ประเด็นรายละเอียดของอาหารปั่นทั้งหมด เหมาะสมกับกรณีไหนก่อนบ้าง คือ
- เหงือก ฟัน มีปัญหา เคี้ยวไม่ได้
- ระบบย่อยมีปัญหา ถ้ากินอาหารเป็นชิ้น ๆ จะย่อยยาก
- เวลามีน้อย ณ เวลาที่เราต้องการความเร่งด่วน ไม่ให้เวลาบีบคั้น
- อื่น ๆ จะมีเหตุผลบางอย่างก็แล้วแต่ ซึ่งจะมีปัญหากับกิเลส คือ จะติดเป็นชิ้น ๆ ถ้ากิเลสติดกินเป็นชิ้น ๆ ก็กินเลย จนกว่าจะเลิกติด ซึ่งเป็นการติด รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ต้องปั่นทำลาย รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ซึ่งเป็นหัวใของกิเลส กินแล้วไม่ตาย อิ่มดี แข็งแรงดี
- ต้องจำนนกินอาหารปั่น เพราะไม่มีให้เลือก
- เหตุผลอื่น ๆ เช่น กินเป็นเพื่อนลูก กินเป็นเพื่อนคนอื่น
อาหารปั่นมี 2 แบบ คือ
- ปั่นรวมกันทั้งหมด ทั้ง ผลไม้ ผักสด ผักลวก ข้าว ถั่ว ธัญพืชรสมัน เกลือ รวมทั้งสมุนไพรฤทธิ์ร้อน ฤทธิ์เย็น ปั่นรวมกันทั้ง 8 อย่าง
- เมื่อปั่นรวมกันทั้งหมดแล้ว ถ้ารู้สัดส่วนก็จะดี หรือบางครั้งจะรวมกันแบบไม่ได้สัดส่วนก็ได้ ไม่ต้องกังวล สมดุลบ้าง ไม่สมดุลบ้าง ก็ไม่เป็นไร ถ้าไม่มากเกินไป ร่างกายจะเก็บไว้เป็นวัคซีน พลังชีวิตจะดันวิบาก บางทีไม่พอดีบ้างก็ได้ เพราะไม่มากเกินไป แต่ถ้าไม่สมดุลตลอดเวลา หลายครั้งเกินไป มากไปไม่ดี
การแยกปั่น มีประโยชน์อย่างไร การแยกปั่นทีละอย่าง จะทำให้เลือกได้ว่า ร่างกายต้องการอะไรแค่ไหน ต้องการผลไม้แค่ไหน จะเคี้ยวก็ได้ จะปั่นก็ได้ ต้องการผักสดแค่ไหน ก็เลือกปั่นได้เอง เวลาเราทานแต่ละอย่าง ร่างกายจะรู้ว่า รับขนาดไหนสดชื่น ถ้ารับเกินจะไม่สดชื่น สัจจะเป็นเช่นนี้ ความรู้สึกทางกาย ถ้าเกิน จะรู้สึกไม่พอดี ไม่ค่อยดี ไม่สบาย ต้องอ่านเวทนา เวทนา 108 นั่นแหละ
อ่านกายิกเวทนา เจตสิกเวทนา อาการทางกายกับอาการทางใจ จริงๆ แล้ว มันสัมพันธ์กัน ถ้าเกินจะเบียดเบียนตัวเอง เจตสิกเวทนา เป็นญาณพิเศษ ไม่ค่อยสดใส กินอิ่มเกินไป ไม่สดชื่น ทำอะไรไม่เหมาะควร จะไม่สดใส กายิกเวทนา เจตสิกเวทนา ก็ไม่แช่มชื่น แต่ถ้าพอดี จะแช่มชื่น ๆ สดใส ไร้กังวล อ่านอาการทางกาย ทางใจ คู่กันไป ถ้ากินอย่างใดอย่างหนึ่ง มากเกินไป ร่างกายไม่ค่อยดี มันอิ่มแล้ว จิตก็ไม่ผ่องใสแล้ว ต้องตัดเรื่องนั้นไป ผักสด หรือ ผักลวก ก็เหมือนกัน ประมาณในการกินให้พอดี ไม่ให้เกินพอดี จะไม่สบาย
เวลาปั่นผักสด ให้ปั่นผักสดกับน้ำเปล่า กับน้ำสมุนไพร สัดส่วนก็แล้วแต่ร่างกายต้องการ หรือจะปั่นผักสดเพียว ๆ ก็ได้ ผักลวกก็เหมือนกัน ปั่นโดยใส่น้ำต้มผัก บางที ใส่เกลือนิดหนึ่ง ปั่นข้าวสุกใส่น้ำต้มสุก ใส่น้ำต้มผัก หรือน้ำลวกผักก็ได้ ได้ทั้งสองอย่าง ถ้าปั่นข้าวดิบ แช่ก่อน 4 ชั่วโมง ให้ฉ่ำน้ำก่อน ปั่นเสร็จก็เอาไปต้ม การปั่นข้าว มี 2 แบบ หุงแล้วปั่น ปั่นแล้วนำไปหุงต้ม ถั่วก็เหมือนกัน ปั่นถั่ว ธัญพืชรสมัน ฤทธิ์ร้อน ฤทธิ์เย็น ตามที่ร่างกายต้องการ จะปั่นแยกก็ได้ แล้วเลือกมาผสมกัน ตามที่ร่างกายต้องการ
อาหารปั่นต้องเลือก ฤทธิ์ร้อน ฤทธิ์เย็นให้เหมาะสม ทานทีละอย่าง เพื่อให้ปริมาณเหมาะสมกับเรา หรือจะทานแยกกันก็ได้ ดูว่า ร่างกายจะเอาอะไรแค่ไหน รับไปทีละอย่าง ถ้าอิ่มพอดี ถ้ารับเข้าไปอีก ร่างกายจะไม่พอดี ไม่สบาย แต่ถ้าพอดีก็จะสบาย ถ้าทานพลังเต็ม ถ้าเกินจะแน่น ก็จะรู้สึกไม่สบาย จะแน่น ๆ ไม่ค่อยสบาย ร่างกายจะต้าน ๆ ก็พอ ไม่ต้องยัดใส่อีก ไม่ต้องเสียดาย
การเบียดเบียนร่างกายในจูฬกัมมวิภังคสูตร จะมีโทษมาก อายุสั้น พวกเบียดเบียนร่างกายเกิน ตน รู้สึกอึดอัด ทรมาน ไม่สบาย ไม่ดี มันหลงว่าดี ทีหลังต้องตัดรอบ อย่าหลงว่าดี เอาไปทำปุ๋ยบ้าง ให้มดให้แมงกินบ้าง เลิกเบียดเบียนตัวเองได้แล้ว เป็นตัวอย่างไม่ดีกับคนอื่นด้วย เบียดเบียนทั้งตัวเองและผู้อื่นด้วย จะมีโรคมาก อายุสั้น อิ่มสบาย แรงเต็ม สบาย เบากาย มีกำลัง เป็นอยู่ผาสุก อิ่มสบาย แรงเต็ม อิ่มสบาย ไม่ใช่อิ่มแทบตาย มันทรมาน กิลิมถะ จะมีโรคมาก
ดร.ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว)
รายการธรรมะพาพ้นทุกข์ 6 มีนาคม 2564
ณ พุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ ต.ป่าแป๋ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่