพอใจ ความยินดี มีทั้งในชั่วและในดี เช่นนิวรณ์ ๕ ข้อแรกคือ กามฉันทะ ความพอใจมีความยินดีในกาม เป็นอวิชชา เป็นบาป เป็นชั่ว ทุกข์ ฉันทะในดี เช่น อิทธิบาท ๔ เป็นฉันทะในพุทธะ
ความอยาก คนที่มีความพอใจในเรื่องใด ๆ ก็จะมีความอยาก โดยมีความสุข คุณค่า ประโยชน์ ความสำคัญ เป็นต้นเป็นเค้า เป็นรากฐานใครรู้สึกว่าอะไรเป็นสุข มีความสำคัญ มีคุณค่ามีประโยชน์ จะพอใจในสิ่งนั้นมาก่อน เมื่อยินดีพอใจก็จะมีความอยากได้ตามที่ตัวเองพอใจไม่ว่าจะด้านชั่ว ด้านดี ด้านพ้นทุกข์ ก็จะอยากได้ตามที่ตัวเองพอใจสืบเนื่องกันไปต่อเนื่องกันเป็นลำดับ ๆ ใกล้เคียงกันมาก พอใจปุ๊บ จะอยากทันทีแทบจะเป็นอันเดียวกัน จะอนุโลมว่าเป็นอันเดียวกันก็ได้
ฉันทะ ๘ ชั้น
๑. ฉันทะในชั่ว แบบมีทุกข์ มีสุขลวง สุขลิกะในชั่วปน อยากได้อยากเสพในสิ่งที่เป็นโทษภัย ควรลด ละ เลิก ตัดไปเลย (กามภพ)
๒. ฉันทะในดี แบบมีทุกข์ ที่มีสุขลวงทุกข์จริงปนอยู่ (กามภพ) ถ้าดีเกิดจะสุขใจ ดีไม่เกิดจะทุกข์ใจ ถ้ามาแช่อยู่ตรงนี้ก็ทุกข์ ดีในงาน ดีในคนดี ในเหตุการณ์ มีฉันทะที่จะให้เกิดดี แต่มีสุขลวงทุกข์จริงซ่อนอยู่ มาแช่อยู่แค่นี้ชีวิตไม่พ้นทุกข์ ชาวแพทย์วิถีธรรมแช่อยู่ตรงนี้เยอะ เพราะมีดีให้เสพเยอะ ดีในการงาน ดีในเหตุการณ์ก็มีให้เสพเยอะ แล้วคนหลงว่าอันนี้เป็นดีในพุทธะเยอะ ทำดีไม่เอาอะไรเลย เงินทอง รอยยิ้ม คำขอบคุณก็ไม่เอา เพียงแค่เกิดดีไม่ได้จะไม่สบายใจเท่านั้นเอง กิเลสบอกว่าเราไม่เอาอะไร ตกลงก็เอาดีนั้นแหละมาเสพ กิเลสมันเนียน คนจึงเข้าใจว่าตัวเองเป็นพุทธะ บางท่านมีความพอใจมากที่จะได้ฟังธรรม พอใจที่จะได้เข้ารายการอริยสัจขจัดมาร เราทบทวนธรรมตลอด แต่มีเหตุปัจจัยให้เข้าซูม (Zoom) ไม่ได้ เข้ารายการไม่ได้ ก็ทุกข์ใจ เราก็เข้าใจว่าเราเป็นพุทธะ พุทธะต้องมีฉันทะอย่างนี้ ได้เข้ารายการได้สนทนาธรรม พุทธะต้องเป็นอย่างนี้แหละ เหมือนพุทธะ แต่ไม่ใช่พุทธะ มีกิเลสแทรกเพราะมีทุกข์ พุทธะคือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานไม่ใช่ผู้ไม่รู้ ผู้ทุกข์ ผู้เบิกบูด สิ่งใดที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นจะไม่ทุกข์เป็นไม่มี แม้แต่การฟังธรรมก็ยึดไม่ได้
ขั้นสามหนักที่สุด ยากที่สุด คนจะดื้อสุด สอนยากสุดอยู่ตรงนี้ แต่เขาคิดว่าเขาพ้นทุกข์แล้ว วันที่ไม่ได้ก็รอให้หมดวิบาก หมดวิบากเมื่อไหร่ ก็จะเอาให้ได้ดั่งใจหมาย ตั้งความหวังว่าสักวันวิบากหมดก็จะได้ หรือออกจากหมู่ไปเพื่อให้ได้ดั่งใจหมาย จะพ้นทุกข์ไหม? ไม่พ้นนะจะพ้นทุกข์ต้องกำจัดทุกข์
๓. ฉันทะในการหยุดทุกข์ในชั่ว หมดทุกข์ หมดชั่ว ดับสุขลวงทุกข์จริงในชั่ว ได้สุขจริงได้อาศัย ยินดีที่ได้สุขจริงเพราะเราพ้นสุขลวงในชั่ว
๔. ฉันทะในการหยุดทุกข์ในดี หมดกามในดี หมดสุขหมดทุกข์ในดี อุเบกขา จะมาสู่ชั้นที่ ๔ ชั้นพ้นทุกข์จากดีให้ตรวจสอบว่า ดีนั้น มีคุณค่า มีประโยชน์ มีความสำคัญ แล้วดีนั้นไม่เกิดดั่งใจหมายยังทุกข์อยู่ ก็ยังไม่พ้นชั้นสาม ชาวแพทย์วิถีธรรมติดชั้นนี้เยอะ มันหวานหอม ดีหลายเหลี่ยมหลายมุม น่าได้ น่าเป็น น่ามี แล้วดีนั้นก็ทำได้ด้วย ก็หลงว่าตัวเองเป็นพุทธะ เพราะเรามาเสียสละ เราไม่เอาอะไร เราพุทธะเต็มร้อยขอให้ดีเกิด หลงว่านี่เราเป็นพุทธะสูงสุด จะตรวจสอบได้ ก็ตอนที่ไม่ได้ดั่งใจหมายแล้วทุกข์ใจ ไม่สบายใจ ไม่ชอบใจ ก็จะรู้ได้ โดยมีสองอย่าง
- หนึ่ง ใช้ชีวิตปกติไปเดี๋ยวก็มีเหตุการณ์มากระแทกให้ดีไม่เกิดดั่งใจหมาย ทุกขอริยสัจจะ คือ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นจะเห็นทุกขอริยสัจได้จากการไม่ได้ดั่งใจหมาย คนที่เป็นเทวดาได้ดั่งใจหมายตลอดจะไม่เห็นทุกข์หรอก ถ้าเรากินของอร่อยตลอดได้ดั่งใจทุกวันจะไม่เห็นทุกข์ กินเข้าไป ไม่เห็นหรอก จะเห็นตอนป่วย ตอนมีเรื่องร้าย หรือตอนไม่ได้กินนั่นแหล่ะ คนเราได้ดั่งใจหมายตลอด ยังแข็งแรงดีอยู่ มีเหตุการณ์ดี ๆ เข้ามาในชีวิตอยู่ ยังมีกินอยู่ ไม่เห็นทุกข์หรอก พอป่วย ไม่สบาย มีเรื่องร้าย ไม่มีให้กิน ถึงจะเห็นทุกข์
- สอง เรื่องดีก็เหมือนกันถ้าเราได้รับสิ่งดีไปตลอด อยากทำดีอะไรก็ได้ทำ อยากได้รับผลดีอะไรก็ได้รับ จะไม่เห็นทุกข์หรอก นี่ไม่ใช่วิธีพ้นทุกข์ วิธีจะให้เห็นทุกข์ไม่ใช่ได้สมใจตลอด ทุกขอริยสัจ คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ก็เป็นทุกข์ ประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพรัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ จะเห็นทุกขอริยสัจเมื่อไม่ได้สมอยาก ปรารถนาสิ่งได้ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นจะให้เห็นทุกข์ต้องไม่ได้ในสิ่งที่ปรารถนา
พระพุทธเจ้าจึงให้ตั้งศีลมาลด ละ เลิก ในสิ่งนั้น ๆ อยากรู้ว่าเราทุกข์ในเรื่องนั้น ๆ หรือเปล่า ลองตั้งศีลมาเลิกสิ่งนั้นดูว่า ไม่ได้สิ่งนั้นจะทุกข์ไหม ถ้าไม่ได้สิ่งนั้นแล้วทุกข์ก็ยังมีกิเลสอยู่ ถ้าไม่ทุกข์ก็ไม่ทุกข์ อยากเห็นทุกข์ในดีเร็ว ก็พยายามเข้าหมู่มิตรดี ใช้มติหมู่ เพราะเมื่อเราเสนอความคิดกับหมู่เยอะ ๆ คนเยอะ ๆ มีโอกาสที่จะไม่ได้ตามเราเยอะ เพราะความคิดเห็นว่าจะทำอะไรดีในหมู่จะต่างกันเยอะ เมื่อไม่ได้ตามใจ ถ้าเรามีกิเลสก็จะยังทุกข์อยู่ ก็ได้เห็นทุกข์ ก็จะได้พากเพียรกำจัดทุกข์ในใจที่ไม่ได้ดั่งใจหมาย ก็จะได้มีปัญญา
ประโยชน์สูงสุดของอปริหานิยธรรมคือ
(การทำงานเป็นหมู่) ได้เห็นทุกข์เร็ว ได้ล้างทุกข์เร็ว เห็นทุกข์ช้า ล้างทุกข์ช้า ล้างทุกข์ยาก ยิ่งทุกข์แรงเท่านั้น ๆ ยิ่งทำงานคนเดียวก็ยิ่งเอาแต่ใจตัวเอง คิดว่าอะไรดีได้ทำดั่งใจหมายชื่นใจ การติดดีดั่งใจหมายก็มากขึ้น ๆ แล้วมันดีจริง ๆ ก็น่าชื่นใจ จะไปเข้าใจว่ามันไม่ดีก็ไม่ได้ เราก็ไม่เอาอะไร เสียสละเพื่อส่วนรวมฟรี ๆ เพื่อมนุษยชาติ ไม่มีโลกธรรม รอยยิ้มคำขอบคุณก็ไม่เอา แค่ให้ดีเกิดก็จะสุขใจ ดีไม่เกิดจะทุกข์ใจ เรายังเอาดีอยู่ เอาทุกข์อยู่ คิดว่าตัวเองเอาสุขไม่เอาทุกข์นะ จริง ๆ ยังเอาทุกข์อยู่นะ ยังหลงอยู่ แล้วเอาสุข สุขนั้นก็ไม่ยั่งยืน แต่ทุกข์ยั่งยืน หลงสุขอยู่ก็หลงทุกข์ตลอดกาล แต่ก็หลงว่านั้นสุขที่สุดในโลก ยิ่งเก่งยิ่งมีบารมีด้านโลกียะ ก็ทำดีดั่งใจหมายได้ ใครจะสอนให้พ้นทุกข์ได้? อาจารย์ก็ไม่บังอาจสอนให้เขาพ้นทุกข์ พวกเทวดายังเป็นเทวดาอยู่อย่าคิดว่าจะพาเขาพ้นทุกข์ได้
อขณะอสมัยประพฤติพรหมจรรย์ ๙ (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ ข้อ ๓๕๔) แม้มีพระพุทธเจ้ามาสอนก็ไม่มีทางพ้นทุกข์ได้
(*พรหมจรรย์ คือ เข้าสู่ยินดีในอุเบกขาได้)
๑. ผู้เข้าถึงนรก (ภาวะเร่าร้อนใจ) สอนไม่ได้ต้องให้สติดีก่อน
๒. ผู้เข้าถึงกำเนินสัตว์เดรัจฉาน (ภาวะมืดมัวโง่เขลา) โง่ทางธรรมพูดกันไม่รู้เรื่อง
๓. ผู้เข้าถึงลักษณะแห่งเปรต (ภาวะโลภหิวกระหาย)
๔. ผู้เข้าถึงอสูรกาย (ภาวะขาดกลัว) พวกขี้กลัวหนัก ๆ แบบสุดก็ช่วยไม่ได้ กลัวในสิ่งที่ดี ทั้งดีโลกียะโลกุตระ แต่เรื่องชั่วไม่กลัว พวกนี้ช่วยยาก
**๕. ผู้เข้าถึงเทพ (ภาวะติดสุข) ที่มีอายุยืน ชีวิตได้ดั่งใจตลอด ๆ ไม่ต้องไปสอนเพราะไม่เห็นทุกข์ เพราะเขารู้สึกตลอด จนกว่าวิบากจะเล่นงานถึงจะได้ดั่งใจหมาย จึงจะทุกข์ พระพุทธเจ้ากวาดทิ้งเลยไม่สอนเลย
๖. ผู้เกิดในปัจจันติมชนบท (ถิ่นเถื่อนสุดเขตแดน) เป็นพวกคนป่าเถื่อน โง่เขลา ไร้ที่ไป ไร้แบบอย่างของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไม่มีตัวอย่างที่ดี มีแต่ตัวอย่างที่เลว
๗. ผู้เกิดในมัชฌิมชนบท (ถิ่นเจริญในส่วนกลาง) มิจฉาทิฏฐิ
๘. ผู้เกิดในมัชฌิมชนบท (ถิ่นที่เจริญ) แต่เป็นคนโง่เซอะซะ เป็นคนใบ้ ไม่สามารถรู้เนื้อความแห่งสุภาษิต และทุพาษิตได้ แยกไม่ได้ตัวเองโง่ทั้งที่อยู่ในแดนพุทธะ
๙. มิได้มีผู้แสดงธรรมอันพระสุคตประกาศไว้ ดังนั้นผู้เกิดในถิ่นที่เจริญ แม้เป็นคนมีปัญญา ไม่เป็นใบ้ สามารถรู้เนื้อความแห่งสุภาษิต แต่นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยเพื่อประพฤติพรหรมจรรย์ แม้เป็นคนมีปัญญาถ้าได้ฟังก็จะพ้นทุกข์ แต่เมื่อไม่มีพระสุคตมาแสดงธรรม ก็ไม่พ้นทุกข์
**ชาวแพทย์วิถีธรรมจะติดอยู่ในข้อ ๕ (ผู้เข้าถึงเทพ ภาวะติดสุข) เยอะ ได้ดั่งใจตลอด ๆ สอนไม่ได้ อาจจะติดบางเรื่อง ยึดอยากไม่เปลี่ยนอยู่อย่างนั้นก็ทุกข์อยู่อย่างนั้น ติดยึดตรงนี้อยู่ก็ก้าวข้ามไม่ได้ จะไม่ได้ดั่งใจหมาย ให้ทำสามข้อ
๑. ใช้อปริหานิยธรรม พยายามทำงานกับหมู่ อย่าใช้ความคิดตัวเอง ได้ตามความคิดตัวเองก็ไม่เห็นทุกข์
๒. ตรวจใจตัวเอง ถามตัวเอง ว่าถ้าไม่ได้ดั่งใจหมายเรื่องไหน ๆ จะทุกข์ไหม? ลองพยายามสมมุติเหตุการณ์ว่า ถ้าไม่ได้ดั่งใจหมายจะทุกข์ไหม? หรือ
๓. รออกหัก ช้าหน่อยแต่ถึงแน่ ๆ รอนรก รอทุกข์ รอวิบากร้ายแทรก จะทุกข์หนัก ทุกข์แรง เพราะได้ดั่งใจไปเยอะ จะจุก สติแตก เป็นบ้าก็มี ป่วยหนักก็มี ตอนนั้นจะรู้ยากด้วย เพราะใจไม่อยากเลิกสิ่งนั้น จะดิ่ง ๆ ไป จะเอา คิดว่าได้ดั่งใจหมายจะสุขใจ ยิ่งถ้ามีคนมาขวางจะเพ่งโทษถือสา ไม่ชอบใจ ดูถูก ดูหมิ่นดูแคลน ยิ่งถ้าคนนั้นเป็นอริยะจะซวยเลย นี่เป็นหลุมพรางบนทางพุทธ ที่คนส่วนใหญ่มาตกอยู่ตรงนี้
แม้ทางนี้ก็เถอะ พญามารมักลวงให้หลงทางได้เสมอ มันลวงอยู่ตรงนี้นานไม่รู้กี่ล้าน ๆ ชาติ หนักที่สุด ดื้อด้านที่สุด หน้ามืดที่สุด อยู่ตรงนี้ เพราะคนคิดว่าตรงนี้ดีสุดแล้ว ยังไม่ดีสุด ยังทุกข์หนักอยู่
ถ้าไม่ได้พบสัตตบุรุษ ไม่ได้ปฏิบัติอย่างถูกตรงมาก่อนก็ยังทุกข์อยู่ มีแต่รอให้วิบากหมดแล้วคิดว่าสักวันก็คงได้ดั่งใจหมาย หรือมีอำนาจก็จะเอาให้ได้บังคับเอาให้ได้ดั่งใจหมาย ถ้าไม่มีฤทธิ์ไม่มีอำนาจก็อดทนเอา หรือออกจากหมู่ไปทำให้ได้ดั่งใจหมาย แต่ถ้ารู้สึกว่าออกไปแล้วทำไม่ได้ดั่งใจหมายก็อดทนรอคอยว่า สักวันวิบากหมดก็คงได้ ๆ ก็ตั้งความหวังไว้กี่ล้านชาตก็จะรอ จะสดชื่นไหม จะพ้นทุกข์ไหม? ไม่พ้นทุกข์
จะพ้นทุกข์ได้ก็ต้องกำจัดทุกข์ กำจัดความอยาก แม้ดีอันนี้ แม้ไม่ได้ไม่ทุกข์ได้ไหม? แม้ไม่ได้ยินดีได้ไหม? เมื่อเห็นทุกข์ในดี ยังไม่ใช่พุทธะนะ ดีที่มีทุกข์ยังไม่สูงสุดนะ ยังมีดีกว่านี้ กำจัดสุขลวง ทุกข์จริงในดีได้ ยินดีที่เห็นทุกข์ในสุขลวง ไม่ใช่ยินดีที่ดีไม่เกิด แต่ยินดีที่เราไม่ทุกข์แม้ดีนั้นไม่เกิด ยินดีในอุเบกขา หมดสุข หมดทุกข์ในดี เป็นกลาง ๆ ทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ล้างทุกข์ในดีได้ นี่คือชั้นที่ ๔ พอใจที่จะหมดทุกข์ในดี พิจารณาโทษของทุกข์ในดี พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีสุขลวงทุกข์จริงในดี แล้วเข้าถึงประโยชน์นั้น เราก็ยินดีได้ นี้เป็นฉันทะชั้นที่ ๔ ถ้าคนไม่มีปัญญาว่าชั้นที่ ๔ ดีกว่าจะไม่เข้าสู่ฉันทะชั้นที่ ๔ นี้
๕. ฉันทะในการทำดีที่ทำได้ รับผลดีที่ทำได้ เมื่อมีโอกาสที่จะได้รับผลดีนั้นได้ พอใจที่จะได้รับผลดี พอใจที่จะทำ พอใจที่จะอาศัยผล พอใจที่จะทำดีนั้น เมื่อเหตุปัจจัยเอื้อให้ทำ เป็นโควต้าของเราและคนที่เกี่ยวข้องให้ได้อาศัยก่อนที่ทุกอย่างจะดับไป
๖. ฉันทะในการหยุดดี หยุดอยากทำดี หยุดทำดีที่ทำไม่ได้ เพราะไม่ใช่กุศลของเรา ไม่ทุกข์แม้ดีไม่เกิด หยุดทำในสิ่งที่ดีที่ทำไม่ได้ หยุดอยากได้ผลดีที่เป็นไปไม่ได้ มีความพอใจที่จะไม่ได้ผลดีที่เป็นไปไม่ได้ พอใจที่จะหยุดดีที่เป็นกิลมถะ ดีที่ไม่ใช่โค้วต้าของเราและคนที่เกี่ยวข้อง เราก็ไม่เอาดีที่ไม่ใช่ของเราและของคนที่เกี่ยวข้อง ยินดีที่หยุดอยาก พอใจ มีฉันทะที่จะหยุดอยากทำดีที่ทำไม่ได้ หยุดอยากได้ดีที่ทำไม่ได้
๗. ฉันทะในการเอาประโยชน์ได้ทุกเรื่อง เอาประโยชน์ได้ทุกเรื่อง เพราะเข้าใจเรื่องกรรมแจ่มแจ้ง ยินดีรับ ยินดีอาศัยทั้งสองด้าน
๘. ฉันทะในการอุเบกขา ยินดีในอุเบกขา พอเราล้างกิเลสหยาบกามภพได้ จนถึงรูปภพ อรูปภพ จนพ้นทุกข์ ก็มีพี่น้องถามอาจารย์ว่า ระหว่างสัญญา ความจำเดิม ที่หมดกิเลสแล้ว กับอรูปภพต่างกันอย่างไร? อรูปภพหรืออาสวะที่ยังติดอยู่ เหมือนจะมีเหมือนจะไม่มี ถ้าแยกไม่ออกจะได้เจโตวิมุติ ยังไม่อรหันต์ เวียนกลับได้ ความต่างคือ ถ้ามีกิเลสเหลือเล็ก ๆ อาการในใจยังมีความลำบากอยู่ มีความทรมานอยู่ มีความหวั่นไหวในเรื่องนั้น ๆ อยู่ เวลาเรากำจัดกิเลสตัวนั้นได้ จะมีความโปร่งโล่งขึ้นเยอะเลย ต่างกันมาก ร่างกายเรื่องดีเพิ่มขึ้นอีกเยอะ
แม้พระพุทธเจ้ายังมีสุขลวงยึกยักเข้ามา แต่พระพุทธเจ้าก็ว่า มีเธอนั่นแหละทุกข์ ไม่มีเธอพ้นทุกข์ บางทีไม่ทันได้ขยายความเลย กิเลสไปแล้ว ปราบไม่ยาก มาทีไรแพ้เราทุกที เพราะปัญญาเราดี ไม่มีวิบากร้าย นี้คือสัญญาเดิมที่ไม่มีกิเลส พอเรากำจัดความจำได้ จะไม่มีความต่าง จะรู้สึกเหมือนเดิมไม่มีวิบากร้ายที่หายไป เพราะไม่มีมันไม่ใช่กิเลส
ถ้าเราชนะเรื่องนั้นแล้ว ชนะทุกที แต่ยังรู้สึก ละอายเพราะยังรู้สึกยึกยัก ๆ อยู่ รู้สึกละอาย รำคาญ กังวล หม่นหมอง ๆ ว่าทำไมมันไม่หมดซะที นี้เป็นเจโตวิมุติพ้นแล้วแต่ไม่รู้ว่าตัวเองพ้น ยังไม่ได้ปัญญาวิมุติ เสียเวลามาขย้ำขี้ ก็หม่นหมองอยู่อย่างนั้น จบแล้วไม่รู้ว่าจบ
รายการธรรมะพาพ้นทุกข์
โดย ดร.ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว)
ประธานมูลนิธิแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย
ณ ดอยแพงค่า พุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ
ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
รับชมผ่าน:
1.YouTube หมอเขียวทีวี https://youtu.be/1V1itX1LseQ
2. Facebook หมอเขียว แฟนคลับ https://www.facebook.com/morkeawfansclub/videos/165313305486712/