#ต้นกัลปพฤกษ์ยุคพระศรีอารย์
การแบ่งปันลาภแก่กันเป็นสาธารณโภคี เป็นต้นกัลปพฤกษ์ สาธารณโภคีเป็นต้นกัลปพฤกษ์มากินมาใช้ร่วมกัน สาธารณะก็เป็นของทุกชีวิตโภคีโภคะก็คือสมบัติ ของกินของใช้ ของกินของใช้ที่เป็นสาธารณะร่วมกัน
เป็นของกองกลางร่วมกันเป็นต้นกัลปพฤกษ์ ถ้าใครเคยได้ยินต้นกัลปพฤกษ์ ยุคพระศรีอารย์จะเกิดต้นกัลปพฤกษ์ขึ้นว่าอย่างนั้นนะ ใครเดินผ่านมาก็เก็บกินเก็บใช้ได้ สามารถเก็บกินเก็บใช้ได้กินใช้ร่วมกัน นี่แหละต้นกัลปพฤกษ์
แต่ละคนก็มาทำงานฟรีแล้วก็เอาเข้าส่วนรวมส่วนกลางเอาเข้ากองบุญส่วนรวมส่วนกลาง ก็กินใช้ร่วมกัน ต่างคนต่างลดกิเลสมันก็กินใช้ร่วมกันได้อย่างดี ไม่ได้ไปใช้เปลืองใช้ผลาญ กินใช้ร่วมกันแล้วก็ใช้การพัฒนาขึ้นไป
“เป็นสภาพสังคมที่ดีที่สุดในโลก”
การได้หลงเกิดมาเป็นคนแล้ว หลงเกิดมามีชีวิตเป็นสัตว์เซลล์เดียวพัฒนาจนเป็นสัตว์หลายเซลล์จนเป็นคนมานี่นะชีวิตนี่นะเกิดแก่เจ็บแล้วก็ตาย เกิดมาเป็นคนก็เดินทางไปสู่ความตาย เอ้าแล้วจะเดินทางไปสู่ความตายแบบไหนล่ะที่มันจะไม่เดือดเนื้อร้อนใจ มันจะผาสุกที่สุดความเดือดร้อนน้อยที่สุด ชีวิตผาสุกที่สุดแล้วก็เป็นประโยชน์สูงที่สุด
นี่แหละชีวิต อันดับแรกนี่ให้มันไร้ทุกข์ที่สุดนี่แหละ ให้มันไร้ทุกข์ที่สุดชีวิตก็จะผาสุกที่สุด แล้วก็ให้เป็นประโยชน์ที่สุดต่อตนเองและผู้อื่น ก็ระบบสาธารณโภคีนี่แหละ จะทำให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นได้
การดำรงชีวิตไม่ต้องไปดิ้นรนขวนขวาย โอ้โหแย่งเงินแย่งทองแย่งทรัพย์สมบัติให้มันปวดหัว ให้มันทุกข์ทรมานตัวเองและผู้อื่น ไม่ต้องเลยชีวิตเบาภาระไปตั้งเยอะเลย เบาภาระไปตั้งเยอะเลย มันสบายกว่ากันเยอะเลย
นี่แหละโอ้โหมีกองบุญกินใช้ร่วมกัน คนหาตังค์เก่งไม่เก่งก็ไม่มีปัญหา ใครทำอะไรเก่งไม่เก่งก็ไม่มีปัญหา ทำผลผลิตด้านนั้นด้านนี้เก่งไม่เก่งไม่มีปัญหาหรอก มาทำร่วมกันมาช่วยกัน มันจะมีที่คนแต่ละคนเก่งแต่ละด้านแต่ละด้านแต่ละด้าน มันจะมาเสริมเติมเต็มกันเอง ก็เอาด้านที่ตัวเองเก่งนั่นแหละมาบำเพ็ญร่วมกัน แล้วก็แบ่งปันกัน
ก็ตรงกับที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่านอกจากการแบ่งปันเผื่อแผ่กันแล้ว สัตว์ทั้งปวงหามีที่พึ่งอย่างอื่นไม่ สาธารณโภคีก็คือการแบ่งปันนั่นแหละ คือสัมมาทิฏฐิข้อที่ 1 ทานที่ให้แล้วมีผล อะถิทินนัง แต่ละคนก็แบ่งปันกันไปทำอะไรได้ก็ไม่เอาเข้าส่วนตัวแบ่งปันไปเลย เข้าส่วนกลางไปเลย แล้วตัวเองก็กินน้อยใช้น้อยที่สุด ส่วนกลางก็เอาไปบริหารไปให้เกิดประโยชน์ต่อทุกชีวิตให้ได้มากที่สุด ก็เป็นบุญ กุศลสูงสุดเลย อย่างนี้เป็นต้น
เห็นไหมชีวิตก็ได้สั่งสมบุญกุศลทุกวัน สั่งสมกุศลทุกวันพลังบุญก็มากขึ้นทุกวัน พลังชำระกิเลสก็ถูกชำระไปทุกวัน ความทุกข์ใจก็หมดไปได้ทุกวันทุกวัน ความทุกข์ใจกับวิบากร้ายก็หมดไปทุกวันทุกวัน สิ่งดีๆก็เพิ่มขึ้นทุกวัน วิบากดีก็เพิ่มขึ้นทุกวัน
“นี้เรียกว่าระบบสาธารณโภคี คือการกินใช้ส่วนกลางร่วมกัน”
ศีลสามัญญตา ก็ต้องมีศีลบริบูรณ์เสมอกัน แต่ละคนก็มีศีลบริบูรณ์เสมอกันไปเป็นลำดับลำดับ เสมอสมานกันศีลสามัญญตาอย่างน้อยก็มีศีล ๕ เสมอกันสมานกัน ศีล ๘ ก็เสมอกัน ศีล ๑๐ ก็ เป็นศีล ๑๐ เสมอกัน แต่ละศีลแต่ละศีล ที่เสมอก็จะเกิดการสมาน จะเกิดการเกื้อกูลช่วยกันในแต่ละศีลแต่ละลำดับ รวมทั้งคนละลำดับด้วย ศีลลำดับเดียวกันก็จะพูดคุยกันรู้เรื่อง ก็ช่วยกันพัฒนากันขึ้นไป หรือแม้แต่คนละลำดับก็มีการเกื้อกูลช่วยเหลือกันไป ในแต่ละลำดับ เป็นศีลสามัญญตา
ปฏิบัติศีลร่วมกันไปให้เจริญขึ้นเจริญขึ้นไปเป็นลำดับลำดับ แล้วก็มีทิฏฐิสามัญญตา หรือนิยะยานิกธรรม ความเห็นอย่างอาริยะเสมอกัน ก็จะมีความเห็นความรู้ความเห็นความเข้าใจที่เป็นอริยะเสมอกันไปเป็นลำดับเสมอกันไปเป็นลำดับๆ
รู้จักอริยสัจ ๔ การปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ไปเป็นลำดับลำดับ เสมอกันเป็นญาณ ๗ พระโสดาบัน ญาณ ๗ พระโสดาบัน มีตั้งแต่อ่านกิเลสเป็นล้างกิเลสได้ ในข้อที่ ๑ ข้อที่ ๒ พากเพียรล้างกิเลส มีความขยันหมั่นเพียรในการล้างกิเลส ข้อที่ ๓ ก็รู้ว่าในธรรมวินัยนี้เท่านั้นแหละที่กำจัดกิเลสได้จริง ดับทุกข์ได้จริง ธรรมวินัยอื่นอย่างอื่นไม่มี ในลัทธิอื่นไม่มี อย่างนี้เป็นต้น
มีแต่ลัทธิพุทธะนี้เท่านั้น มีแต่ปฏิบัติแบบพุทธะนี้เท่านั้นแหละที่ทำให้พ้นทุกข์ได้ หมายความว่าพุทธะถูกตรงนะ ไม่ใช่พุทธะปลอม พุทธะตรงๆนี่แหละจะดับทุกข์ได้ อันที่ ๔ ก็ทำผิดแล้วสำนึก รีบสังวรรีบแก้ไข ๕ ทำประโยชน์ตนประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาท
นี่แหละ ข้อที่ ๕ นี่ก็ทำประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ประโยชน์ตนประโยชน์ท่านก็คือขวนขวายกิจใหญ่น้อยของเพื่อนสหธรรมิกหมู่มิตรดี ก็คือประโยชน์ท่าน พร้อมกับแพ่งเล็งกล้าในอธิศีลอธิจิตอธิปัญญา ก็คือประโยชน์ตนก็คือกำจัดกิเลส
เขาเรียกว่าบำเพ็ญกุศลไปด้วยบำเพ็ญบุญไปด้วย ชำระกิเลสไปด้วยบำเพ็ญกุศลไปด้วย ไปพร้อมๆกัน ชำระกิเลสก็เป็นประโยชน์ตน ตนก็พ้นทุกข์ บำเพ็ญกุศล ก็เป็นประโยชน์ท่าน โลกก็ได้รับประโยชน์ ก็ซ้อนกลับมาเป็นวิบากดีของตนให้ได้อาศัย ก่อนที่ทุกอย่างจะดับไป ก็เป็นสิ่งที่ดี ดูดสิ่งดีเข้ามาดันสิ่งร้ายออกไป
ส่วนญาณข้อที่ 6 ก็เป็นขวนขวายในการฟังธรรม เงี่ยโสดฟังธรรม ขวนขวายฟังธรรมศึกษาธรรม ญาณข้อที่ 7 นี่ พอได้ศึกษาธรรมได้ฟังธรรมก็เกิดความปราโมทย์ความยินดี รู้อรรถรู้ธรรมปราโมทย์ในธรรม รู้อัตถะก็รู้สาระประโยชน์ รู้ธรรมก็รู้ความเชื่อมโยงของเหตุและผล
รู้ความเชื่อมโยงของเหตุและผล เหตุอะไรเกิดเป็นโทษเหตุอะไรเกิดเป็นประโยชน์ รู้ความเชื่อมโยงของเหตุและผล แล้วก็มีความปราโมทย์ในธรรมก็มีความยินดีในธรรมะ ที่จะ พึ่งตนและช่วยคนให้พ้นทุกข์ได้ ธรรมะที่เป็นประโยชน์ประเสริฐที่สุดต่อตนเองต่อผู้อื่น นี่คือสาราณียธรรม 6
“สาธารณโภคีจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องครบองค์ประกอบ ของ สาราณียธรรม 6 นี้ ที่จะเกิดขึ้นได้”
ไม่เช่นนั้นมันจะเหมือนทั่วๆไปที่เขาก็มีกองทุนหมู่บ้านอยู่นะ กองทุนหมู่บ้านกองทุนอะไรก็ไม่รู้ มีสหกรณ์มีอะไรของเขาล่ะนะ กองทุนนั้นกองทุนนี้ กองทุนเขาก็มีกันทั้งนั้นแหละ แต่เขาไม่ได้มีองค์ประกอบของสาธาราณียธรรม 6 ครบนี่มัน
สุดท้ายแล้ว ถ้าไม่ได้ลดกิเลสไม่ได้มีศีล ที่ถึงขั้นทิฏฐิสามัญญตา ถึงขั้นลดกิเลสได้ ถึงขั้นแต่ละคนมุ่งทำประโยชน์ตนประโยชน์ท่านให้ถูกตรงตามหลักพุทธะ ไม่ได้ลดกิเลสเนี่ยสุดท้ายแล้วก็ล่มสลาย
เพราะอะไร ขี้โกง มันก็จะเกิดความขี้โกง เกิดการไปเสพสิ่งต่างๆเกินความจำเป็นของชีวิต เกิดความขี้โกงขึ้นมามันก็พังพินาศหมด นั่นแหละเพราะว่าไม่ลดกิเลส นี่มันเป็นสัจจะอย่างนั้น
เพราะฉะนั้นนี่สาธารณโภคีของเขาก็ไม่ใช่พุทธะ มันก็เป็นกองบุญอะไรของเขาไปก็ว่าไป เป็นกองบุญกองทุนของเขาไปแบบที่เขาเป็น ก็แล้วแต่จะเรียกชื่ออะไรก็ว่าไป ถ้าไม่มีองค์ประกอบของสาราณียธรรม 6 นี่สุดท้ายยังไงก็ไปไม่รอด สุดท้ายโอ้โฮพังพินาศ ปวดหัว
พังพินาศ มันจะมีความขี้โกงอยู่ในนั้นเยอะแยะเต็มไปหมด แล้วก็มีวิบากร้าย นอกจากจะมีความขี้โกงแล้วโอ้โห บางทีก็ไม่ได้มีความคิดโกงก็ได้ แต่ว่าพากันเสพกิเลสไปมากๆมากๆ ก็จะมีวิบากร้ายโหมกระหน่ำ ก็พัง ไม่เหลือหรอกสุดท้ายก็พังพินาศหมด แต่ว่ามันก็มักจะมีขี้โกงมาเกี่ยวข้องเสมอ มีขี้โกงมาเกี่ยวข้องก็ได้หรือพังพินาศด้วยวิบากอื่นๆก็ได้ เพราะอะไรเพราะว่าไม่ได้มีหลัก สาราณียธรรม 6 แท้แบบพุทธะ
พระพุทธเจ้าจึงเป็นผู้ตรัสรู้ว่าควรจะมีกองบุญส่วนกลาง กินใช้ร่วมกัน จะไม่ให้มันเกิดการขี้โกงไม่ให้มีวิบากร้าย ให้มีแต่วิบากดีเจริญรุ่งเรืองขึ้นไปเรื่อยๆนั้น จำเป็นจะต้องมี เมตตากายกรรมวจีกรรมมโนกรรม มีสาธารณโภคีกองบุญส่วนกลางร่วมกัน มีศีลสามัญญตา ทิฏฐิสามัญญตา ศีลบริบูรณ์เสมอกัน มีความเห็นอย่างเป็นอาริยะ นิยยานิกธรรม บริบูรณ์เสมอกัน ทิศทางเดียวกัน
มันจึงจะเกิดความเจริญได้ไม่งั้นมันเจริญไม่ได้มันมั่นคงไม่ได้ มันมั่นคงไม่ ได้กิเลสนี่มันไม่เข้าใครออกใครนะ
อาจารย์ ดร.ใจเพชร กล้าจน
ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทางเลือกวิถีธรรม
๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๓
รายการ ธรรมะพาพ้นทุกข์
ณ พุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ
ต.ป่าแป๋ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
สาธารณโภคีดีอย่างไร
ยูทูป: https://youtu.be/uub-_vfwwBA