ดิบมีฤทธิ์เย็น และ สุกมีฤทธิ์ร้อน
มะม่วง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangifera Indica) เป็นไม้ยืนต้นในสกุล Mangifera ซึ่งเป็นไม้ผลเมืองร้อนในวงศ์ Anacardiaceae (กลุ่มเดียวกับถั่วพิสตาชีโอและมะม่วงหิมพานต์) เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เพราะการที่ภูมิภาคนั้นมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและร่องรอยฟอสซิลที่หลากหลาย นับย้อนไปได้ถึง 25-30 ล้านปีก่อน มะม่วงมีความแตกต่างประมาณ 49 สายพันธุ์กระจายอยู่ตามประเทศในเขตร้อนตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบโต ยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีแดง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดแบน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง
มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจ ปลูกเป็นพืชสวน ประเทศไทยส่งออกมะม่วงเป็นอันดับ 3 รองจากฟิลิปปินส์ และเม็กซิโก เป็นผลไม้ประจำชาติของอินเดีย ปากีสถาน และฟิลิปปินส์ รวมทั้งบังกลาเทศ
สรรพคุณของมะม่วง
- มะม่วงมีสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ กรดแกลลิคแมงจิเฟอรินและฟลาโวนอยด์ มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
- หรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง
- จากการศึกษาวิจัยพบว่า มะม่วงแก้วมีฤทธิ์ดีที่สุดในการต้านอนุมูลอิสระ โดยได้ผลดีกว่าวิตามินซี
- และนอกจากนี้ยังมีรายงานว่า สารสกัดจากน้ำมะม่วงมีผลในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน แต่พบว่ามีฤทธิ์อ่อน และหากต้องการลดระดับน้ำตาลในเลือด ควรรับประทานมะม่วงเขียวเสวย
จากข้อมูลงานวิจัยโครงการ Thai Fruits Functional Fruits สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยนักทีมวิจัยรายงานว่า การรับประทานมะม่วง
- จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคมะเร็ง
- และยังช่วยป้องกันและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อผู้สูงอายุเป็นอันมาก เนื่องจากจะช่วยป้องกันเซลล์ตับและลดน้ำตาลในเลือด
- *แต่สำหรับผู้มีความเสี่ยงต่อภาวะไขมันสูง ควรระวังในการรับประทานมะม่วง เพราะจะทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเพิ่มขึ้น
มะม่วง เหมาะกับ
- ผู้มีปัญหาสิว เพราะมะม่วงมีกรดดีอยู่หลายชนิดช่วยบำรุงผิว มีวิตามินเอ วิตามินอี
- ผู้เบื่ออาหาร เพราะมะม่วงมีวิตามินหลายชนิดช่วยชดเชย เช่นวิตามินเอ วิตามินอี ธาตุเหล็ก
- คนท้องเสีย น้ำมะม่วงคั้นสดช่วยเป็นแหล่งน้ำตาล “ฟรุกโตส” ชั้นดีที่ช่วยเติมเต็มให้ในช่วงที่ขาดน้ำและเสียเกลือแร่
- คนท้องผูก มะม่วงช่วยคลายลำไส้ให้บีบตัวดีแถมมีเส้นใยมากช่วย “ดีท็อกซ์” ลำไส้ได้
- ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ กรดเปรี้ยวในน้ำมะม่วงช่วยล้างตั้งแต่กรวนไตไปจนถึงท่อปัสสาวะได้สะอาดหมดจด
มะม่วงไม่เหมาะกับ
- โรคไต เพราะขับเกลือแร่ออกได้ไม่ดี
- โรคหัวใจรุนแรง เพราะมะม่วงมีแร่ธาตุเกี่ยวกับการเต้นของหัวใจอย่าง “โพแทสเซียม” อยู่ค่อนข้างสูง
แหล่งข้อมูล
- เอกสารหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เอกสารกลุ่มวิชาการและฝึกอบรม สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จ.ระยอง
- เว็บไซต์วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี