ดอกแคมีฤทธิ์เย็น
ส่วนที่นำมารับประทานได้ของแค คือ ยอดอ่อน ฝักอ่อนออกในช่วงฤดูฝน ใบอ่อนมีรสหวาน ดอกอ่อนออกในช่วงฤดูหนาว ดอกแคมีเส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก แคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง และวิตามินซี ก่อนนำไปทำอาหารต้องดึงเอาเกสรออกก่อนเพื่อลดความขม ส่วนที่รับประทานได้ของแคสามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายอย่าง อาทิ เช่น แกงส้มดอกแค ดอกใบยอกฝักอ่อนของแคนำมาลวกจิ้มน้ำพริกได้ ล้วนเป็นอาหารที่มีคุณค่าให้ประโยชน์ทั้งสิ้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา ขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 3-4 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ 2-4 ดอก ดอกสีขาวหรือแดง มีกลิ่นหอม ก้านเกสรเพศผู้สีขาว 60 อัน ผล เป็นฝัก ยาว 8-15 ซม. ฝักแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดกลมแป้น สีน้ำตาล มีหลายเมล็ด
สรรพคุณ
“ ดอกแค ” จัดว่าเป็นพืชสมุนไพรที่มีเฉพาะในแถบเอเชียบางประเทศ เป็นต้นไม้มีขนาดกลาง จัดว่าเป็นพืชสมุนไพรที่ชาวต่างชาติมองว่าเป็นของที่หายากมาก และมีราคาสูง แต่ในประเทศไทยเรากลับหาได้ง่าย และราคาถูก หลายคนเข้าใจว่า “ดอกแค” คือผักชนิดหนึ่ง แต่ในทางสมุนไพรศาสตร์ “ดอกแค” จัดว่าเป็นพืชสมุนไพร เพราะว่าในช่วงสมัยโบราณดอกแคเป็นยาแผนโบราณที่อุดมไปด้วยคุณค่า มีทั้งวิตามิน เบต้าแคโรทีน ธาตุเหล็ก และให้โปรตีนแก่ร่างกายได้ ดอกแคต้มนิยมนำไปกินกับน้ำพริก และยังสามารถใช้ประกอบอาหารประเภทแกงได้อีกด้วย
- เปลือก
– ต้มหรือฝนรับประทาน แก้โรคบิดมีตัว
– แก้มูกเลือด แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ
– ภายนอก ใช้ชะล้างบาดแผล - ดอก ใบ – รับประทานแก้ไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู (แก้ไข้หัวลม)
- ดอกแคมีประโยชน์ใช้เป็นยาระบายได้ ช่วยรักษาอาการหัวลม ช่วยถอนพิษไข้
- แก้หวัด
- ช่วยลดความร้อนในร่างกาย แก้ร้อนใน
- ยาขับเสมหะ
- ลดน้ำมูก ลดอาการอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูก
- นำไปสกัดเป็นส่วนผสมของแชมพูสระผม ช่วยลดอาการคันหนังศีรษะ ช่วยลดรังแค ช่วยป้องกันผมร่วง
- บำรุงสายตา เนื่องจากมีเบต้าแคโรทีน
- ดอกแคยังอุดมด้วยสารต่าง ๆ โดยเฉพาะบีตา-แคโรทีนที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ จึงช่วยบำรุงสายตา
- ต่อต้านมะเร็ง
- มีแคลเซียม ฟอสฟอรัสสูง จึงช่วยเสริมสร้างกระดูก
- ชาวอินเดีย ใช้สูดน้ำที่คั้นได้จากดอกหรือใบแคเข้าจมูกรักษาโรค ริดสีดวงในจมูก และทำให้มีน้ำมูกออกมา แก้ปวดและหนักศีรษะ ลดความร้อน ลดไข้
- ใบสด
– รับประทานใบแคทำให้ระบาย
– ใบแค ตำละเอียด พอกแก้ช้ำชอก
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
- แก้มูกเลือด บิดมีตัว แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ
ใช้เปลือกต้นปิ้งไฟ 1 ส่วน ต้มกับน้ำหรือน้ำปูนใส 10 ส่วน รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง - แก้ไข้ ลดความร้อน แก้ไข้หัวลม (หรือไข้อากาศเปลี่ยน)
– ใบสด ต้มกับน้ำรับประทานลดไข้ ใช้ยอดอ่อนจำนวนไม่จำกัด ลวกจิ้มกับน้ำพริก รับประทานแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
– ใช้ดอกที่โตเต็มที่ล้างน้ำ ต้มกับหมูทำบะช่อ 1 ชาม รับประทาน 1 มื้อ รับประทานติดต่อกัน 3-7 วัน จะได้ผล
แหล่งข้อมูล
- เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- เว็บไซต์วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี