จริยาวัตรของกัณหทีปายนะดาบส
วันที่ 27 มีนาคม 2563 อ.หมอเขียวเน้นย้ำว่า เมื่อเกิดวิกฤต ชาวพุทธจะตั้งและปฏิบัติอริยศีลที่ถูกตรง เพื่อเพิ่มพลังกุศล ครั้งนี้ อาจารย์หมอเขียวยกตัวอย่างการปฎิบัติของพระโพธิสัตว์เมื่อเจอภัยพิบัติ จากพระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 33 เล่มย่อยที่ 3 หน้าที่ 402 ข้อที่ 31 กัณหทีปายนจริยาที่ 11 ว่าด้วยจริยาวัตรของกัณหทีปายนะดาบส
ในชาตินี้พระพุทธเจ้าท่านเป็นฤาษีชื่อว่ากัณหทีปายนะ ซึ่งไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ กว่า 50 ปี คือควบคุมกาย วาจา ได้แต่ไม่ได้ทำถึงใจ อย่างไรก็ตาม ท่านทำสัจจกิริยาจากการที่ท่านปฏิบัติพรหมจรรย์ในอดีตอยู่ 7 วัน การนี้ทำให้เด็กพ้นจากพิษงูได้ ซึ่งอาจารย์หมอเขียวได้ให้กำลังทุกคนว่า แม้ในอดีตจะเป็นอย่างไร ให้ ณ ปัจจุบันทำศีลให้ดีที่สุด และปล่อยไปตามธรรม ในช่วงท้ายอาจารย์หมอเขียวได้แนะนำการเบิกพลังความดีมาใช้อีกด้วย ขอเชิญทุกท่านรับฟังค่ะ
จริยาวัตรของพระยาปลา
วันที่ 27 มีนาคม 2563 อาจารย์หมอเขียวเน้นย้ำว่า เมื่อเกิดวิกฤต ชาวพุทธจะตั้งและปฏิบัติอริยศีลที่ถูกตรง เพื่อเพิ่มพลังกุศล ครั้งนี้ อ.หมอเขียวยกตัวอย่างการปฏิบัติของพระโพธิสัตว์เมื่อเจอภัยพิบัติ จากพระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 33 เล่มย่อยที่ 3 หน้าที่ 401 ข้อที่ 30 มัจฉราชจริยาที่ 10 ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยาปลา
ในชาตินี้ท่านระลึกได้ว่าท่านไม่รู้สึกว่าแกล้งเบียดเบียนสัตว์แม้ตัวหนึ่งให้ได้รับความลำบากเลย ท่านจึงใช้สัจจวาจานี้ ขอฝนให้ตกลงมา ซึ่งทำให้ท่านและหมู่ญาติของท่านรอดพ้นจากภัยแล้ง นอกจากนี้ อาจารย์หมอเขียวได้ยกตัวอย่างองคุลิมาล ฟังแล้วน่าจะเป็นพลังให้ทุกท่าน ร่วมสร้างพลังพุทธะ ด้วยการลด ละ เลิกเนื้อสัตว์กันค่ะ ขอเชิญทุกท่านฟังรายละเอียดกันค่ะ
จริยาวัตรของธรรมเทพบุตร
วันที่ 27 มีนาคม 2563 อาจารย์หมอเขียวเน้นย้ำว่า เมื่อเกิดวิกฤต ชาวพุทธจะตั้งและปฏิบัติอริยศีลที่ถูกตรง เพื่อเพิ่มพลังกุศล ครั้งนี้ อ.หมอเขียวยกตัวอย่างการปฏิบัติของพระโพธิสัตว์เมื่อเจอภัยพิบัติ จากพระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 33 เล่มย่อยที่ 3 หน้าที่ 390 ข้อที่ 18 ธรรมเทวปุตตจริยาที่ 8 ว่าด้วยจริยาวัตรของธรรมเทพบุตร
ครั้งหนึ่งรถของท่านธรรมวาทีเทพบุตรชนกับรถของอธรรมวาทีเทพบุตรที่แอกรถ ซึ่งอาจเกิดการทะเลาะวิวาทกัน แม้ท่านมีฤทธิ์ที่จะทำร้ายอธรรมวาทีได้ แต่เพื่อการรักษาศีล ท่านจึงระงับจิตด้วยการหลีกทางให้แก่อธรรมวาทีเทพบุตร จากนั้นแผ่นดินได้สูบอธรรมวาทีเทพบุตร ชี้ให้เห็นว่า เราสามารถฆ่าสัตว์ได้ แต่เราเลือกที่จะไม่กิน เราจะใจดำไม่ช่วยเหลือใครก็ได้ แต่เราก็ช่วยเหลือ ถ้าช่วยเหลือไม่ได้เราก็ตัดรอบ นี้คือการบำเพ็ญ รักษาศีล ศีลจึงคุ้มครอง ฉะนั้นถ้าเราเป็นผู้ที่บำเพ็ญศีลนั้นจริง เราก็สามารถนำพลังศีลนั้นมาคุ้มครองให้อยู่รอดปลอดภัยได้ มาพัฒนาสิ่งใด ๆ หรือใช้ช่วยเหลือใคร ๆ ได้
ในช่วงท้ายอาจารย์หมอเขียวแนะนำว่า ในภาวะวิกฤตนี้ ให้ตั้งจิตบำเพ็ญศีล ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระโพธิสัตว์ ระลึกถึงครูบาอาจารย์ที่พาปฏิบัติศีลที่ถูกตรง การตั้งจิตด้วยสัจจวาจานี้ ขอให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น เท่าที่จะเป็นไปได้ตามบุญกุศล สิ่งจริงที่ได้บำเพ็ญมาจริง ตั้งจิตแบบนี้จะเป็นพลังช่วยกัน เรามาฟังรายละเอียดกันค่ะ
จริยาวัตรของลูกนกคุ้ม
วันที่ 27 มีนาคม 2563 อ.หมอเขียวเน้นย้ำว่า เมื่อเกิดวิกฤต ชาวพุทธจะตั้งและปฏิบัติอริยศีลที่ถูกตรง เพื่อเพิ่มพลังกุศล ครั้งนี้ อาจารย์หมอเขียวยกตัวอย่างการปฏิบัติของพระโพธิสัตว์เมื่อเจอภัยพิบัติ จากพระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 33 เล่มย่อยที่ 3 หน้าที่ 400 ข้อที่ 29 วัฏฏกโปตกจริยาที่ 9 ว่าด้วยจริยาวัตรของลูกนกคุ้ม
นอกจากนี้อาจารย์หมอเขียวยังยกตัวอย่างผู้รอดชีวิตจากสินามิ ในเหตุการณ์ร้ายเดียวกัน แต่ละชีวิตได้รับผลไม่เหมือนกัน สิ่งที่ทำได้ในปัจจุบันคือการปฎิบัติศีลให้ดีที่สุด การไม่เบียดเบียนจะพาพ้นทุกข์ การเพิ่มศีลจะเป็นวิบากดีที่มาช่วยเหลือเพิ่มเติม เรามาฟังคำบรรยายของอ.หมอเขียวกันค่ะ