ดาวน์โหลดเอกสารใบสมัคพรรคสัมมาธิปไตย กดที่นี่  ดูขั้นตอนการสมัคร กดที่นี่ 

ดาวน์โหลดเอกสารลงชื่อคัดค้านกาสิโนถูกกฎหมาย และไม่เห็นด้วยกับการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร กดที่นี่  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ที่นี่

630504_ธรรมะพาพ้นทุกข์

ดร.ใจเพชร กล้าจน

4 พฤษภาคม 2563

อาคารดอยฟ้า พุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ

13.00-15.00 น.

 

วันนี้วันฉัตรมงคล มีพระราชปณิธานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ในหลวงรัชกาลที่ 10 จะสืบสานที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย และมวลมนุษยชาติ

ในหลวงรัชกาลที่ 10 ท่านมีพระปัญญาธิคุณในเรื่องของจิตอาสา ที่มีจิตเสียสละที่จะทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมต่อมวลมนุษยชาติ

 

รายการธรรมะพาพ้นทุกข์ มีคำคมเพชรจากใจเพชรมาฝาก

คำคมเพชรจากใจเพชร # 1

“ปัจจัย 4 มิตรดี บุญ กุศล คือ สมบัติที่แท้จริงของชีวิต”

ดูกายวาจาใจ

บุญ คือ ลดกิเลส

กุศล คือ สิ่งที่ดีงาม ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น เป็นวิบากดี ดูดสิ่งดีเข้ามาในชีวิต ดันสิ่งร้ายออกไปจากชีวิต

บุญ จะไม่มีวิบากร้าย เพราะได้กำจัดต้นเหตุของวิบากร้าย

เพราะใจไร้ทุกข์แล้ว ก็ทำกุศล สานพลังกับหมู่มิตรดี ทำสิ่งที่ดี สิ่งที่จำเป็นต่อชีวิต

สร้างที่พึ่งที่อาศัย ให้กับชีวิต

ไม่ใช่การมีเงินทองมาก เงินไม่ใช่สิ่งที่อาศัย เงินเป็นภาระ ทำให้โลกขาดแคลน ดึงเรื่องร้ายเข้ามาในชีวิต

แต่ถ้าเราทำเรื่องปัจจัย 4 ในชีวิต ก็จะเป็นบุญกุศล

เราทำปัจจัย 4 เรากินน้อยใช้น้อย ก็เป็นวิบากดี

ที่เหลือแบ่งปันออกไป ก็เป็นวิบากดี

ทรัพย์สมบัติ ไม่ใช่ เงินทอง

แต่ทรัพย์สมบัติที่แท้จริง คือ บุญกุศล เป็นวิบากดี

สละออกไปด้วยใจที่บริสุทธิ์ กินน้อยใช้น้อย ที่เหลือก็แบ่งปันออกไปด้วยใจที่บริสุทธิ์

สิ่งที่จำเป็นที่สุดตอนนี้ คือ กสิกรรมไร้สารพิษ

ก็ช่วยกันปลูก ช่วยกันสร้างขึ้นมานี้คือ สมบัติที่แท้จริง ที่ได้ช่วยกันสร้างได้อาศัย

เป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตมั่นคงมีคุณค่าและผาสุก

 

ส่วนการมีทรัพย์สมบัติทั่วไปมากๆ ก็กันวิบากเขาไม่ได้

มีเศรษฐีติดโควิด สิ่งที่เขาต้องการ คือ ของฟรี คือ อากาศให้เขาหายใจได้

แต่ไม่ได้ เขาก็เสียชีวิตในที่สุด

 

นี้ภาพไปปลูกข้าวดอยข้าวไร่ มีฤทธิ์เย็น ที่สมดุลในยุคนี้

เราก็ไปช่วยกันปลูกช่วยกันดำ

ตรงไหนเละ ก็ช่วยกันดำ ตรงไหนไม่เละ ก็ช่วยกันปลูก

ปลูกแล้วจะได้กิน ไม่ได้กิน ก็ดูกันไป

 

ชีวิตของคนดีมีอริยศีลมาร่วมกันทำกสิกรรมไร้สารพิษ จะอยู่รอดไหม

อันนี้เป็นความมั่นคงที่สุด อันนี้คือ ความอยู่รอดที่มีคุณค่าที่สุด

ให้โลกได้เรียนรู้ มีปัญญาที่จะนำสิ่งนี้ไปใช้

ชีวิตแต่ละคนทำชั่วมาหาที่ต้นที่สุดไม่ได้

แต่ละคนถ้าไม่มีพลังดีดันวิบากร้าย มันก็ไม่ออก

ชีวิตจึงต้องมีบุญกุศล ในการดันวิบากร้ายออก

ฉะนั้น ก็ต้องมีศีล แต่ละคนทำงานฟรี ไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น

ทุกคนทำงานฟรีกันหมด ก็จะดูว่าชีวิตอยู่เย็นเป็นสุขได้ไหม

 

ข้างนอก เขาจ้างกันทำงาน เขายังอยู่ได้

แล้วเราไม่จ้าง ดูว่าเราจะอยู่ได้ไหม

ถ้าเราไม่จ้าง เราทำงานฟรี ก็ดูว่าเราจะมีผลิตผลไหม อยู่รอดได้ไหม

 

แพทย์วิถีธรรม ทุกคนทำงานฟรีหมด ไม่จ้าง ก็อยู่รอด

จ้างหรือไม่จ้าง อะไรอยู่รอด อะไรประหยัดกว่า

อาจารย์พยายามยืนยันว่าการไม่จ้างอยู่รอด

อาจารย์ไม่จ้างอยู่รอดไหม อยู่รอด พร้อมแบ่งปัน ขายถูกด้วย

เราไม่ต้องใช้เงินเยอะ เราขายของถูก

เราขายของถูก คนข้างนอกได้ประโยชน์

เราแบ่งปันออกไปเรื่อยๆ โควิดมาเราจะลำบากไหม

แบ่งปันออกไปมากๆ จะเป็นประโยชน์

คนทำงานฟรีมาเสียสละ แบ่งปันมีน้ำใจ

ของดีราคาถูก ซื่อสัตย์ มีน้ำใจ

ของดี ๆ มีคุณค่ามีประโยชน์ น่าจะขายได้ แจกก็จะมีคนรับ

คนก็จะมารับ มีคนมาอุดหนุน ถ้าไม่มีใครมาอุดหนุน ก็เจ็งเลย

ของดี ซื่อสัตย์มีน้ำใจ

กินน้อยใช้น้อย เสียสละ ทำงานฟรี

 

องค์กรไหน ทำงานฟรี

ให้มันรู้ไป ว่าเป็นไปได้ไหม

องค์กรทำงานฟรี เป็นสาระเป็นประโยชน์ ไม่ขี้เกียจด้วยนะ

กับองค์การที่จ้างเยอะๆ องค์กรไหนจะเสี่ยงกว่ากัน

 

องค์กร พวธ. ทำงานฟรี ฉลาดหรือไม่ฉลาด

ฉลาด

มีหลากหลายอาชีพด้วย ว่าคนนั้นนี้เก่งด้านนั้นนี้ ก็ช่วยเหลือกัน

ใครจะมีคุณค่าเท่าเรา ใครจะมีความสุขเท่าเรา

 

พระพุทธเจ้าตรัสในมรรคมีองค์ 8 ว่าต้องมีสัมมาอาชีวะ

จะมีสัมมาอาชีวะได้ ก็ต้องละมิจฉาอาชีวะได้

คือการทำมาหากินที่ผิด 5 อย่าง

1. การโกง (กุหนา)

2. การล่อลวง (ลปนา)

3. การตลบตะแลง (เนมิตตกตา)

4. การยอมมอบตนในทางที่ผิด (นิปเปสิกตา)

5. การเอาลาภต่อลาภ (ลาเภน ลาภัง นิชิคิงสนตา)

(พระไตรปิฎกเล่ม 14 “มหาจัตตารีสกสูตร” ข้อ 275)

 

สุดยอดของสัมมาอาชีวะ คือ พ้นการเอาลาภแลกลาภ คือ การทำงานฟรี

พระพุทธเจ้า พบอาชีพที่สำคัญที่สุดในโลก คือ อาชีพทำงานฟรี

ก็ดูเลยว่า อาชีพพ้นลาภแลกลาภ จะอยู่เย็นเป็นสุขไหม

อาจารย์พิสูจน์มา 20 กว่าปี ปรากฏว่า ก็อยู่รอด

สาวกพระพุทธเจ้า ท่านก็พิสูจน์ตามกันมา ก็อยู่รอด

อาจารย์เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ก็พิสูจน์ว่าอยู่รอด แล้วยิ่งมาทำกันมากๆ

เป็นการทำสาราณียธรรม ๖ เป็นหลักการอยู่ร่วมกันคือ  ให้ระลึกถึงกันด้วย……

  • เมตตากายกรรม (เมตตัง กายกัมมัง)
  • เมตตาวจีกรรม (เมตตัง วจีกัมมัง)
  • เมตตามโนกรรม (เมตตัง มโนกัมมัง)
  • แบ่งปันลาภแก่กันเป็นสาธารณโภคี (ลาภธัมมิกา)
  • ศีลบริบูรณ์เสมอกัน (สีลสามัญญตา)
  • ความเห็นอย่างอาริยะเสมอกัน (ทิฏฐิสามัญญตา)

(พระไตรปิฎกเล่ม 22 “สาราณียสูตร” ข้อ 282)

ก็จะเกิดสภาพพุทธพจน์ 7

สภาพของระลึกถึงกัน (สาราณียะ) รักกัน (ปิยกรณะ) เคารพกัน (ครุกรณะ) เกื้อกูลช่วยเหลือกัน (สังคหะ) ไม่วิวาทกัน (อวิวาทะ) พร้อมเพรียงกัน (สามัคคียะ) เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (เอกีภาวะ)

(พระไตรปิฎกเล่ม 22 “สาราณียสูตร” ข้อ 283)

ก็จะเป็นอปริหานิยธรรม 7 คือ ธรรมที่พาเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อมเลย

หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์

พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิก พร้อมเพรียงกันช่วยทำกิจ

ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ ไม่เพิกถอนสิ่งที่ทรงบัญญัติแล้ว

สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุผู้เป็นเถระ (ผู้ใหญ่) เป็นสังฆปริณายก และเชื่อฟังถ้อยคำของท่านไม่ตกอยู่ในอำนาจตัณหา อันจะก่อเกิดภพใหม่

ยินดีในเสนาสนะป่า (คือที่อยู่อันสงัดจากกิเลส)

ตั้งสติไว้ว่า ทำไฉนหนอ เพื่อนพรหมจรรย์ ผู้มีศีลเป็นที่รัก ที่ยังไม่มา ขอจงมาเถิดและผู้ที่มาแล้ว ขอจงอยู่เป็นสุข

(พระไตรปิฎกเล่ม 10 “มหาปรินิพพานสูตร” ข้อ 71)

 

ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ชีวิตก็จะผาสุก

เราก็มาพิสูจน์ธรรมะกัน ว่าชีวิตนี้จะอยู่รอดไหม

เรามีญาณปัญญาเรียนรู้ตามพระพุทธเจ้า ว่า เราเกิดมาด้วยอวิชชา ตั้งแต่สัตว์เซลล์เดียวมาถูกกิเลสครอบงำมา ทำชั่วเป็นวิบากร้าย ชีวิตเราก็ทุกข์ๆๆ เราก็ทำความดี จนมาพบอาจารย์พบหมู่มิตรดี ได้พบพระพุทธเจ้า ได้บำเพ็ญความดี ในชีวิตหนึ่ง อาชีพที่ดีที่สุด คือ อาชีพทำงานฟรี

ฉะนั้นอาชีพที่ดีที่สุด ก็คือ อาชีพทำงานฟรี

 

คนในโลก ถ้าเขาทำแบบนี้ คือ ทำปัจจัย 4 คบมิตรดี มีศีล เขาก็จะรอด

ชีวิตกินน้อยใช้น้อยที่สุด ก็จะเป็นประโยชน์ที่สุด

 

คำคมเพชรจากใจเพชรมาฝาก # 3-4

“น้ำใจและการแบ่งปัน เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและงดงามที่สุดในโลก

ไม่มีอะไรงดงามกว่าการแบ่งปัน สิ่งนี้ทำให้โลกสงบและร่มเย็น”

 

“กล้วยเป็นพลังเย็นที่ดีที่สุดในโลก”

 

มาช่วยกันปลูกกล้วยนวล มีคุณค่า กล้วยนวลมีลำต้นที่ใหญ่มาก ดูดน้ำได้มาก เก็บน้ำได้เยอะ เขาถึงเรียกว่า มีน้ำมีนวล เขาถึงได้ปุ๋ยเยอะ

กล้วยนวล เขาไม่แตกหน่อ ต้นเดียวก็จบ

กล้วยป่า กล้วยนวล ปลีกินดี

กล้วยนวล ถ้าไปทำน้ำหมัก น่าจะพุ่งดีมาก

เป็นปุ๋ยที่สุดยอดของเรา จะเป็นทั้งอาหาร เป็นปุ๋ยชั้นดี และเป็นพี่เลี้ยงชั้นดี

ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ไม่ได้เป็นหน่อ

 

กล้วยนวล กรุงเทพฯ เขาขายต้นละ ร้อยกว่าบาท เขาเอาประดับ

กล้วยเกิดง่ายปลูกง่าย

ท่านใดมีพันธุ์กล้วยที่กินได้ หลากหลายสายพันธุ์ จะสนับสนุน ก็ส่งมาได้ที่ภูผาฟ้าน้ำ

ที่ภูผาฯ ใครมีพืชพันธุ์อะไร ก็นำมาปลูกกัน ด้วยฝนก็ตกลงมาแล้ว น้ำก็อุดมสมบูรณ์

มาช่วยกันปลูกให้เป็นครัวของโลก อาหารไร้สารพิษที่เป็นครัวของโลก ทำให้มีอาหารไร้สารพิษให้เต็มที่เลย

เราก็จะอยู่ที่ภูผาฟ้าน้ำให้เป็นหลักเลย เพราะเราต้องช่วยดูแลพื้นที่ทำความอุดมสมบูรณ์ต่างๆ
พอโควิดจบเราก็เคลื่อนไปตามศูนย์ต่างๆ  ไปอบรม

ที่ภูผา น้ำ ป่า ดิน อากาศ  ก็อุดมสมบูรณ์ ที่สำคัญ คือ คน มีมิตรดี

เราก็ทำให้น่าอยู่ที่สุด เราจะอยู่รอดปลอดภัยไหม

ก็ดูว่า ชีวิตนี้จะเป็นอย่างไร

 

ลดกิเลสได้เรื่องเดียว เป็นพลังที่มีคุณค่ามหาศาล กำจัดกิเลสได้จริง จะกลับมาเป็นพลัง คุณค่ามหาศาลที่สุด เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นมากที่สุด

 

กิเลสมันทำร้ายตัวเอง นอกจากทำร้ายตัวเราเอง แล้วยังเหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตาม ดูสิมันจะร้ายขนาดไหน ฉะนั้น เรากำจัดกิเลสได้หนึ่งชุด มันจะมีคุณค่ามหาศาลที่สุดในโลกเลย เป็นพลังไร้ทุกข์ พลังที่ผ่องใส ที่ตีค่าไม่ได้

 

สถานการณ์โควิด

ไทยตกอันดับมาที่อันดับที่ 61

 

จุดที่มีการเบียดเบียนที่น้อย จะมีการติดโควิดน้อย

ส่วนที่ไหนมีการเบียดเบียนมาก โควิดก็ระบาดมาก

นี้เป็นการเรียนรู้วิบากกรรม ว่าคนเหมือนกันแต่ทำไมไม่เหมือนกัน

ทำไมคนประเทศกลุ่มหนึ่ง โควิดระบาดมาก

คนอีกกลุ่มหนึ่งหรืออีกประเทศหนึ่ง โควิดก็ระบาดน้อย

 

ถ้าคนปฏิบัติธรรม ก็จะต้องพูดในเรื่องสัมมาทิฎฐิ 10

พระพุทธเจ้าตรัสในจูฬกัมมวิภังคสูตร ว่าการเบียดเบียน ทำให้มีโรคมาก การไม่เบียดเบียน ทำให้มีโรคน้อย ทุกข์น้อย

 

มาดูข่าว เหล้ามันหวานหอมตรงไหน

 

จุดไหนขายเหล้ามากกินเหล้ามาก ก็จะมีวิบาก ทะเลาะเบาะแว้งกัน เป็นวิบากร้าย

เรื่องเหล้านี้อบายมุขชัดๆ

 

อาจารย์เท่าที่ดูๆ ในเนื้อหาข่าว คนที่ชอบกินเหล้า ไม่ใช่คนชอบกินเหล้า แต่เป็นคนขายเหล้า เป็นเรื่องของร้านค้าที่จะทำกำไร ที่คนจะมาซื้อเยอะๆ เขามีความโลภของเขา เขามีวิบากกรรมต่างๆนาๆ

 

กินเหล้า อาจารย์ดูว่า ไม่ได้ติดเหล้า จริงๆ กินเอาหน้าเอาตามากกว่า กินเอาโลกธรรม กินอวดเรื่องนั้นเรื่องนี้ ว่าตัวเองเก่งเรื่องไหนบ้าง มันจะโชว์โลกธรรมอัตตา

กินเหล้า มันก็เป็นขี้ข้าเหล้าอัตตา โชว์โลกธรรม โชว์อัตตา การติดค่าของศักดิ์ศรีในวงเหล้า

หาเรื่องให้ตัวเองกร่างให้ชื่นชม

บางคนก็กินเพื่อกลบเกลื่อนชั่วคราวให้ทุกข์ต่อ ไม่มีปัญญาดับทุกข์ตัวเองให้มีความสุข

เครียด ก็กินเหล้าดับความเครียด

อันนี้ไม่ใช่คนส่วนใหญ่ของประเทศ ก็เป็นคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ที่เสพโลกธรรมอัตตาอวดกัน

 

….

คนกินเหล้า คนไม่กินเหล้า ใครฉลาดกว่ากัน

คนกินเหล้า คือ คนอ่อนแอ ไม่เข้มแข็งในจิตวิญญาณ

….

ดูข่าว วิเคราะห์ข่าว เราก็ปรารถนาดี เมตตาอุเบกขา

 

ต่อพระไตรปิฎกเล่มที่ 28/571

พระเนมิราช ปางหนึ่งของพระพุทธเจ้า ท่านบำเพ็ญพระโพธิสัตว์

ที่ท่านบำเพ็ญจนเกิดญาณปัญญา เป็นปัญญาของท่านเอง ที่ท่านบำเพ็ญมา

ที่เป็นเทวดาพูดคุยกับท่าน

 

นี้ถ้าไปเรียนรู้ที่นาซ่าบินออกไปนอกโลก หรือหน่วยเจาะบาดาล ก็ไม่ได้เห็นนรกสวรรค์ในจิตวิญญาณของตนเอง

 

จิตวิญญาณของคน ก็คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่สามารถสร้างสีแสงขึ้นมาให้เห็นได้ เหมือนที่เราเห็นภาพในฝัน ที่เราก็ทุกข์ ๆ เหมือนเวลาวิ่งหนีอะไรก็ตาม ขาเราก็ช้าๆ ก้าวไม่ออกเลย พอเราตื่นขึ้นมา ก็หอบแฮกๆ หมดเรี่ยวหมดแรง ทุกข์ ก็เหมือนอย่างนั้นแหละ

ทำผิดศีลไม่พากเพียร กำจัดกิเลส ให้ได้ครึ่งหนึ่ง จะได้ไม่ตกนรก

ปฏิบัติศีล 5 ให้ได้ลงตัว จะได้ไม่ไปลงนรก ไม่งั้นไปลงนรกแน่

 

28 [571] วิมาน 5 ยอดนี้ปรากฏอยู่ นางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก ประดับอาภรณ์

ทุกอย่างมีดอกไม้เป็นต้น นั่งอยู่ท่ามกลางที่ไสยาสน์ แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ

สถิตอยู่ในวิมานนั้น  ดูกรมาตลีเทพสารถี ความปลื้มใจเกิดขึ้นแก่เรา

เพราะได้เห็นความเป็นไปของเทพธิดาผู้อยู่ในวิมานนี้  เราขอถามท่าน

นางเทพธิดานี้ได้ทำกรรมดีอะไรไว้หนอ จึงได้ถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมาน.

[572] มาตลีเทพสารถีอันพระเจ้าเนมิราชตรัสถามแล้ว ทูลพยากรณ์วิบากของ

เทวดาทั้งหลาย ผู้มีกรรมอันเป็นกุศลตามที่ได้ทราบแก่พระเจ้าเนมิราชผู้

ไม่ทรงทราบว่า ก็นางเทพธิดาที่พระองค์ทรงหมายถึงนั้น  ชื่อนางพิรณี

เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก เกิดในครรภ์ของนางทาสีในเรือนของพราหมณ์

นางรู้ซึ้งแขกคือภิกษุผู้มีภัตกาลอันถึงแล้ว  นิมนต์ให้นั่งในเรือนของ

พราหมณ์ยินดีต่อภิกษุนั้นเป็นนิตย์  ดังมารดายินดีต่อบุตรผู้จากไปนาน

กลับมาถึง  ฉะนั้น  นางอังคาสภิกษุนั้นโดยเคารพ ได้ถวายสิ่งของ

ของตนเล็กน้อย  เป็นผู้สำรวมและจำแนกทานจึงมาบันเทิงอยู่ในวิมาน

พระเจ้าข้า.

[573] วิมานทั้ง 7 อันบุญญานุภาพตกแต่ง ส่องสว่างโชติช่วง เทพบุตรผู้

หนึ่งมีฤทธิ์มาก ประดับประดาด้วยสรรพาภรณ์อันหมู่เทพธิดาแวดล้อม

ผลัดเปลี่ยนเวียนวนอยู่โดยรอบในวิมานทั้ง 7 นั้น ดูกรมาตลีเทพสารถี

ความปลื้มใจเกิดขึ้นแก่เรา เพราะได้เห็น  ความเป็นไปของเทพบุตรผู้

อยู่ในวิมานนี้  เราขอถามท่าน เทพบุตรผู้นี้ได้ทำกรรมดีอะไรไว้หนอ

จึงถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมาน.

 

ผู้มีฤทธิ์มาก คือ ผู้ที่ทำได้ดั่งใจ มีฤทธิ์มาก ประดับประดา

 

[574] มาตลีเทพสารถี … ผู้ไม่ทรงทราบว่า เทพบุตรผู้นี้เป็นคฤหบดี ชื่อโสณ

ทินนะ  เป็นทานบดี ให้สร้างวิหาร 7 หลังอุทิศต่อบรรพชิต ได้อุปฐาก

ภิกษุผู้อยู่ในวิหาร 7 หลังนั้นโดยเคารพ ได้บริจาคผ้านุ่งผ้าห่ม  อาหาร

เสนาสนะ เครื่องประทีป ในท่านผู้ปฏิบัติซื่อตรง ด้วยจิตอันเลื่อมใส

รักษาอุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์ 8 ในดิถีที่ 14 ที่ 15 ที่ 8 แห่ง

ปักษ์ และในวันปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สังวรในศีล  เป็นผู้สำรวมและ

บริจาคทานเป็นนิตย์ จึงมาบันเทิงอยู่ในวิมาน พระเจ้าข้า.

 

บรรพชิต เป็นบรรพชิตผู้บริสุทธิ์ ไม่ได้ทำความขี้โกง

พระพุทธเจ้าให้ค้นหาผู้ที่ซื่อตรง ทำความซื่อตรง

 

ผู้ที่ปฏิบัติศีลจะได้รับสภาพดีๆ ตายไปแม้ยังไม่ได้ร่าง ก็ได้สภาพดีอาศัยๆ

จะสร้างสภาพดีๆ ให้

ปฏิบัติศีล 5 ได้ ก็ยังมีกาม โลกธรรม อัตตา ยังมีส่วนที่เหลือ

 

อาจารย์ก็จะใช้องค์ประกอบต่างๆ ตามฐานจิตที่สงบนั้นแหละ

ผู้ใดที่จะอยากดูสวรรค์อีกก็ไปอ่านเอาเอง

สวรรค์ อย่างน้อยๆ ก็ดีกว่านรก

นรกเป็นจุดที่ทำร้ายกัน แต่สวรรค์เป็นที่ช่วยเหลือเกื้อหนุนกัน

มีสภาพดีๆ ให้อาศัย เป็นสภาพของจิตวิญญาณที่ช่วยเหลือกัน

 

มาคันฑิยสูตร

คนจะก้าวหน้าในธรรมได้ จะต้องก้าวหน้าเป็นลำดับๆ

เราต้องกำจัดกิเลสร้ายๆ ออกไป

คือ กามกับอัตตา

มาคันฑิยสูตร เน้นไปที่กำจัดกามโดยเฉพาะ แต่ท่านที่เข้าใจ ก็จะเข้าใจการออกจากอัตตาได้เช่นกัน

ฟังกันให้ชัดๆ จะได้ออกจากกาม รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส ไม่งั้นจะหนักมากเลย

กามติดชั่ว แต่อัตตามันติดดี

 

13/276

5. มาคัณฑิยสูตร

[276] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับบนเครื่องลาดอันลาดด้วยหญ้า ในโรงบูชาไฟของ

พราหมณ์ภารทวาชโคตร ใกล้นิคมของชาวกุรุอันชื่อว่ากันมาสธรรมในกุรุรัฐ. ครั้งนั้น เวลาเช้า

พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกัมมาสธรรมนิคม.

ครั้นเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในกัมมาสธรรมนิคมแล้ว ภายหลังภัต กลับจากบิณฑบาตเสด็จเข้าไป

ยังไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง เพื่อประทับพักกลางวัน เสด็จเข้าไปยังไพรสณฑ์นั้นแล้ว ประทับนั่ง

พักกลางวัน ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง.

เรื่องมาคัณฑิยปริพาชก

[277] ครั้งนั้น มาคัณฑิยปริพาชกเดินเที่ยวไปมาเพื่อแก้เมื่อย เข้าไปถึงโรงบูชาไฟ

ของพราหมณ์ภารทวาชโคตร. ได้เห็นเครื่องลาดอันลาดด้วยหญ้า ในโรงบูชาไฟของพราหมณ์

ภารทวาชโคตร และได้กล่าวกะพราหมณ์ภารทวาชโคตรว่า ดูกรสหาย เครื่องลาดหญ้าที่ปูไว้ใน

โรงบูชาไฟของท่านภารทวาชะนี้ เป็นของใครหนอ เห็นจะเป็นที่นอนสมควรแก่สมณะ.

ภา. มีอยู่ ท่านมาคัณฑิยะ พระสมณโคดมศากยบุตรออกบวชจากศากยสกุล เกียรติศัพท์

อันงามของท่านพระโคดมนั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เฉพาะเหตุนั้นๆ พระผู้มีพระภาค

พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี

ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ที่นอนนี้ปูไว้แล้วสำหรับท่านพระโคดมนั้น.

มา. ท่านภารทวาชะ พวกเราที่ได้เห็นที่นอนของท่านพระโคดมผู้กำจัดความเจริญนั้น

ชื่อว่าได้เห็นชั่ว.

ภา. ดูกร มาคัณฑิยะ ท่านจงรักษาวาจานี้ไว้ ดูกรท่านมาคัณฑิยะ ท่านจงรักษาวาจานี้ไว้ ความจริง กษัตริย์ที่เป็นบัณฑิตก็ดี พราหมณ์ที่เป็นบัณฑิตก็ดี คฤหบดีที่เป็นบัณฑิตก็ดี

สมณะที่เป็นบัณฑิตเป็นอันมากก็ดี พากันเลื่อมใสยิ่งนักต่อท่านพระโคดมพระองค์นั้น ท่าน

พระโคดมทรงแนะนำในธรรมที่มีเหตุอันบริสุทธิ์ไม่มีโทษ.

มา. ท่านภารทวาชะ ถ้าแม้พวกเราได้พบท่านพระโคดมนั้นต่อหน้า เราก็พึงกล่าวกะ

ท่านพระโคดมต่อหน้าว่า พระสมณโคดมผู้กำจัดความเจริญ ดังนี้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่า

คำเช่นนี้ลงกันในสูตร ของเราทั้งหลาย.

ภา. ถ้าการที่จะกล่าวนั้น ไม่เป็นการหนักแก่ท่านมาคัณฑิยะ ข้าพเจ้าจักทูลกะพระ

สมณโคดมพระองค์นั้น.

มา. ท่านภารทวาชะ จงมีความขวนขวายน้อยเถิด เราได้ว่าไว้แล้ว ก็พึงกล่าวกะ

พระองค์เถิด.

มาคัณฑิยะ ทีแรกดูถูกพระพุทธเจ้า

คนที่เป็นบัณฑิต พากันเลื่อมใสพระพุทธเจ้า ท่านเป็นคนดีมีคนเลื่อมใส พระพุทธเจ้าท่านแนะนำธรรมะที่ไม่มีโทษ อย่าไปดูถูกท่านนะ

(นี้สอนให้รู้ว่า) ฉะนั้น เวลาใครมาดูถูกเรา ไม่ต้องไปโกรธไปแคร์เลย เพราะขนาดพระพุทธเจ้า ยังโดนเลย

เพราะปางที่เราเป็นคนชั่ว ก็ไปดูถูกเขาอย่างนั้นแหละ อันนี้ก็เป็นวิบาก ฉะนั้น ที่เราโดนก็เราทำมา ที่เขามาทำกับเรา ก็เป็นบาปของเขา

เสียหายเป็นทุกข์

ของเสีย ไม่ดี มันหายไปแล้ว

ของที่เสียมันหายไปแล้ว จะไปดึงเหตุการณ์ที่มันเสียหายไปแล้วมาทุกข์อีก มันจะบ้าหรือ

ของเสียหายไปแล้ว มันดีแล้วนี่

ฉะนั้น เราได้รับความเสียหายใดๆ นี่มันดีแล้ว โชคดีอีกแล้ว ร้ายหมดอีกแล้ว

ดีแล้ว ของเสียหายอีกแล้ว

ถูกสภาวธรรมเลย เย่ เสียหายไปแล้ว

เขาจะว่าเราบ้า หรือเราเพี้ยน หรือเรามีปัญญา

 

คนทั่วไปทางโลก เวลาของเสียหาย เขาจะทุกข์หรือจะสุข

เขาจะทุกข์ เศร้า

แต่คนมีปัญญาจะสุขเลย เย่ มีปัญญา ก็ของที่ไม่ดี ของที่เสีย มันหายไปแล้ว

ฉะนั้น เมื่อได้รับของเสียเท่าไร ของไม่ดีเท่าไร ก็ยิ่งดีเท่านั้น

 

ใครว่าเราเท่าไรๆ ก็ดี สิ่งเสียหาย หายไปอีกแล้ว ของเสียหายไปแล้ว สิ่งดีก็จะมากขึ้น ไม่ต้องไปทุกข์ใจ

คนเข้าใจเรื่องกรรมก็สบาย

อัตถิ สุกตทุกกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก

ใครเข้าใจเรื่องวิบากกรรมดีร้าย อย่างแจ่มแจ้งก็สบาย

 

มาคัณฑิยะ เขาอ่านตำรามาก เขาท่องมาก เขาคิดว่าเขารู้มาก นี้พวกรู้มาก แต่ไม่มีสภาวะ นี้อยู่หมัดเลย พ่อครูฯจะว่า ว่าใครอ่านตำรามาก ไม่มีสภาวะ พ่อครู จะผ่าเปรี้ยงเลย

อย่างคนเรียนสูงๆ ผสมปูนไม่เป็น แล้วไปดูถูกคนผสมปูน พอช่างไม่อยู่ ไปผสมเอง ทำให้ตึกถล่มเลย พวกรู้มาก ก็จะพร่องมาก เพราะคิดว่าตัวเองเก่ง

 

พระพุทธเจ้าท่านรู้มาก รู้เหลี่ยมมุมของทุกชีวิต

แต่คนโง่ไม่รู้ ก็ไปหลงดูถูกพระพุทธเจ้า ก็โดนวิบากร้าย ๑๑ ประการ ทำให้หลงผิด ไม่บรรลุธรรม ธรรมที่ได้ย่อมเสื่อม มีจิตฟุ้งซ่าน เป็นบ้าได้ที่สุด

 

[278] พระผู้มีพระภาค ได้ทรงสดับคำสนทนานี้ของพราหมณ์ภารทวาชโคตรกับมา

คัณฑิยปริพาชก ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์. ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาค

เสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปยังโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ประทับนั่งบน

เครื่องลาดหญ้าที่เขาลาดไว้. ลำดับนั้น พราหมณ์ภารทวาชโคตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค

ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว

นั่งอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะเขาว่า ดูกรภารทวาชะ ท่านกับมาคัณฑิย

ปริพาชกปรารภถึงเครื่องลาดหญ้านี้ ได้เจรจาโต้ตอบกันอย่างไรบ้าง? เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัส

อย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตรตกใจ เกิดโลมชาติชูชัน ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าพเจ้าปรารถนาจะกราบทูลเรื่องนี้แก่ท่านพระโคดม แต่ท่านพระโคดมตรัสเสียก่อนที่ข้าพเจ้า

ยังไม่ทันกราบทูล. ก็และเมื่อพระผู้มีพระภาคกับพราหมณ์ภารทวาชโคตรเจรจากันยังค้างอยู่ใน

ระหว่างนี้. ลำดับนั้น มาคัณฑิยปริพาชกกำลังเดินเที่ยวไปมาแก้เมื่อยอยู่ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคยังโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร แล้วได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่าน

การปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.

พระพุทธเจ้าตรัสซักถามมาคัณฑิยะเรื่องกามคุณ

[279] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะมาคัณฑิยปริพาชกผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า

ดูกรมาคัณฑิยะ นัยน์ตามีรูปเป็นที่มายินดี … หูมีเสียงเป็นที่มายินดี … จมูกมีกลิ่นเป็นที่มายินดี …

ลิ้นมีรสเป็นที่มายินดี … กายมีโผฏฐัพพะเป็นที่มายินดี … ใจมีธรรมารมณ์เป็นที่มายินดี ยินดีแล้ว

ในธรรม อันธรรมให้บันเทิงแล้ว ใจนั่นตถาคตทรมานแล้ว คุ้มครองแล้ว รักษาแล้ว สำรวมแล้ว

อนึ่ง ตถาคตย่อมแสดงธรรมเพื่อสำรวมใจนั่น ดูกรมาคัณฑิยะ คำที่ท่านกล่าวว่า พระสมณโคดม

เป็นผู้กำจัดความเจริญนั้น ท่านหมายเอาความข้อนี้ละซิหนอ.

มา. ท่านพระโคดม ก็คำที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า พระสมณโคดมเป็นผู้กำจัดความเจริญนี้

ข้าพเจ้าหมายเอาความข้อนี้แหละ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะคำเช่นนี้ลงกันในสูตรของ

ข้าพเจ้า.

[280] ดูกรมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บางคนในโลกนี้เป็น

ผู้เคยได้รับบำเรอด้วยรูปทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ

น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด สมัยต่อมา เขารู้ความเกิด ความดับ

คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งรูปทั้งหลายตามความเป็นจริง แล้วละตัณหาในรูป

บรรเทาความเร่าร้อนอันเกิดเพราะปรารภรูป เป็นผู้ปราศจากความระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่

ดูกรมาคัณฑิยะ ก็ท่านจะพึงว่าอะไรแก่ท่านผู้นี้เล่า?

ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าไม่พึงว่าอะไร.

ดูกรมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บางคนในโลกนี้เป็นผู้เคยได้

รับบำเรอด้วยเสียงทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยโสต … ด้วยกลิ่นทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก …

ด้วยรสทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น … ด้วยโผฏฐัพพะทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่สัตว์

ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด สมัยต่อมา

เขารู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งโผฏฐัพพะทั้งหลาย

ตามความเป็นจริง แล้วละตัณหาในโผฏฐัพพะ บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภโผฏฐัพพะ เป็นผู้ปราศจากความระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ ดูกรมาคัณฑิยะ ก็ท่านจะพึงว่า

อะไรแก่ท่านผู้นี้เล่า?

ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าไม่พึงว่าอะไร.

[281] ดูกรมาคัณฑิยะ เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ก็เป็นผู้อิ่มหนำ

เพรียบพร้อมด้วยกามคุณห้า บำเรอตนด้วยรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่

ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดด้วยเสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู …

ด้วยกลิ่นอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก … ด้วยรสอันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น … ด้วยโผฏฐัพพะอันจะพึง

รู้แจ้งด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ

กำหนัด ดูกรมาคัณฑิย ปราสาทของเรานั้น ได้มีถึงสามแห่ง คือปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน

ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน. เรานั้นให้บำเรอด้วยดนตรี

ล้วนแต่สตรีไม่มีบุรุษเจือปนในปราสาท เป็นที่อยู่ในฤดูฝนตลอดสี่เดือนไม่ได้ลงภายใต้ปราสาท

สมัยต่อมา เรานั้นรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องออกไป แห่งกามทั้งหลาย

ตามความเป็นจริง แล้วละตัณหาในกามบรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะปรารภกาม เป็นผู้ปราศจากความระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่. เรานั้นเห็นหมู่สัตว์อื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามเผาอยู่ เสพกามอยู่ เรานั้นย่อมไม่ทะเยอทะยานต่อสัตว์เหล่านั้น ไม่ยินดีในกามนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรายินดีด้วยความยินดีที่เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมอยู่ จึงไม่ทะเยอทะยานต่อธรรมอันเลว

ไม่ยินดีในธรรมอันเลวนั้น.

คนที่ไม่ติดรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส ไม่ได้เป็นคนน่าอาย แต่คนที่ติดในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส เป็นคนน่าละอาย ช่วยคนไม่ได้ คนในโลกนี้ติดในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส

คนที่ออกจากกาม ก็จะยินดีในการที่ออกจากกาม

คนจะยินดีในการออกจากกามได้ ต้องเห็นโทษในกาม เห็นประโยชน์ในการออกจากกาม เห็นโทษเห็นประโยชน์ จึงยินดีเป็นเนกขัมมะ ยินดีในการออกจากกาม

เพราะเห็นว่า กามเป็นอกุศลกรรม เป็นวิบากร้าย ฉะนั้นเราจงยินดีในการออกจากกาม เหมือนฤาษี ที่ไปเสพกาม ตกลงในห้วงมหรรณพเลย มาพบพระพุทธเจ้า พพจ จึงช่วยไว้ จึงออกจากการเสพกามได้

 

 

[282] ดูกรมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคฤหบดี หรือบุตรคฤหบดีเป็นคนมั่งคั่ง

มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เอิบอิ่มเพรียบพร้อมด้วยกามคุณห้า บำเรอตนด้วยรูปอันพึงจะรู้แจ้ง

ด้วยนัยน์ตา ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก  ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ

กำหนัด ด้วยเสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู … ด้วยกลิ่นอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก … ด้วยรสอันจะ

พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น … ด้วยโผฏฐัพพะอันจะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ

น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด. เขาประพฤติกายสุจริต วจีสุจริตมโนสุจริต เมื่อตายไปพึงเข้าถึงสุคติ โลก สวรรค์ พึงเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้น

ดาวดึงส์. เทพบุตรนั้นอันหมู่นางอัปสรแวดล้อมในนันทวัน เอิบอิ่มเพรียบพร้อมด้วยกามคุณห้า

อันเป็นทิพย์บำเรอตนอยู่ ในดาวดึงส์เทวโลก. เทพบุตรนั้นได้เห็นคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี

ผู้เอิบอิ่มเพรียบพร้อมด้วยกามคุณห้า บำเรอตนอยู่. ดูกรมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน เทพบุตรนั้นอันหมู่นางอัปสรแวดล้อมอยู่ในนันทวัน เอิบอิ่มเพรียบพร้อมด้วยกามคุณห้า

อันเป็นทิพย์บำเรอตนอยู่ จะพึงทะเยอทะยานต่อคฤหบดีต่อบุตรคฤหบดีโน้น หรือต่อกามคุณห้า

ของมนุษย์ หรือจะพึงเวียนมาเพราะกามของมนุษย์บ้างหรือหนอ?

 

อาจารย์ว่า อยู่กับผู้หญิง 1 คน ก็ปวดหัว 2 คนก็ปวดหัวเพิ่มขึ้นไปอีก 3 คน ก็เพิ่มขึ้นไปอีก ฉะนั้นให้อยู่กับผู้หญิงไม่ลดกิเลส อาจารย์ไม่เอา ให้ฟรีก็ไม่เอา

ลูกศิษย์ไม่ลดกิเลส ให้ฟรีก็ไม่เอา

 

(ต่อ)     ไม่เป็นอย่างนั้น ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกามอันเป็นทิพย์ น่าใคร่

ยิ่งกว่า และประณีตกว่า กว่ากามของมนุษย์.

ดูกรมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่ม

เพรียบพร้อมด้วยกามคุณห้า บำเรอตนด้วยรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตาที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่

ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ด้วยเสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู  …

ด้วยกลิ่นอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก … ด้วยรสอันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น … ด้วยโผฏฐัพพะอันจะพึงรู้แจ้ง

ด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.

สมัยต่อมาเรานั้นรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไป แห่งกามทั้งหลาย

ตามความเป็นจริง แล้วละตัณหาในกาม ได้บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดขึ้น เพราะปรารภกามได้แล้วเป็นผู้ปราศจากความระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่. เรานั้นเห็นหมู่สัตว์อื่นที่ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามเผาอยู่ เสพกามอยู่ ย่อมไม่ทะเยอทะยานต่อสัตว์เหล่านั้น ไม่ยินดีในกามนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรา

ยินดีอยู่ด้วย ความยินดีที่เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ทั้งเป็นความยินดีที่ล่วงเลยความสุข

เป็นของทิพย์ตั้งอยู่ จึงไม่ทะเยอทะยานต่อธรรมอันเลว ไม่ยินดีในธรรมอันเลวนั้นเลย.

ใครไปเสพกิเลส ก็เสียพลัง ไปทำตามกิเลส เสพกิเลส มันจะกินแรง จะอ่อนแรงมากขึ้น จะอ่อนแอมากขึ้น เซลล์ก็เสื่อม แรงดึงดูดโลกมันก็ดึงลง ต้านไม่ได้ เหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตาม มันก็ทุกข์ชั่วกัปชั่วกัลป์

สุขจริง เวลามันได้สมใจ จริงๆ มันทุกข์ตลอด เสียเวลาไปสร้างทุกข์ เซลล์มันก็เสื่อม เสียเวลาไปสร้างทุกข์ลดทุกข์ มันก็เป็นวิบากร้ายซ้อนๆ

กิเลส สุขแว๊บเดียว ได้มาก็หมดไป ได้อุบายเป็นเครื่องออก ด้วยไตรลักษณ์ เราก็เพิ่มศีล ก็ออกมาได้

พี่น้องท่านใดเคยชอบอาหารรสจัดบ้างไหม มี

ตอนนี้ใครออกจากอาหารรสจัดได้แล้ว ไม่ไปริษยาคนที่กินอาหารรสจัด

เพราะเรายินดีในการออกจากโทษ ออกจากกาม เราออกมาไม่ไปติดรสจัด เป็นประโยชน์กว่า สบายกายสบายใจกว่า

เมื่อก่อนเราไม่ได้กินมันก็ทุกข์ ปรุงเพิ่มเข้าไป ใส่พริกใส่ผงชูรส 

รู้ทุกข์โทษภัย รู้อุบายเป็นเครื่องออกจากกิเลส ชีวิตก็เบามีชีวิตชีวา

คราวนี้ไม่อยากเสพรสจัด มีชีวิตชีวา มีเรี่ยวมีแรง ใจก็อิ่มเอิบเบิกบานแจ่มใส มีความยินดีในการละกาม ทำงานก็สบายตัว สบายกว่ากันเยอะเลย

กามเป็นอย่างนี้ รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส

 

เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนโรคเรื้อน

[283] ดูกรมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวอันสุก

อันกิมิชาติบ่อนอยู่ เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บ ย่างกายให้ร้อนที่หลุมถ่านเพลิง มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตของเขา พึงตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดนั้น พึงทำ

ยารักษาบุรุษนั้น บุรุษนั้นอาศัยยาแล้วจึงหายจากโรคเรื้อน เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข มีเสรีภาพ

มีอำนาจในตนเอง จะไปไหนได้ตามความพอใจ. บุรุษนั้นได้เห็นบุรุษโรคเรื้อนคนอื่น มีตัวเป็นแผล

มีตัวสุก อันกิมิชาติบ่อนอยู่ เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บ ย่างกายให้ร้อนที่หลุมถ่านเพลิง. ดูกร

มาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นพึงทะเยอทะยานต่อบุรุษโรคเรื้อนคนโน้น

ต่อหลุมถ่านเพลิง หรือต่อการกลับเสพยาบ้างหรือหนอ?

ไม่อย่างนั้น ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมื่อยังมีโรค กิจที่ควรทำด้วยยา

ก็ต้องมี เมื่อไม่มีโรค กิจที่ควรทำด้วยยาก็ไม่ต้องมี.

ดูกรมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่ม

เพรียบพร้อมด้วยกามคุณห้า บำเรอตนอยู่ด้วยรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตาที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ด้วยเสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู …

ด้วยกลิ่นอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก … ด้วยรสอันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น … ด้วยโผฏฐัพพะอันจะพึงรู้แจ้ง

ด้วยกาย ที่สัตว์ ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.

สมัยต่อมา เรานั้นรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องออกไปแห่งกามทั้งหลาย

ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้ปราศจากความระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่. เรานั้นเห็นหมู่สัตว์

อื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามเผาอยู่ เสพกามอยู่ ย่อมไม่ทะเยอทะยานต่อสัตว์เหล่านั้น ไม่ยินดีในกามนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรายินดีอยู่ด้วยความยินดีที่เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ทั้งเป็นความ

ยินดีที่ล่วงเลยความสุขอันเป็นทิพย์ตั้งอยู่ จึงไม่ทะเยอทะยานต่อธรรมอันเลว ไม่ยินดีในธรรม

อันเลวนั้นเลย.

[284] ดูกรมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวสุก อัน

กิมิชาติบ่อนอยู่ เกาปากแผลด้วยเล็บ ย่างกายให้ร้อนที่หลุมถ่านเพลิง มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิต

ของเขาพึงตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดทำยารักษาบุรุษนั้น บุรุษนั้นอาศัยยาแล้วจึงหายจากโรคเรื้อน เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข มีเสรีภาพ มีอำนาจในตนเองจะไปไหนได้ตามความพอใจ. บุรุษมีกำลังสองคนช่วยกันจับบุรุษนั้นที่แขนคนละข้าง ฉุดเข้าไป

ในหลุมถ่านเพลิง. ดูกรมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะต้องดิ้นรนไป

อย่างนี้ๆ บ้างซิหนอ?

เป็นอย่างนั้น ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไฟโน้นมีสัมผัสเป็นทุกข์

มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก.

ดูกรมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อน

ยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก แต่ในบัดนี้เท่านั้น หรือแม้เมื่อก่อนไฟนั้นก็มีสัมผัสเป็นทุกข์

มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก?

 

เราไปดับไฟ ไปไกลไฟ ร้อนไหม ร้อน ไปสัมผัสไฟ ก็เป็นทุกข์

วิบากของโรคเรื้อนต้องไปย่างไฟ วิบากของการไปทำทุกข์ ก็ต้องไปย่างไฟ

 

…ท่านพระโคดม ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความเร่าร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก

ทั้งในบัดนี้ และแม้เมื่อก่อน ไฟนั้นก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมากแต่ว่าบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวสุก ถูกกิมิชาติบ่อน เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บ

มีอินทรีย์อันโรคกำจัดเสียแล้วโน้น กลับได้ความสำคัญผิดในไฟนี้อันมีสัมผัสเป็นทุกข์นั้นแลว่า

เป็นสุขไป.

 

ไฟนั้นร้อนแท้ๆ สัมผัสแล้วเป็นทุกข์ แต่ก็เข้าใจว่าเป็นสุข มันเปรียบเหมือนทุกข์ เหมือนความคัน แค่ลดความคัน สิ่งเหล่านั้น ช่วยลดความคันลงไปได้เท่านั้น

ไฟ จริงๆ มันเร่าร้อนมาก มันทำลายมาก แต่ช่วยลดความคันได้ แล้วเขาคิดว่าสิ่งนั้น มันเป็นสุข จริงๆ แล้วมันใส่ความเสื่อมอีกอันหนึ่งเข้าไป มันใส่พิษเข้าไป มันจะเป็นสภาพเสื่อม

 

ตอนคันมากๆ เกาๆ จนเป็นแผลเลย มันไม่หายคัน คันแล้วก็เกาเข้าไปอีก ตอนนั้นคนทั่วไป รู้สึกเป็นทุกข์หรือเป็นสุข คนทั่วไป มันทำลายขนาดนั้น มันยังรู้สึกว่าเป็นสุข จริงๆ มันแสบทรมาน จริงๆ มันเกิดสภาพทำลาย

พอไฟมาย่าง มันร้อนๆ ความคันลดลง แต่ไฟมันร้อน เขาก็เอา ความทรมานลดลง คันมากๆ จะร้อนแค่ไหน ก็ขอให้ความคันลดลงก่อน

จริงๆ แม้กามเรื่องเพศ รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส ทุกข์เป็นโทษมากๆ แค่ไหนก็เอา อาจารย์ว่า ไปสร้างความคันแล้วก็ไปลดลง วิธีที่ทำนี้คือ วิธีทำลาย ไปสร้างพิษ แล้วก็ไปลดพิษ ไปสร้างความคัน แล้วความคันลดลง รู้สึกเป็นสุข นี้เป็นการทำลายทุกชีวิต เสียพลังไปสร้างทุกข์ลดทุกข์ ชีวิตก็เศร้าหมอง เสียเวลา ต่างๆนาๆ คนไปสัมพันธ์ผิด คิดว่าเป็นสุข

 

 

… ดูกรมาคัณฑิยะ กามทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้ในอดีตกาลก็มีสัมผัสเป็นทุกข์

มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก ถึงในอนาคตกาลกามทั้งหลายก็มีสัมผัสเป็นทุกข์

มีความร้อนยิ่งใหญ่และมีความเร่าร้อนมาก แม้ในปัจจุบันเดี๋ยวนี้ กามทั้งหลายก็มีสัมผัสเป็นทุกข์

มีความร้อนยิ่งใหญ่และมีความเร่าร้อนมาก สัตว์เหล่านี้เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม

ถูกกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนเกิดขึ้นเพราะปรารภกามเผาอยู่ มีอินทรีย์อันโทษกำจัด

แล้ว กลับได้ความสำคัญผิดในกามอันมีสัมผัสเป็นทุกข์นั้นแลว่า เป็นสุขไป.

 

ถ้าเข้าใจได้ ความจริงมันมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นแหละ แก้ชั่วคราวทั้งนั้น กามทั้งหลาย ทั้งรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส มีความเร่าร้อนใหญ่ มีความเร่าร้อนมาก ร้อนมากๆ ทำลายมาก รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสนี้เป็นโทษเป็นภัย นี้ร้อนทำลายมาก

ความร้อนยิ่งใหญ่ ใช้พลังงานมาก ของเสียค้างมาก หมดพลังมาก ชีวิตก็แย่ ร่างกายก็เสีย พลังชีวิตก็เจ็บป่วย ไปทำเรื่องไม่ดีได้มาก ชีวิตก็เสื่อมโทรมได้มาก

ผู้ไปเห็นทุกข์ว่าเป็นสุข นี้วิปลาส

ถ้าไม่ใช่พุทธะไม่มีทางแยกแยะได้ จริงๆ มันเป็นทุกข์ ไม่ใช่สุข

จริงๆ มันสะกดจิตได้

 

[285] ดูกรมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนโรคบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวสุก

อันกิมิชาติบ่อนอยู่ เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บ ย่างกายให้ร้อนที่หลุมถ่านเพลิง ดูกรมาคัณฑิยะ

บุรุษโรคเรื้อนคนโน้นมีตัวเป็นแผล มีตัวสุก อันกิมิชาติบ่อนอยู่ เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บ

ย่างกายให้ร้อนที่หลุมถ่านเพลิง ด้วยประการใดๆ ปากแผลเหล่านั้น  ของบุรุษโรคเรื้อนนั้นเอง

ยิ่งเป็นของไม่สะอาดขึ้น มีกลิ่นเหม็นขึ้น และเน่าขึ้นด้วยประการนั้นๆ และจะมีความเป็นของน่ายินดี น่าพอใจสักหน่อยหนึ่ง ก็คือปากแผลทั้งหลาย มีการเกาแผลเป็นเหตุเท่านั้น ฉันใด

ดูกรมาคัณฑิยะ สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นแล ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหา

เคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามเผาอยู่ เสพกามอยู่ ดูกรมาคัณฑิยะ

สัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม อันกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อน

ที่เกิดขึ้นเพราะกามเผาลนอยู่ เสพกามอยู่ด้วยประการใดๆ กามตัณหาย่อมเจริญแก่สัตว์เหล่านั้น

และสัตว์เหล่านั้นก็ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะปรารภกามเผาอยู่ ด้วยประการนั้นๆ และจะมีความเป็นของน่ายินดี น่าพอใจสักหน่อยหนึ่ง ก็เพราะอาศัยกามคุณทั้งห้าเท่านั้น.

 

ไม่กำจัดในกามคุณ 5 เป็นโรคเป็นภัย ไปเสียพลังในการสร้างทุกข์ลดทุกข์ ได้สมใจชั่วคราว พอใจชั่วคราว ยินดีชั่วคราว ก็เพลียล้า ไปทำให้คนอื่นให้เป็นตาม ไม่ได้ไปช่วยใคร เสียเวลาไปเสพกิเลส มันก็จะเป็นก่อเวรเพิ่มเข้าไป ก็เป็นพลังทำลาย เป็นพลังวิบากร้าย นี้พลังกามคุณ 5

 

[286] ดูกรมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านได้เห็นหรือได้ฟังบ้าง

หรือว่าพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา ผู้เอิบอิ่มเพรียบพร้อม บำเรอตนอยู่ด้วยกามคุณห้ายังละกามตัณหาไม่ได้ ยังบรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามไม่ได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากความระหายมีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว หรือกำลังอยู่ หรือจักอยู่?

ข้อนี้ ไม่มีเลย ท่านพระโคดม.

ดีละมาคัณฑิยะ ข้อนี้แม้เราไม่ได้เห็นไม่ได้ฟังมาว่า พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของ

พระราชาผู้เอิบอิ่มเพรียบพร้อมบำเรอตนอยู่ ด้วยกามคุณห้า ยังละตัณหาไม่ได้ ยังบรรเทาความ

เร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามไม่ได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากความระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้วหรือกำลังอยู่ หรือจักอยู่ ดูกรมาคัณฑิยะ ที่แท้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้

ปราศจากความระหาย มีจิตร สงบในภายในอยู่แล้ว หรือกำลังอยู่ หรือจักอยู่. สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่านั้นล้วนรู้ ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งกาม

นั่นเทียว ตามความเป็นจริง แล้วละกามตัณหา บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกาม

แล้ว จึงเป็นผู้ปราศจากความระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว หรือกำลังอยู่ หรือจักอยู่.

 

คนที่ไม่เสพกามแล้ว จะไม่มีความเร่าร้อน จะมีความสงบสบาย ไม่เร่าร้อนที่ไม่ได้เสพรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส

 

[287] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพาน

เป็นสุขอย่างยิ่ง บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึง

อมตธรรม ทางมีองค์แปดเป็นทางอันเกษม.

 

ความไม่มีโรค นั้นคือ โรคกาย จนถึงโรคใจ

 

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มาคัณฑิยปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์นักไม่เคยมีมาแล้ว เพียงข้อที่ท่านพระโคดมตรัสดีแล้วนี้ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง แม้ข้าพเจ้าก็ได้ฟังข้อนี้มา ต่อปริพาชกทั้งหลายแต่ก่อน ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ผู้กล่าวกันอยู่ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ข้อนี้ย่อมสมกัน.

ดูกรมาคัณฑิยะ ก็ข้อที่ท่านได้ฟังมาต่อปริพาชกทั้งหลาย ก่อนๆ ผู้เป็นอาจารย์และ

ปาจารย์ผู้กล่าวกันอยู่ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้นั้นความไม่มีโรคนั้นเป็นไฉน นิพพานนั้นเป็นไฉน? เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ได้ทราบว่า

มาคัณฑิยปริพาชกเอาฝ่ามือลูบตัวของตัวเอง กล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ความไม่มีโรคนั้น คืออันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าเดี๋ยวนี้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข

อะไรๆ มิได้เบียดเบียนข้าพเจ้า.

 

เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนตาบอด

[288] ดูกรมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูปดำและขาว ไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง ไม่ได้เห็นรูปสีชมพู

ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นรูปหมู่ดาว  ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์

เขาได้ฟังต่อคนผู้มีจักษุกล่าวว่า ดูกรผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงาม ไม่มีมลทินสะอาดหนอ ดังนี้.

เขาพึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาวผ่อง. บุรุษคนหนึ่งเอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามาลวงบุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้นว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านผืนนี้ เป็นผ้าขาวผ่องงามไม่มีมลทิน สะอาด ดังนี้.

เขารับเอาผ้านั้นไว้ห่ม แล้วดีใจ เปล่งวาจาแสดงความดีใจว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาด ดังนี้.

ดูกรมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้น รู้อยู่ เห็นอยู่ รับเอาผ้าเทียมอันเปื้อนเขม่านั้นไว้ห่ม แล้วดีใจ เปล่งวาจาแสดงความดีใจว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาดหนอ ดังนี้ หรือว่าเปล่งวาจาแสดงความยินดี ด้วยเชื่อต่อบุคคลผู้มีจักษุเล่า?

ท่านพระโคดม บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้น ไม่รู้ไม่เห็นเลย รับเอาผ้าเทียมอันเปื้อนเขม่า

เข้าไว้ห่ม แล้วดีใจ เปล่งวาจาแสดงความดีใจว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องไม่มีมลทินสะอาดหนอดังนี้ ด้วยเชื่อต่อบุคคลผู้มีจักษุเท่านั้น.

ดูกรมาคัณฑิยะ ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มีจักษุ ไม่รู้ความไม่มีโรค ไม่เห็นพระนิพพาน เออก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ยังกล่าวคาถานี้ได้ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้.

 

นี้พูดด้วยความที่ยังไม่มีสภาวะ

 

ดูกรมาคัณฑิยะ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้ตรัสพระคาถาไว้ว่า

ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรม ทางมีองค์แปดเป็นทางเกษม.

บัดนี้ คาถานั้นเป็นคาถาของปุถุชนไปโดยลำดับ.

ดูกรมาคัณฑิยะ กายนี้แลเป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ ท่านนั้นกล่าวกายนี้เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ว่า ท่านพระโคดม ความไม่มีโรค นั้นคืออันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้. ก็ท่านไม่มีจักษุของพระอริยะ อันเป็นเครื่องรู้ความไม่มีโรค อันเป็นเครื่องเห็นนิพพาน.

มาคัณฑิยะอาราธนาพระพุทธเจ้าแสดงธรรม

[289] ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อท่านพระโคดมอย่างนี้แล้ว ท่านพระโคดมย่อมทรงสามารถเพื่อจะทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ให้รู้ความไม่มีโรคให้เห็นนิพพานได้.

ดูกรมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดแต่กำเนิด ไม่ได้เห็นรูปดำและขาว ไม่ได้

เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง ไม่ได้เห็นรูปสีชมพู ไม่ได้เห็นที่

อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นรูปหมู่ดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์. มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตของเขา พึงตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดนั้นได้ทำยารักษาเขา เขาอาศัยยานั้นแล้วก็เห็นไม่ได้ ทำจักษุให้ใสไม่ได้ ดูกรมาคัณฑิยะท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน แพทย์ต้องมีส่วนแห่งความลำบาก ความคับแค้นสักเพียงไร

มิใช่หรือ?

อย่างนั้น ท่านพระโคดม.

ดูกรมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน พึงแสดงธรรมแก่ท่านว่า ความไม่มีโรคนั้น

คือสิ่งนี้ นิพพานนั้นคือสิ่งนี้ ดังนี้ ท่านนั้นก็พึงรู้ความไม่มีโรคไม่ได้ พึงเห็นนิพพานไม่ได้

อันนั้น พึงเป็นความเหน็ดเหนื่อย เป็นความลำบากแก่เรา.

[290] ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อท่านพระโคดมด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ท่านพระโคดมย่อม

ทรงสามารถเพื่อแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ให้รู้ความไม่มีโรค ให้เห็นนิพพานได้.

ดูกรมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูปดำและขาว

ไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง ไม่ได้เห็นรูปสีชมพู ไม่ได้เห็น

ที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นรูปหมู่ดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์. แต่เขาได้ฟังต่อคนที่มีจักษุซึ่งกล่าวอยู่ว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงาม ไม่มีมลทินสะอาดหนอ บุรุษตาบอด

แต่กำเนิดนั้น พึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาวผ่อง บุรุษคนหนึ่งเอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามาลวงเขานั้นว่าบุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านผืนนี้ขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาด. เขารับผ้านั้นมาห่ม มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตของเขา ตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดนั้น ทำยาถอนให้อาเจียร ยาถ่ายให้ลง ยาหยอด ยาหยอดซ้ำ ยานัตถุ์ เขาอาศัยยานั้นแล้วเห็นได้

ชำระตาให้ใสได้ เขาย่อมละความรักด้วยสามารถความพอใจในผ้าเทียมเปื้อนเขม่าโน้นได้ พร้อมกับตาเห็น เขาพึงเบียดเบียนบุรุษที่ลวงตนนั้นโดยความเป็นศัตรู โดยความเป็นข้าศึก อนึ่ง

เขาพึงสำคัญบุรุษที่ลวงตนนั้นว่าควรปลงชีวิตเสียด้วยความแค้นว่า บุรุษผู้เจริญ เราถูกบุรุษผู้นี้เอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามาลวงให้หลงว่า บุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านนี้ขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาด ดังนี้ มานานหนอ ฉันใด ดูกรมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแสดงธรรมแก่ท่านว่า

ความไม่มีโรคนั้นคือข้อนี้ นิพพานนั้นคือข้อนี้. ท่านนั้นพึงรู้ ความไม่มีโรค พึงเห็นนิพพานได้ท่านนั้นก็จะละความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในขันธ์ที่มีอุปาทานทั้งห้าได้ พร้อมกับความเห็นเกิดขึ้น อนึ่ง ท่านพึงมีความดำริอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ เราถูกจิตนี้ล่อลวงให้หลงมานานแล้วหนอ เราเมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่รูปเท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่เวทนาเท่านั้น เมื่อยึดมั่น

ก็ยึดมั่นแต่สัญญาเท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่สังขารเท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่วิญญาณเท่านั้น เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยภพจึงมีแก่เรานั้น เพราะภพนั้นเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

[291] ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อพระโคดมอย่างนี้แล้ว ท่านพระโคดมย่อมทรงสามารถ

เพื่อแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ข้าพเจ้าไม่เป็นคนบอด ลุกขึ้นจากอาสนะนี้ได้.

ดูกรมาคัณฑิยะ ถ้าเช่นนั้น ท่านควรคบสัตบุรุษ เพราะเมื่อใดท่านคบสัตบุรุษ เมื่อนั้น

ท่านจักได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ เมื่อท่านได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ท่านจักปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อท่านปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ท่านจักรู้เอง เห็นเองว่า โรค ฝี ลูกศร คืออันนี้ โรค ฝี ลูกศร จะดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ เพราะอุปาทานของเรานั้นดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสก็ดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

 

โรค ฝี ลูกศร นี้คือ กิเลส

 

มาคัณฑิยะได้บรรพชาและอุปสมบท

[292] พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มาคัณฑิยปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของ

พระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทางหรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด. ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พระธรรม และ

พระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา อุปสมบท ในสำนักท่านพระโคดม.

ดูกรมาคัณฑิยะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา หวังอุปสมบทในธรรมวินัยนี้

ผู้นั้นจะต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน เมื่อล่วงสี่เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา

ให้อุปสมบทเพื่อความเป็นภิกษุได้ ก็แต่ว่า เรารู้ความต่างแห่งบุคคลในข้อนี้.

 

ใครที่ไปเขอะๆ มาจะมาเป็นจิตอาสาได้ ต้องมาดูตัวทุกหกเดือน เป็นเวลา ๒ ปี ถึงจะเป็นจิตอาสาได้ จะมาอยู่กับหมู่ได้ ต้องจิตอาสาเต็มใจได้

 

(ต่อ)… ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าชนทั้งหลายผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา หวังอุปสมบท

ในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน เมื่อล่วงสี่เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้

บรรพชาอุปสมบทได้ไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาสสี่ปี ต่อเมื่อล่วงสี่ปี ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้วจึงให้บรรพชาให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุเถิด.

มาคัณฑิยปริพาชกได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว. ก็เมื่อ

ท่านมาคัณฑิยะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรมีตนส่งไปแล้ว ไม่ช้านานเท่าไร ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบ ต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง

ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ท่านมาคัณฑิยะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล.

จบ มาคัณฑิยสูตรที่ 5.

 

จะอยู่ 4 ปี ก็ยอม กี่ปีก็เอา

 

มาคันฑิยสูตรยาวมากเลย ก็จบได้

เหลี่ยมมุมที่สำคัญคือ กาม กามคุณ 5 ที่เป็นกิเลส รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส

จิตมีความอยากก็ทุกข์ เหมือนคนเป็นโรคเรื้อนกลาก ก็คันๆๆ ก็เกา ก็ย่างไฟบ้าง ความคันลดลง ก็รู้สึกเป็นสุข แต่จริงๆ ความคันมันทำลายหนักเข้าไปอีก ก็ยังรู้สึกว่าเป็นสุขหลอกได้ จริงๆ กิเลสมันหลอกได้ขนาดนั้น ก็โดนหลอกอีก ไปย่างไฟอีก ก็ไปทุกข์หนักอย่างนั้น

ฉะนั้น เรื่องใดๆ ก็ตาม

ยิ่งเรื่องเพศ ไม่มีอะไรเลย ไปทำให้เกิดความคัน แล้วก็ไปดันให้ความคันลดลง คือ ไปดันให้ของเหลวมันคัน จริงๆ แล้ว มันหมดพลังอย่างมาก เป็นพิษ เพลียล้า พลังตก ทำให้ไม่สบาย ตามร่างกาย สมองไม่โล่งไม่โปร่ง ไม่สบาย จิตมันจะหมองๆ เลย จะเพลียล้าหนัก จะไม่สบาย ไม่ต้องพัก ไม่ได้ไปทำความดี ก็ไปช่วยใครไม่ได้ ก็เหนี่ยวนำได้อีก เกิดเรื่องร้ายได้ทั้งมวล ใจก็เป็นทุกข์ ดีใจแว๊บ พลังก็หายหมด ร่างกายก็แย่ ทั้งใจและกาย รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส มันมีแต่พังและทำลายไป มีแต่ใจเป็นทุกข์ อยากได้ๆๆ กล้ามเนื้อเกร็งตัวบีบทุกข์ออก ไปทำตามรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสไปเรื่อย ชีวิตก็หมดพลังไปเรื่อย เป็นวิบากร้ายไปเรื่อย ชีวิตก็หมดพลังไปเรื่อย ก็เป็นทุกข์ ไปดึงวิบากร้ายมาสะสมไปเรื่อย นี้ก็เป็นทุกข์ซ้อนๆๆ เข้าไปเรื่อยๆ นี้คนก็ไปทำวนอยู่เรื่อยๆ ก็คิดว่าเป็นสุข ก็ไปโหมกระหน่ำเข้าไป คิดว่าต้องได้ตอบสนอง พลังก็ลดลง ของเสียก็เต็ม ชีวิตก็หมดพลัง ต่างๆนาๆ พิจารณาแต่ละเรื่องๆๆ มันก็เหมือนกันหมด

เสียพลังไปสร้างทุกข์ เสียพลังไปแก้ทุกข์ ใจก็เป็นทุกข์ ใจก็เจ็บป่วย ไปเหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตาม ก็เป็นพลังวิบากร้าย ชีวิตนี้เป็นพลังกุศล

กายก็เจ็บป่วย ใจก็เจ็บป่วย

ใจไปสร้างทุกข์ ทำทุกข์ให้ลดลงชั่วคราว ก็ไปสร้างใหม่ ลดลงใหม่ ทำทุกข์ซ้อนๆๆ เป็นภาระ ไม่รู้กี่เรื่อง วันๆ ไม่ทำอะไร ก็มีแต่สร้างทุกข์ ก็ระงับชั่วคราว เสียพลัง ก็คิดว่าเป็นสุข

แม้แต่เรื่องดีก็เหมือนกัน กามในชั่วนี้ต้องเลิกเลย รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส  ที่เป็นภัย

แต่กามในดี ปรารถนาดีให้เกิดได้ เกิดได้ก็ดี แต่ถ้าเกิดไม่ได้ ก็วาง

วันนี้ เอาแต่เรื่องชั่วก่อน ถ้าเรื่องชั่วยังไม่เลิกเลย จะไปวางดีเรื่องดี มันวางไม่ได้หรอก

อย่าไปยึดมันเป็นแค่ภาษา

นี่คือ พระพุทธเจ้ามาฉีกมายากล อันคือ กิเลส หลอกให้เหมือนจริง จริงๆ มันคือ กิเลส

ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป

 

ฉะนั้น คนที่คิดไม่ดี ให้ตั้งใจก่อน ให้ฝึกไปเป็นระยะๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้ระวังเรื่องความแค้น ถ้าไปเทศน์ให้คนบรรลุธรรมเร็วๆ มันจะโกรธเกลียดแค้น ฉะนั้น ท่านก็ให้ลดละกามก่อน

 

….

หมดเวลา

สาธุ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งสุขที่ได้ดั่งใจ มาเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ

ทิ้งสุขที่ได้ดั่งใจ มาเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ

https://youtu.be/VEdGDffwsGI อาจารย์ประทับใจพระพุทธเจ้า ชอบใจมากเลยธรรมะของพระองค์ท่านเนี่ยนะ ท่านตรัสไว้ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ข้อที่...

ความเจ็บป่วยที่หายช้าเพราะชีวิตทำชั่วมากกว่าดี

ความเจ็บป่วยที่หายช้าเพราะชีวิตทำชั่วมากกว่าดี

ชั่วมีมากกว่า ปวดฟันที่ยังหายเร็ว ปวดเหงือก ปวดฟันหายเร็วเลย ไม่ใช่หายง่าย ๆ หรอก ชั่วมากกว่าดี จะบอกให้ ต่อให้มียาดี หมอดี...

การปฏิบัติศีลให้ถูกตรงจะมีญาณปัญญา

การปฏิบัติศีลให้ถูกตรงจะมีญาณปัญญา

มีญาณปัญญาในการชำแรกกิเลส จะมีญาณปัญญาในการทำกิจกรรมการงานมากขึ้น จะสืบเนื่องกันไปเพื่อชำแรกกิเลสได้ จะมีเหตุปัจจัยให้เรามีญาณปัญญามากขึ้น...

พลังของการให้อภัย ที่มีคุณค่าต่อเราและผู้อื่น

พลังของการให้อภัย ที่มีคุณค่าต่อเราและผู้อื่น

จิตของเรา เมื่อเราพร่องเราพลาดไปแล้ว ถ้าเราได้รับการให้อภัยและได้รับโอกาสจากใคร ๆ โดยเฉพาะความพร่อง ความพลาดที่ร้ายแรงที่หนัก...

การปฏิบัติธรรมกับการทำกสิกรรมไร้สารพิษ

การปฏิบัติธรรมกับการทำกสิกรรมไร้สารพิษ

ความเป็นคนจนของเรา ความไม่มีอุปกรณ์ของเรา ไม่มีเครื่องกล ไม่มีอะไรช่วย ก็ทำให้เราได้มีความสามารถ มีศักยภาพ มีปัญญา ได้ใช้ปัญญา ใช้ความสามารถ...

กสิกรรมไร้สารพิษกับธรรมะ เกี่ยวกันอย่างไร

กสิกรรมไร้สารพิษกับธรรมะ เกี่ยวกันอย่างไร

เกี่ยวกันอย่างยิ่งเลย สัมพันธ์กันเป็นหนึ่งเดียวกัน หนุนกันไปหนุนกันมา ถ้าไม่มีกสิกรรมไร้สารพิษไม่มีทางมีสุขภาพที่ดีได้...

การตั้งศีลแบบละเอียดในเรื่องของอาหาร

การตั้งศีลแบบละเอียดในเรื่องของอาหาร

อาหารเป็นหนึ่งในโลก อาหาร 4 อาหารคือ เครื่องค้ำจุนชีวิต 1. กวฬิงการาหาร อาหารที่เป็นคำข้าวด้านรูปธรรม พึงกำหนดรู้ความยินดีในกามคุณ 2....

อริยสัจ 4 เป็นหัวใจสำคัญของความพ้นทุกข์ในชีวิต

อริยสัจ 4 เป็นหัวใจสำคัญของความพ้นทุกข์ในชีวิต

อาจารย์ว่าพวกเราก็ฝึกฝนกันไป ก็ตามที่พวกเราพี่น้องเราทำมากันเป็นลำดับ ๆ รายการอริยสัจ 4 นี่ก็เป็นหัวใจสำคัญของชีวิต อริยสัจ 4...

รวมคำถามคำตอบรายการสุขภาพดีวิถีธรรม ตอบปัญหาเพิ่มปัญญากับหมอเขียว

รายการสุขภาพดีกับแพทย์วิถีธรรม ตอบปัญหาเพิ่มปัญญากับหมอเขียว ออกอากาศเวลา 9:30 -11:30 น. ทุกวัน ทางหมอเขียวทีวี ทางทีมสื่อแพทย์วิถีธรรมได้จัดทำวิดีโอแยกแต่ละคำถาม เพื่อสะดวกในการสืบค้นต่อไป

สันติภาพ

สันติภาพ

แด่พี่น้องและเพื่อนร่วมโลกทั้งหลาย อาตมารู้สึกเป็นเกียรติอย่างเหลือประมาณ ที่คณะกรรมการแมนเฮ เล็งเห็นงานที่อาตมาทำมาทั้งชีวิต...

ธรรมะกับการทำนาแปลงเล็ก

ธรรมะกับการทำนาแปลงเล็ก

การทำนาแปลงเล็กเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติธรรมอย่างไร - ก็เริ่มตั้งแต่เราทำไร้สารพิษ เป็นการทำนาแบบมีศีล ไม่เบียดเบียนตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น -...

ให้ด้วยใจบริสุทธิ์ที่สุด เป็นวิบากดีที่สุดต่อทุกชีวิต

ให้ด้วยใจบริสุทธิ์ที่สุด เป็นวิบากดีที่สุดต่อทุกชีวิต

#ให้ด้วยใจบริสุทธิ์ที่สุด_เป็นวิบากดีที่สุดต่อทุกชีวิต คำถามขอสัมมาทิฎฐิจากอาจารย์หมอเขียว อยู่บ้านตอนติดโควิด...

ในโลกนี้ไม่มีอะไรดีเท่ากับธรรมะแท้ๆ

ในโลกนี้ไม่มีอะไรดีเท่ากับธรรมะแท้ๆ

ธรรมะแท้ๆ ที่ถ้าได้ทำให้ถูกตรงเป็นประโยชน์ตนประโยชน์ท่านมากที่สุดในโลก ในการดับทุกข์ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นสูงที่สุด...

ความสุขสบายใจไร้กังวล

ความสุขสบายใจไร้กังวล

ทำสมดุลร้อนเย็น เรียนรู้ให้ดีเถอะ นี้คือ ความสุขสบายใจไร้กังวล #พึ่งตนเองได้เป็นหลัก ทำให้ชีวิตไม่ลำบากมาก อยู่ได้โดยไม่กังวล...

เราทำดีอะไรได้ เราก็ทำ

เราทำดีอะไรได้ เราก็ทำ

ทำในสิ่งที่เราทำได้ ก็ช่วยกันไป เราทำดีให้ดีที่สุด เท่าที่เราทำได้ ให้ผลดีเกิดขึ้นได้ ให้โลกและเราได้อาศัย ก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะดับไป...

โทษของการคิดอกุศล

โทษของการคิดอกุศล

แค่แว๊ปเดียว แค่คิดในใจ นี้ยังไม่ออกมาทางกายวาจา แม้แค่คิดแค่ใจ มันยังหนัก มันก็มีแต่หนัก หนักมาก หนักมากที่สุด ญาณข้อที่ 4 พระโสดาบัน 7...

เหตุปัจจัย วิบากร้าย

เหตุปัจจัย วิบากร้าย

เหตุปัจจัย วิบากร้ายจัดสรร ให้ไปเจอหรือดึงเรื่องร้ายมาใส่ได้ทุกเรื่อง จากการผิดศีลในอดีตหรือปัจจุบันก็ตาม มันจะดึงเรื่องร้ายๆ...

รวมพลังแบ่งปันด้วยใจที่บริสุทธิ์

รวมพลังแบ่งปันด้วยใจที่บริสุทธิ์

การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ระบาดไปทั่วโลก ทำให้มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ประเทศไทย ทางรัฐบาลได้ประกาศนโยบาย...

ธรรมะพาพ้นทุกข์จากภัยโควิด 19

ธรรมะพาพ้นทุกข์จากภัยโควิด 19

พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะรักษาชีวิตก่อน สละได้ไหม สละการงานก่อนและเพื่อรักษาธรรม ด้วยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น...

วิธีที่สงบสบายแบบยั่งยืน คือ ต้องกำจัดกิเลสได้

วิธีที่สงบสบายแบบยั่งยืน คือ ต้องกำจัดกิเลสได้

ระหว่างความรู้สึก กินอร่อยๆ ทั้งวัน กับอิ่มสบายทั้งวัน อิ่มสบาย มันสบายกว่านะ ต่อให้มันอร่อย แต่ไม่อิ่มสักที หิวๆๆ กับอิ่มสบาย...

ความซวยของคนดีที่ไม่ลดกิเลส 2/2

ความซวยของคนดีที่ไม่ลดกิเลส 2/2

ความซวยของคนดีที่ไม่ลดกิเลส ต่อ #2/2 (จบ) เทวดาโลกียะ(สมมติเทพ) คนดีที่เต็มไปด้วยการเสพ โลกธรรม กาม อัตตา อบายมุข...

ความซวยของคนดีที่ไม่ลดกิเลส 1/2

ความซวยของคนดีที่ไม่ลดกิเลส 1/2

คนที่ทำชั่วมามากทำไมไม่รู้สึกผิด?? *ไฮไลท์ #คนก็หลงว่าโอ้โหมันได้ดีก็ไปทำตามกันตามกัน ก็ยิ่งเป็นบาปบาปซ้ำซ้อนเข้าไปอีก...

630418_ธรรมะพาพ้นทุกข์

630418_อาจารย์หมอเขียว ดร.ใจเพชร กล้าจน อาคารดอยฟ้า พุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ บ้านแม่เลา แม่แตง เชียงใหม่ 18 เมษายน 2563 13.00-15.00 น....

ลิงค์เสียงบรรยายค่ายพระไตรปิฎก ครั้งที่ 27

ลิงค์เสียงบรรยายค่ายพระไตรปิฎก ครั้งที่ 27

เสียงบรรยายของอ.หมอเขียว ค่ายพระไตรปิฎก ครั้งที่ ๒๗ ระหว่างวันที่ 26  ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2562 รุ่น ดับกิเลส ดับเครื่องกังวล 621026_1...

แพทย์วิถีธรรมอาสาเป็นสะพานบุญ

แพทย์วิถีธรรมอาสาเป็นสะพานบุญ

แพทย์วิถีธรรม อาสาเป็นสะพานบุญ ส่งต่อ “face shield และอุปกรณ์ป้องกันตัวเองอื่นๆ” สู่บุคลากรสาธารณสุข

ร่วมบริจาคได้ที่ ธนาคารกรุงไทย เลขที่ 679-1-73144-3 ชื่อบัญชี “รวมพลังแบ่งปันด้วยใจที่บริสุทธิ์”

สนใจร่วมบริจาคอุปกรณ์อื่นแจ้งความประสงค์ที่

https://forms.gle/Cic6ovakfJrfrwTs6

สำหรับบุคลากรสาธารณสุขที่สนใจface shield แจ้งความประสงค์ได้ที่

https://forms.gle/Us5iXabUYEaHyw2W6

ปล. เรามีศักยภาพเท่าไหร่ก็เอาเท่านั้น ตามที่เรามีทุนมีรอน มีศักยภาพเท่าไหร่แล้วก็ทำไปเท่าที่เรามี

ผู้มีปัญญามาก  แม้ประสบทุกข์ก็หาสุขพบ

อ.หมอเขียว ยกเตสกุณชาดกที่ 1 ว่าด้วยนกตอบปัญหาพระราชา จาก พระไตรปิฎกเล่มที่ 27 ข้อที่ 2438-2444 โดยนำข้อที่ 2444 มาขยายความ...

ถ้าใครมีธรรมะ จะไม่หวั่นไหวในสถานการณ์โควิด 19

ถ้าใครมีธรรมะ จะไม่หวั่นไหวในสถานการณ์โควิด 19

อ.หมอเขียวยกศิริมันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ 27 ข้อที่ 2084-2089 โดยนำข้อ 2089 มาขยายความ คนมีปัญญาน้อยมีเหตุการณ์สุขหรือทุกข์ก็สร้างความหวั่นไหวให้กับตัวเองได้ ในช่วงท้ายอ.หมอเขียวแนะนำวิธีคิดที่ไม่ทุกข์ ในเหตุการณ์การระบาดของโควิด ไม่ว่าเราจะติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อ ซึ่งหลักการดังกล่าวสามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกเหตุการณ์ ทุกปัญหาในชีวิต

อ่านรายละเอียดที่
https://morkeaw.net/?p=3742&preview=true

Playlists-Youtube แนะนำแพทย์วิถีธรรมกับโควิด-19

#เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

ถึงวันนี้การระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงดำเนินไป ความกลัว ระแวง หวั่นไหวเพิ่มขึ้นทั่วโลก แพทย์วิถีธรรม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่าน และขอส่งลิงค์แนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักการแพทย์วิถีธรรม ให้ทุกท่านได้พิจารณา

3 สิ่งสำคัญที่สุดในโลกของชีวิต

3 สิ่งสำคัญที่สุดในโลกของชีวิต

ฟังเสียงอ.หมอเขียวกล่าวถึงเรื่อง 3 สิ่งสำคัญของชีวิต ที่เป็นหัวใจของความแข็งแรง มั่นคง มีคุณค่า และผาสุกที่สุดในโลก คือปัจจัย4 มิตรดี มีศีล

การปฎิบัติของพระโพธิสัตว์ยามพบภัย

การปฎิบัติของพระโพธิสัตว์ยามพบภัย

อ.หมอเขียวเน้นย้ำว่า เมื่อเกิดวิกฤต ชาวพุทธจะตั้งและปฏิบัติอริยศีลที่ถูกตรง เพื่อเพิ่มพลังกุศล ครั้งนี้ อ.หมอเขียวยกตัวอย่างการปฎิบัติของพระโพธิสัตว์เมื่อเจอภัยพิบัติ ซึ่ง มีทีมจิตอาสาแพทย์วิถีธรรมทำการตัดต่อเสียง และเผยแพร่ใน Morkeaw Podcast

ตามหลักแพทย์วิถีธรรม โควิด 19 เป็นโรคร้อนเกิน

ตามหลักแพทย์วิถีธรรม โควิด 19 เป็นโรคร้อนเกิน

อาการภาวะร้อนเกิน เช่น ไอ มีเสมหะ ไข้ขึ้นสูง เป็นต้น วัดอุณหภูมิได้เลยว่าร้อนหรือเปล่า วัดแบบปรอทหรือแบบยิงเลเซอร์ ถ้าร่างกายร้อน 37.5 c...

ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย

ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย

สถานการณ์ก็รุนแรงระบาดไปทั่ว และมีผู้เสียชีวิตก็ไม่น้อย ถ้าพี่น้องท่านใดสามารถที่จะจัดสรรตัวเอง ให้อยู่แต่ในพื้นที่ ในบ้านตัวเอง...

ใจที่กังวล ทำให้ภูมิต้านทานลด

ใจที่กังวล ทำให้ภูมิต้านทานลด

คนในสังคมตอนนี้หวั่นไหวมาก มีความสะทกสะท้าน หวาดวิตก ตอนนี้คนต้องการพลังรวมของความมั่นคงของความไม่หวั่นไหว บางคนเขาสับสนอลหม่านเลยนะ...

อาหารขาดแคลนอย่างหนักทั่วโลกในช่วงวิกฤตโควิด

อาหารขาดแคลนอย่างหนักทั่วโลกในช่วงวิกฤตโควิด

โควิด เข้ามา อาหารก็ขาดแคลน จะขาดแคลนอย่างหนักทั่วโลก ต่อให้อาหารเป็นพิษก็ยังขาดแคลน เพราะแรงงานที่จะผลิต ก็จะลำบาก เพราะเจอโควิด...

ร่วมด้วยช่วยกันหยุดยั้งโควิดด้วยแพทย์วิถีธรรม

ร่วมด้วยช่วยกันหยุดยั้งโควิดด้วยแพทย์วิถีธรรม

นโยบายแพทย์วิถีธรรม ขอชี้แจงประชาสัมพันธ์ ให้พี่น้องจิตอาสาและประชาชนทั้งในและต่างประเทศที่ติดตามเครือข่ายแพทย์วิถีธรรม...

630320 แนะนำรายการธรรมะพาพ้นทุกข์ ทุกวัน 20:00น

พบกับรายการธรรมะพาพ้นทุกข์ โดยดร.ใจเพชร กล้าจน ทุกวัน ในช่วงเวลาประมาณ 20:00 - 21:00 น บางทีก็ประมาณ 19:45 น หรือถึงประมาณ 21:00 น...

ยังไม่ชัดเจนกับทางโลกทางธรรม มีวิธีการเลือกอย่างไร

ถาม : ทำอย่างไรเราจึงจะมีวิธีการเลือกว่าชีวิตเราจะเลือกในโลกีย์หรือโลกุตระ  เพราะตอนนี้ตนเองเหมือนกับยังไม่ชัดเจนกับทางธรรม...

ุ630318 21.195 กรรมเก่าใช้แล้วก็หมดไป ไม่สร้างวิบากร้ายใหม่

มหาวรรคที่ 5 พระไตรปิฎกเล่มที่ 21 ข้อที่ 195  เนื้อหาย่อ พระพุทธเจ้าบอกวิธีปฏิบัติว่า ทำอย่างไรวิบากเก่าที่เราได้รับนั้นมันจะไม่เพิ่มขึ้น...

องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ 4 ประการ

มหาวรรคที่ 5 พระไตรปิฎกเล่มที่ 21 ข้อ 194 องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ 4 ประการ 1 สีลปาริสุทธิ...

เรามีหน้าที่ทำแต่ละสิ่งแต่ละอย่าง ให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด เท่าที่เราจะพึงทำได้ ให้โลกและเราได้อาศัย ก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะดับไปเท่านั้น

ขยายความบททบทวนธรรม เรามีหน้าที่ทำแต่ละสิ่งแต่ละอย่าง ให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด เท่าที่เราจะพึงทำได้ ให้โลกและเราได้อาศัย ก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะดับไปเท่านั้น

เรามีหน้าที่ทำแต่ละสิ่งแต่ละอย่างให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เท่าที่เป็นไปได้ตามภูมิ เท่าที่จะทำได้ คือ ตามภูมิตามบารมีที่มีตามภูมิตามบารมีที่มี มีเท่าไหร่ก็สุดฝีมือเท่านั้นแหละจบ ก็ปรารถนาให้เกิดดีแล้วก็จบ ให้โลกแล้วเราได้อาศัยก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างก็ดับไปเท่านั้น ก็เมื่อเราทำดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แล้ว โลกก็จะได้อาศัย คนในโลกก็จะได้อาศัย เราก็จะได้อาศัยดีที่เราทำนั้น ก็ได้อาศัยเพราะชีวิตอยู่ก็ต้องอาศัยสภาพดีๆ นั่นแหละ เท่าที่มันจะเป็นไปได้ดีเท่าที่จะเป็นไปได้ก็ได้อาศัย ได้เท่าไหร่ก็เท่านั้นแหละดีเท่าไหร่ก็เท่านั้น ที่จะได้อาศัย แม้อาศัยแล้ว แต่มันก็จะดับไปนะ อย่าไปยึดมั่นถือมั่นว่ามันจะอยู่ไปตลอด สิ่งใดมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นมีการดับไปเป็นธรรมดา แม้ดีก็ต้องดับไปนะ แม้ร้ายก็ต้องดับไปน อย่าไปยึดมั่นถือมั่นว่ามันจะอยู่ตลอด เกิดแล้วมันก็ดับๆ หมดฤทธิ์เขาก็ดับๆ อย่างนี้เป็นต้น เมื่อเราไม่ยึดมั่นถือมั่นเราก็ไม่ทุกข์
…ฝึกทำดีแล้วก็วางดีๆ ให้ฝึกไว้ ให้ทบทวนไว้ว่า มันไม่ได้อยู่ไปตลอดนะ แม้ดีแค่ไหนเกิดแล้วก็ดับๆ บอย่างนี้เป็นต้น ก็จะได้ไม่ทุกข์ จิตเราก็เป็นอิสระจากทุกข์

620704 ไม่มีใครอยากทุกข์ ที่เขาทำทุกข์เพราะเขาไม่รู้

ไม่มีใครอยากทุกข์ ที่เขาทำทุกข์เพราะเขาไม่รู้ ที่เขาไม่รู้เพราะมีวิบาก 11 ประการ จากการไม่เคารพไม่ศรัทธาพระพุทธเจ้าหรือสาวกแท้...