ใบเหลียงมีฤทธิ์เย็น
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงพุ่มสูง 1-3 เมตร ลำต้นมีขนาดเล็ก ลักษณะใบคล้ายใบต้นยางพารา ใบแตกออกมาจากปลายยอดของต้นและกิ่ง ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน มีก้านยาว ลักษณะใบเป็นทรงรี ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ใบแก่มีสีเขียว ยอดอ่อนมีสีแดง ใบอ่อนหรือใบเพสลาดสีเขียวอ่อนเหมาะที่จะนำไปกิน
ดอก…ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ก้านช่อดอกสั้น ดอกมีลักษณะทรงกลมเล็ก ๆ สีเหลืองนวล ผลมีลักษณะทรงกลมรี ผลดิบมีสีเขียว ผลแก่สีเหลืองอมส้ม เปลือกหนา เนื้อในผลสีขาวนวล มีเมล็ดอยู่ภายในเป็นเนื้อสีน้ำตาล
สรรพคุณของใบเหลียง
- สรรพคุณในทางยาของใบเหลียงสามารถรับประทานเพื่อบำรุงเส้นเอ็น กระดูก สายตา และสามารถใช้ลอกฝ้าได้ เมื่อเปรียบเทียบคุณค่าทางอาหารของใบอ่อนของเหลียงกับผักอื่น ๆ ในท้องตลาดแล้ว พบว่าใบอ่อนของเหลียงให้พลังงาน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เหล็ก ฟอสฟอรัส และวิตามินเอมากกว่าผักชนิดอื่น ๆ และมีปริมาณแคลเซียมสูงถึง 150.50 mg/100 g
- ใช้เพื่อแก้โรคท้องร่วง การลดการเกิดมะเร็งลาไส้ ซึ่งโรคท้องร่วงเป็นโรคที่สามารถพบได้ทั่วไป และมะเร็งลำไส้
- ช่วยป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งและเนื้องอก
- ป้องกันโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน