มีญาณปัญญาในการชำแรกกิเลส จะมีญาณปัญญาในการทำกิจกรรมการงานมากขึ้น จะสืบเนื่องกันไปเพื่อชำแรกกิเลสได้ จะมีเหตุปัจจัยให้เรามีญาณปัญญามากขึ้น ๆ พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนั้น ท่านตรัสว่า “เราตามรักษาศีลของเรา ไม่ได้ตามรักษาชีวิตของเรา” เรารักษาศีลยิ่งชีพ ศีลมีค่ายิ่งกว่าชีวิต เพราะศีลทำให้เราได้ญาณของพระพุทธเจ้า เป็นญาณที่ดีเยี่ยม ที่จะพึ่งตนและช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ได้ดีเยี่ยมที่สุด ไม่มีอะไรเทียมเท่า ทั้งชำระกิเลส ทั้งทำกิจการการงานได้มีประสิทธิภาพ จะมีความถนัด ความเชี่ยวชาญแต่ละด้านมากขึ้น จะมีปัญญาซ้อนในการเรียนรู้วิชาการ พระพุทธเจ้าตรัสว่าจะมีความรู้กว้างขวาง จะแววไว ศีลจึงสำคัญ ทำให้เกิดญาณปัญญา
“ศีลทำให้เกิดปัญญา ปัญญาทำให้เกิดศีล”
สามารถพิสูจน์ได้ แต่ก่อนในการทำงานแต่ละด้าน เราก็ไม่ได้มีความคิดสร้างสรรค์ขนาดนี้ เราก็คิดแบบเดิม ๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีปัญหาน้ำเซาะถนน ทั่วไปเขาก็ราดซีเมนต์เทยางมะตอย มีทุนรอนก็ทำได้ ไม่มีทุนรอนก็ทำไม่ได้ แต่ของเรามีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น บางจุดเราก็ไม่จำเป็นต้องเทซีเมนต์ ราดยางมะตอย หลายสิ่งหลายอย่างเป็นเหตุปัจจัยทำให้มีญาณปัญญามากขึ้น
อาจารย์คิดเรื่องการรักษาโรค แต่ก่อนไม่ได้มีศีลก็คิดตามที่ครูอาจารย์ทางโลกสอนมา ก็ได้ผลเหมือนเดิม ประสิทธิภาพก็เหมือนเดิม เท่ากันกับที่ท่านทำกันมา มีประสิทธิภาพประมาณ 30% บวกลบ เอาแต่ด้านวัตถุ แต่พอเรามาปฏิบัติศีลให้ถูกตรง ช่วยเหลือผู้อื่นให้ถูกตรง ก็เกิดญาณปัญญาขึ้นมา ใช้ความรู้ด้านจิต จิตที่ชำระกิเลสได้ จิตที่ทำความดีได้ จิตที่ชำระกิเลสได้ก็คือ ใจไร้ทุกข์ ใจดีงาม และทำสมดุลร้อนเย็นเป็นหลัก รวมทั้งวิธีการอื่น ๆ ก็เสริมกันไป เราก็ได้พบวิธีที่ประหยัด เรียบง่าย มีประสิทธิภาพสูง ในการดูแลสุขภาพ เรียกว่า การแพทย์วิถีธรรม หรือ การแพทย์พุทธศาสตร์
อาจารย์ศึกษาพระไตรปิฎกและบูรณาการมาเป็นการแพทย์พุทธศาสตร์สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตามหลักการแพทย์วิถีธรรม เป็นหมอดูแลตัวเอง บูรณาการออกมาเป็นวิธีเรียบง่าย เป็นยา 9 เม็ด ไม่น่าเชื่อว่า วิธีการนี้สามารถลดโรคได้ทุกโรค รักษาโรคได้ทุกโรคแต่ไม่ใช่ทุกคน อยู่ที่ท่านใดจะมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติ มีองค์ประกอบที่ดี พลังบุญกุศล พลังสมดุลร้อนเย็นที่เต็มรอบ ปฏิบัติได้ดีก็จะมีประสิทธิภาพสูง และขึ้นอยู่กับวิบากดีร้ายของแต่ละชีวิตด้วย แต่อย่างไรก็ตาม 90% ผู้ที่ใช้วิธีการนี้มีสุขภาพดีขึ้นจากการทำวิจัยปริญญาเอก จากกลุ่มตัวอย่างหกหมื่นกว่าท่าน และจนถึงปัจจุบันได้ช่วยคนไปแล้วกว่าสามแสนท่าน ประสิทธิภาพก็เป็นอย่างนี้
สำหรับการทำกสิกรรมไร้สารพิษก็มีวิธีการที่ง่ายขึ้น ๆ มีการทำยาฆ่าหญ้า มีวิธีการเพาะเมล็ดพันธุ์ วิธีการทำปุ๋ย วิธีการทำกสิกรรมไร้สารพิษเราก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ เศรษฐกิจเราก็อยู่กันอย่างเรียบง่าย ทุกอย่างเรียบง่าย มีประสิทธิภาพสูง หลายสิ่งหลายอย่างก็เกิดการบูรณาขึ้นไปเรื่อย ๆ ทั้งอาจารย์และพี่น้อง ช่วยกันคนละไม้คนละมือ ก็มีการพัฒนาไปตามลำดับ ๆ กลายเป็นกถาวัตถุ 10 เป็นเรื่องที่เราพูดคุยกัน เป็นเรื่องที่เราพากเพียรปฏิบัติ พูดคุยกันถึงเรื่องที่ควรพากเพียรปฏิบัติ
“เรื่องที่ควรพูดคุยกันเพื่อให้เกิดประโยชน์” (กถาวัตถุ 10 จากพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 ข้อ 70)
- เรื่องให้มักน้อย กล้าจน
- เรื่องสันโดษ ใจพอ ให้ไปสู่ความประหยัดเรียบง่าย เกิดปัญญาในการดำรงชีวิตแบบประหยัด เรียบง่าย ยินดีที่ประหยัด เรียบง่าย แต่ให้แข็งแรงที่สุด ไม่ทรมานตน ได้ประโยชน์สูงและประหยัดสุด
- เรื่องให้สงัดจากกิเลส
- เรื่องไม่คลุกคลีกับกิเลส หรือหมู่กลุ่มที่มีกิเลส หรือสุขลวงทุกข์จริง
- เรื่องให้ตั้งอยู่ในความเพียร เพียรชำแรกกิเลส เพียรทำกุศลช่วยเหลือผู้อื่น เพียรทำการงานที่มีประโยชน์
- เรื่องให้สมบูรณ์ด้วยศีล คือเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน การชำระกิเลสที่สมบูรณ์ ชำระความอยากได้ดั่งใจหมายแบบยึดมั่นถือมั่น และประมาณการกระทำให้สมบูรณ์กับการทำการงานช่วยเหลือผู้อื่น
- เรื่องให้จิตตั้งมั่นในกุศลโลกุตระ
- เรื่องให้เกิดปัญญาชำแรกกิเลส พอมีปัญญาในการชำแรกกิเลส ก็จะมีญาณปัญญาในการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้น
- เรื่องทำให้ตนหลุดพ้นจากกิเลส
- เรื่องให้รู้แจ้งเห็นจริงในภาวะแห่งความหลุดพ้นกิเลสแล้ว รู้ว่าหลุดพ้นจากกิเลสแล้ว มีสภาพทางกาย จิตใจ ทางเหตุการณ์อย่างไร ถ้ายังไม่หลุดพ้นจากกิเลส มีสภาพทางกาย ทางจิตใจ ทางเหตุการณ์อย่างไร เปรียบเทียบความต่างกันได้
นี่คือกถาวัตถุ 10 เรื่องที่ควรพูดคุย ที่ควรพากเพียรปฏิบัติ เพราะฉะนั้น ชีวิตก็ต้องมีความขยันหมั่นเพียรในการชำแรกกิเลส ในการประมาณการให้พอเหมาะ ในการเกื้อกูลช่วยเหลือกันและกัน การใช้ชีวิตที่ประหยัดเรียบง่าย ขยันหมั่นเพียร มีอิทธิบาท มีฉันทะ ความพอใจ มีความขยันหมั่นเพียรที่จะชำแรกกิเลส มีความเกื้อกูลกันที่จะมีชีวิตแบบประหยัดเรียบง่าย ขยันพูดคุย ขยันนำไปปฏิบัติ มีข้อมูลอะไรก็นำมาแลกเปลี่ยนกัน
“การปฏิบัติศีลที่ถูกตรงจะมีอานิสงส์เป็นปัญญา” (การปฏิบัติกายคตาสติ พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 ข้อ 234)
- กาย คือ จิตที่อาศัยอยู่ในร่าง คือ จิต คือ มโน คือ วิญญาณที่ดูด ดิน น้ำ ลม ไฟ มารวมเป็นร่าง
- คตา คือที่ไป
- สติ คือ การระลึกรู้ตัวทั่วพร้อมต่อการไม่เบียดเบียนตัวเองคนอื่นสัตว์อื่น
ตั้งแต่มาปฏิบัติศีลแนวพุทธะ แนวอโศก แนวแพทย์วิถีธรรม มีความรู้สึกว่ามีญาณปัญญาในการชำแรกกิเลส ในการทำกิจกรรมการงานมากขึ้นไหม? มากขึ้นใช่ไหม ปกติเราเรียนในมหาวิทยาลัยหัวผุหัวพังได้ความรู้ขนาดนี้ไหม? ไม่ได้ความรูขนาดนี้นะ โรงเรียนพุทธะ โรงเรียนวิชชารามเราได้ความรู้ที่เป็นประโยชน์มากขึ้น อาจารย์ก็รู้สึกว่าตั้งแต่ปฏิบัติศึลที่ถูกตรง มีญาณปัญญามากขึ้น มีปัญญาชำแรกกิเลส มีปัญญาเห็นความต่างระหว่างมีกิเลสกับไม่มีกิเลส ทั้งจิตใจ ทั้งร่างกาย ทั้งความฉลาดในการแก้ปัญหา ความฉลาดในการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ก็แตกต่างกันมาก เป็นสภาพที่เมื่อเราชำแรกกิเลสได้ จะได้สภาพอุเบกขา 5 คือปริสุทธา จิตบริสุทธิ์หมดจด บริสุทธิ์จากทุกข์ บริสุทธิ์จากความเศร้าหมอง บริสุทธิ์จากความกลัว กังวล ระแวง หวั่นไหว บริสุทธิ์จากกิเลสที่ทำให้เกิดผล ผล คือ เศร้าหมอง กังวล ระแวง หวั่นไหว ซึมเศร้า ไม่โปร่ง ไม่โล่ง ต่าง ๆ นานา มันทรมาน มันไม่แช่มชื่น เราชำแรกกิเลสได้จิตจะบริสุทธิ์จากกิเล บริสุทธิ์จากทุกข์สารพัดลีลา โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส เป็นพลังผาสุก ผ่องใส ที่ดีเยี่ยมที่สุดในโลก ไม่มีอะไรหักล้างได้ ไม่มีอะไรเปรียบได้ ปริโยทาตา จิตสะอาดผุดผ่อง แม้จะมีเหตุปัจจัยกระแทกก็ไม่สามารถกระแทกให้กิเลสออกอาการได้ เพราะจิตสะอาดจากกิเลส ผุดผ่องจากกิเลสแล้ว กระแทกยังไง ๆ ก็ไม่มีทุกข์ ไม่มีชั่วจากกิเลส
มุทุ แววไว หัวอ่อน ดัดง่าย เป็นลักษณะพิเศษของพุทธะ พุทธะจะแววไว สติปัญญาจะแววไว อ่านอาการเร็ว ทำอันนี้เป็นประโยชน์ ทำอันนี้เป็นโทษจะเห็นเร็ว แววไวทั้งสติปัญญา ทั้งเหตุการณ์ ทั้งกุศล จะช่วยให้เราได้ข้อมูลเร็ว แววไวนี้ลึกซึ้งนะ แววไวเกิดจากทั้งสติปัญญา แววไวในการสังเกตผลทางกาย ทางใจ ทางเหตุการณ์ และมีพลังกุศลด้วย เราช่วยเหลือผู้อื่นจะมีพลังกุศลทำให้ได้ข้อมูลเร็ว ก็สามารถแววไวในการปรับตัวว่าสิ่งไหนเป็นโทษเราก็เลิกได้เร็ว สิ่งไหนเป็นประโยชน์เราก็เลิกได้เร็ว จะแววไวมาก แววไวในการชำแรกกิเลส แววไวในการอ่านกิเลส จะเห็นกิเลสได้เร็ว และกิเลสจะเข้าไม่ได้เพราะเรามีฌาน ล้างอาสวะได้สิ้นเกลี้ยง ก็ไม่ใช่ว่ากิเลสจะไม่เข้ามานะ มีเหตุปัจจัยต่าง ๆ เข้ามา เราจะเห็นกิเลสมันยึกยักเข้ามานะ เราก็พูดกับมารว่า! เรารู้จักเธอแล้ว ไปเลย กิเลสเข้าไม่ได้ นี่แหละอรหันต์ ถ้าเรามีฌานที่กล้าแกร่ง กิเลสจะเข้ามาไม่ได้ เหมือนการนำเมล็ดผักกาดวางบนปลายเข็มมันตั้งไม่ได้ หรือน้ำกลิ้งบนใบบอน มันเข้าไม่ได้ กิเลสมันจะพยายามปรุงความชอบชัง แต่ถ้าเรามีฌานที่แก่กล้า จะละลายออกไปเลย กิเลสเข้าไม่ได้ สลายไปเลย จะแววไวมาก
อาจารย์จบพัฒนบูรณาการศาสตร์ อาจารย์ใช้พุทธะนี่แหละบูรณาการ และพบว่าปฏิบัติพุทธะทำให้การบูรณาการปัญหา หรือพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ได้ดีเยี่ยม ไม่ใช่แต่ภาษา แต่อาจารย์มีสภาวะด้วย แต่ก่อนเราก็คิดไม่ออกหรอก พอเรามีศีลเราจะคิดออก นี้เป็นเรื่องยิ่งใหญ่ของศีล จะมีญาณปัญญาคิดออก รู้ความจริงตามความเป็นจริง จะแววไว
อาจารย์คุยกับพี่น้องเรื่องกินอาหารมื้อเย็น ถ้าเรากินด้วยกิเลสมันจะสดชื่นขึ้นมาเลย แต่มันได้สดชื่นเพราะอาหารนะ สดชื่นเพราะสมกิเลส มันดีใจ สดชื่นเลย พลังยินดี มันได้สมอยาก ก็สดชื่น ลดทุกข์ชั่วคราว แต่มันไม่ยั่งยืน จะหมดเร็ว พี่น้องก็บอกว่าไม่เกินสิบห้านาทีหมดแล้ว คิดว่าจะสดชื่นไปทำการงานได้ดี กลายเป็นหมดสภาพเลย ถูกกิเลสหลอก เนียนเชียว ฤทธิ์ของกิเลสมีแค่นี้ แค่สั้น ๆ แล้วหายไป มันหลอกเราว่าเพลียล้า แท้ที่จริงอยากเสพรส สดชื่นแวบเดียว หลังจากนั้นหมดสภาพ แล้วก็ไม่สบายอีกนะ เพลียล้าเลย เมื่อยเนื้อตัว นอนไม่ค่อยหลับ ตื่นก็ไม่สดชื่น เหตุจากเสพกิเลส
นี่แหละคนที่รักษาโรคหายเร็วก็เป็นแบบนี้ เรียกว่าอุปทาน เวลาเขาได้เสพอะไรที่ถูกใจเขา เขาจะหายโรคฉับพลันเลย แต่อีกสักพักก็เป็นอีก หรือได้หมอ ได้วิธีที่ถูกใจ มั่นใจ เขาจะดีใจ ยินดี มีพลังยินดี จากทุกข์ ๆ ก็หายกังวลเลย มั่นใจ ดีใจ โรคก็หายทันทีเลย อีกสักพักก็เป็นอีกเพราะฤทธิ์ของอุปาทาน ฤทธิ์ของการได้สมใจอยาก ฤทธิ์ของการได้ดั่งใจหมายมันอยู่ไม่นาน ฤทธิ์ของความยินดีมีฤทธิ์เยอะมาก แต่ยินดีในกิเลสมันอยู่ไม่นานก็จะกลับไปสู่สภาพเดิม เพราะมันสลายไปอย่างรวดเร็ว หมดไปก็เหลือแต่ความกลัว กังวล หวั่นไหว แล้วก็กลับมาเป็นโรคอีก คนก็หลงอยู่อย่างนี้ แล้วเขาก็ไม่รู้ว่าคืออะไร
“ว่าด้วยความยินดี” ความยินดีแบบพุทธะ
ความยินดีแบบพุทธะ คือ ยินดีที่ไม่ได้ดั่งใจหมาย หมดความอยากได้ดั่งใจหมายแต่ละเรื่อง ๆ ไม่ได้ก็ยินดีได้ สามารถยินดีได้ตลอดเวลาเลย ยินดีแรง ๆ ก็ได้ เป็นวิตกวิจาร คิดเรื่องนู้นเรื่องนี้ ยินดีเบาๆ ก็ได้ ไม่ยากไม่ลำบากซึ่งฌานทั้ง 4 ความยินดีเป็นพลัง เหมือนยินดีจากการเสพกิเลสนั้นแหละ แต่ยั่งยืนกว่า มีพลังมากมายมหาศาลแบบได้เสพสมใจกิเลสนั่นแหละ แต่กิเลสออกฤทธิ์สั้น ๆ สุขน้อยทุกข์มาก แต่แบบพุทธะยินดีได้มาก ยินดีได้ยาวนาน ยินดีได้ตลอดเวลา อิ่มเอิบ เบิกบาน แจ่มใส ยินดีพอใจได้ตลอดเวลา ไม่มีภัยใด ๆ พระพุทธเจ้าตรัสว่า วิมุติเป็นกำลัง ชีวิตหลุดพ้นจากทุกข์ได้ก็มีความยินดี ก็ทำให้มีพลัง พอไม่ทุกข์เราจะยินดีทันที
อาจารย์ก็เคยถูกกิเลสหลอกไปกินตอนเย็น กิเลสบอกว่ามันเมื่อย ล้า เพลีย หิว ถ้าได้กินจะสดชื่น มีแรง พอไปกิน สดชื่น มีชีวิตชีวาแบบนี้ไปทำงานได้เยอะแน่ ๆ เลย พอผ่านไปสิบนาทีเท่านั้น หมดสภาพ เมื่อยเนื้อเมื่อยตัวอีกต่างหาก ปัดโธ่เอ้ย มันหลอกเรา อาจารย์ถูกหลอกมาแล้วจึงเข้าใจ สู้เราไม่กิน กำจัดกิเลสหมดความอยาก สดชื่นกว่าตั้งเยอะ ไม่อยากกินสดชื่นกว่าตั้งเยอะ ทำการงานได้มากกว่าตั้งเยอะ มีแรงกว่าเยอะ นอนหลับดี ตื่นเช้ามาเบาตัวกว่าเยอะ ไปพิสูจน์ดู เราก็สังเกตดูอะไรที่มันสดชื่นชั่วคราวมันเป็นกิเลส กิเลสออกฤทธิ์ให้มีพลังมีความสดชื่นสั้น ๆ สุขน้อย ทุกข์มาก ทุกข์อื่นยิ่งกว่ากามไม่มี กามในชั่วก็ตาม กามในดีก็ตาม สดชื่นไม่นาน จากนั้นก็ทรมาน
ความยินดีคือ พลัง
แม้แต่กามในดี ถ้าได้ดีดั่งใจหมายแบบกิเลส ได้แวบเดียวก็หมด ถ้าเราอยากได้ดีแบบพุทธะ คือดีเกิดก็ได้ ดีไม่เกิดก็ได้ ยินดีได้ ผ่องใสได้ จะมีพลัง ยินดีตลอดเวลา มีพลังตลอดเวลา ความยินดีคือ พลัง พอเราหลุดพ้นจากทุกข์จะมีพลัง ตอนเรายินดีจะไม่มีทุกข์ ได้ตามที่อยากก็ยินดีได้ ไม่ได้ตามที่อยากก็ยินดีได้ เข้าใจเรื่องกรรมก็ไม่ทุกข์ พอไม่ทุกข์ก็ยินดี ยินดีก็มีกำลัง คนที่พ้นทุกข์คือคนที่ยินดีตลอดเวลา ความยินดี เป็นความสุข ยินดีจะมีพลัง ยกตัวอย่าง
เราทำงานเหนื่อย ๆ พอบอกว่า เอ้า! ไปกินข้าวกัน หายเหนื่อยเลย เห็นไหม เพราะยินดีไง ยินดีที่จะได้ไปกินข้าว หรือพอฟังธรรมง่วง ๆ พอบอกหมดเวลาแล้ว ตื่นเลย สดชื่นเลย เพราะอะไร? เพราะมันอยากจะไปทำอะไรดั่งใจหมาย ไม่อยากฟังธรรมต่อแล้ว ตื่นเลย หายง่วงเลย เพราะยินดี ยินดีจะได้พัก ยินดีจะได้ทำงานอื่น ยินดีจะมีพลัง ตอนง่วงมันมีอะไรที่ไม่ได้ดั่งใจหมาย เช่น มันไม่หายง่วงดั่งใจหมาย มันไม่ยินดี พอหมดเวลาก็ยินดีเลย ตื่นเลย จะยินดีด้วยอะไรก็แล้วแต่จะมีพลังขึ้นมาเลย
ความสุขสูตรที่ 2 (พระไตรปิฎกเล่มที่ 24 ข้อ 66)
อะไรหนอเป็นเหตุให้เกิดสุข? อะไรหนอเป็นเหตุให้เกิดทุกข์?
ความไม่ยินดีเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ความยินดีเป็นเหตุให้เกิดสุข เกิดสุขก็พ้นทุกข์แล้ว พอพ้นทุกข์ก็มีกำลังทันที มีความยินดีแรงจะมาเลย เหมือนเราทำงานใกล้จะเสร็จน่าจะหมดแรง ทำงานไปมากแล้ว แต่ทำไมมีแรงมากขึ้น เพราะมีความยินดีที่จะเสร็จแล้ว ยินดี ดีใจ ยินดีมีพลัง ขนาดใช้แรงไปตั้งเยอะแทนที่จะหมดแรงกลับมีแรง ผลของความยินดีจะมีพลัง ยินดีคือความสุข ความสุขคือความไม่ทุกข์ ความไม่ทุกข์เป็นกำลัง แต่ถ้าเราทำงานไป อยากให้เพื่อนมาช่วย ๆ อยากให้มีอุปกรณ์จะชอบใจ อยากให้ได้เยอะ ๆ จะชอบใจ อยากให้เสร็จเร็ว ๆ จะชอบใจ ตอนนี้ทำไปไม่เยอะเลย อยากให้ทำเยอะ ๆ ทั้งที่เพิ่งทำงานไปได้ไม่เยอะแต่แรงไม่มี เพราะไม่ยินดี แรงจะหมดเลย ผลของความไม่ยินดีจะหมดแรง เพราะเสียพลังไปไม่ยินดี
“ชีวิตทุกคนอยากได้สุขยั่งยืนทั้งนั้น” ความสุขที่ชำระกิเลสได้ เป็นความสุขที่ยั่งยืน เป็นพลังที่ยั่งยืน มีทั้งความสุข มีทั้งพลังก็ดีสิ แล้วมันจะไปละลายทุกข์ต่าง ๆ ความเจ็บ ความปวด ความทุกข์ต่าง ๆ ของร่างกาย แม้เรื่องร้ายก็เบาไปด้วย
“จักกวัตติสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ 11 ข้อ 50”
ในเรื่องพละกำลังมีอธิบายอย่างไร? พละกำลังของภิกษุก็ตือหลุดพ้นจากทุกข์ หลุดพ้นจากทุกข์ด้วยเจโตวิมุติ ก็คือจิตสามารถทำได้ และปัญญาวิมุติ คือ มีปัญญาแยกแยะได้ มีปัญญาเปรียบเทียบได้ว่ามีกิเลสกับไม่มีกิเลสต่างกันอย่างไร รู้ว่าตัวเองหมดกิเลสแล้ว รู้ความต่างของผลที่เกิดขึ้นจากสภาพมีกิเลส กับผลที่เกิดขึ้นจากสภาพที่ไม่มีกิเลสต่างกันอย่างไร มีปัญญาเปรียบเทียบสภาพชัดว่าอันนี้เกิดจากมีกิเลส อันนี้เกิดจากกำจัดกิเลสได้ ตรวจกันที่ผล อ่านเวทนาสองคือ อ่านผล มีเวทนาที่ต่างกัน คือเวทนาของกิเลส เคหสิตะ ต่างกับเวทนาของพุทธะ เนกขัมมะ
จะเอาอะไร? ก็เอาพุทธะดีกว่า ทำให้เป็นหนึ่ง ทำเหตุกิเลสจะเกิดผลคือ ทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้าย ทุกข์ทั้งหมดทั้งมวล ทำเหตุกำจัดกิเลส ผลคือพ้นทุกข์ใจ พ้นทุกข์กายและเรื่องร้าย มีกิเลสมีทุกข์ หมดกิเลสหมดทุกข์ นี่แหละปัญญาวิมุติ กำจัดกิเลสเกลี้ยง หลุดพ้นจากทุกข์ก็เป็นกำลัง เป็นความสุข หลุดพ้นจากทุกข์ก็เป็นความยินดี ความยินดีเป็นความสุข
“ชีวิตที่อยากได้กำลัง อยากได้ความสุข ให้ยินดี”
“ความยินดีที่ยั่งยืน สุขยั่งยืน คือ กำจัดกิเลส”
“ความยินดีชั่วคราว สุขชั่วคราว ทุกข์ยั่งยืน คือ เสพกิเลส”
“อานิสงส์ของศีล 9 ประการ”
ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหน ๆ เลย เพราะฉะนั้นจะต้องไม่มีภัยใด ๆ นะ ไม่ใช่ว่ากินเสร็จปวดเมื่อย หมดสภาพ เพลียล้า นอนไม่หลับ ฝันร้าย ตื่นมาไม่สดชื่น มันมีภัย ก็ตรวจสอบดูว่ามีภัยใด ๆ ไหม สมบูรณ์ด้วยศีล คือ กำจัดกิเลสได้สมบูรณ์นั่นเอง ปฏิบัติศีลด้วยปัญญาจนกำจัดกิเลสได้สมบูรณ์ คือ สมบูรณ์ด้วยศีล ก็คือ อย่างน้อยก็อนาคามีในคราวนั้น ๆ อรหันต์ในคราวนั้น
เพราะศีลสมบูรณ์เปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มูรธาภิเษก กำจัดราชศัตรูได้แล้ว ก็คือกำจัดกิเลสได้ กิเลสคือศัตรูของเรา เป็นเหตุแห่งทุกข์ กำจัดเหตุแห่งทุกข์ได้ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหน ๆ เลย ไม่มีกิเลส ก็ไม่มีภัย เพราะกิเลสคือ ภัย สมบูรณ์ด้วยศีลจะไม่มีภัยจากกิเลส
เพราะศีลสังวรนั้น คือ การปฏิบัติศีลด้วยปัญญา ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุข เพราะฉะนั้นจะมีแต่สุขเท่านั้น ได้เสวยสุขมีความยินดีไหม? มีความยินดีใช่ไหม ได้เสวยสุขคือ มีแต่เรื่องดี ๆ ไม่มีเรื่องร้าย พระสารีบุตรบอกว่า ความยินดีคือ ความสุข ได้เสวยสุขก็คือ ได้ความยินดี ได้ร่างกายดี ๆ ได้เหตุการณ์ดี ๆ ได้สิ่งดี ๆ ได้ความยินดีอันปราศจากโทษในภายใน ก็แปลว่าไม่มีเหตุแห่งทุกข์เลย มีแต่เหตุแห่งความพ้นทุกข์ ไม่มีทุกข์ใจ มีแต่ความยินดี ไม่มีวิบากร้าย ไม่มีเงื่อนไขให้ใจเป็นทุกข์ ปฏิบัติศีลด้วยปัญญาอย่างตั้งมั่น อ่านอาการกิเลส พิจารณาไตรลักษณ์ จนสลายกิเลสได้ นี่แหละ ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษอันภายใน
ผู้ใดที่กินอาหารวันละมื้อที่ถึงพร้อมด้วยศีลเป็นอย่างนี้ คือ กินอาหารวันละมื้อแล้วชำแรกกิเลสได้ด้วย กินอาหารวันละมื้อแต่อยากอยู่ ๆ อยากมื้อเช้า มื้อเย็นไปหมด เต็มไปด้วยกิเลส อยากเสพดั่งใจหมาย มันไม่สดชื่น จะหมดแรง ไม่ยินดี
อานิสงส์เจากการกินอาหารวันละมื้อ คือ
- เจ็บป่วยน้อย
- ลำบากกายน้อย
- เบากาย เบาใจ ถ้ามีกิเลส กินวันละมื้อจะหนักใจเลย เมื่อไหร่จะถึง 11 โมงหนอ หนักกายหนักใจเลย บางทีไปเจออันที่ถูกใจนอกมื้ออีก ทำไมไม่ไปทำในมื้อเรา ก็จะหนักกาย หนักใจ จะไม่ยินดี เห็นกิเลสก็ กำจัด จับได้แล้วอยากได้สุขลวงทุกข์จริง ก็พิจารณากำจัดกิเลสเลย อย่าไปเลี้ยงกิเลส เห็นกิเลสแล้วแต่ไม่กำจัดกิเลส เพราะปัญญายังไม่เต็มจึงไม่เอาจริงเอาจังในการกำจัดกิเลส
- มีกำลัง ถ้ากินวันละมื้อแล้วหมดกำลังก็มาจากมีกิเลส หรือ ประมาณไม่พอเหมาะ ก็ตรวจดูเอา
- เป็นอยู่ผาสุก ก็จะเกิดเรื่องดีทุกมิติ กินอาหารวันละมื้อก็ต้องปฏิบัติศีลให้สมบูรณ์ตามลำดับ รวมทั้งโลกธรรม อัตตาก็ต้องกำจัดไปตามลำดับ
ในโลกใบนี้ไม่มีอะไรกินแรงเท่ากับกิเลส กำจัดกิเลสได้เท่าไหร่จะได้แรงกลับมาเท่านั้น
ดร.ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว)
รายการธรรมะพาพ้นทุกข์ วันที่ 15 เมษายน 2564
ณ ดอยแพงค่า พุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ
บ้านแม่เลา ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง
จังหวัดเชียงใหม่
รับชมการบรรยายธรรมผ่านช่อง YouTube หมอเขียวทีวี